คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 215

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างหลังสัญญา สิทธิปรับล่าช้า และอายุความคดี
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างสะพานตามแบบแปลนต่อท้ายสัญญา โจทก์สร้างสะพานผิดแบบแปลนโดยแจ้งให้จำเลยทราบถึงสาเหตุที่จำเป็นแล้วและวิศวกรของจำเลยก็เห็นด้วย เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้างได้ตามที่จำเลยเสนอ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อสร้างสะพานผิดแบบแปลน
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปการที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนองว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อในการขนส่งสินค้า และการคิดค่าเสียหายจากความชำรุด
เหตุสุดวิสัยนั้นย่อมหมายถึงเหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดีจะให้ผลพิบัติก็ดีไม่มีใครจะอาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลเช่นนั้นในฐานะเช่นนั้น พนักงานขับรถของจำเลยได้ขับรถออกนอกผิวจราจรโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรประกอบกับรถยนต์ของจำเลยบรรทุกของหนักเป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทางด้านซ้ายทรุดหรือยุบทำให้รถยนต์ของจำเลยเสียหลักแล่นตะแคงพลิกคว่ำตกลงไปข้างถนนซึ่งพนักงานของจำเลยมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้นได้หากใช้ความระมัดระวังขับรถบนผิวจราจรของถนนในช่องทางเดินรถของตนตามปกติเมื่อมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อมิใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์ได้นำรถยนต์บรรทุกมาบรรทุกเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของตนที่ได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยจากที่เกิดเหตุไปเก็บรักษาไว้ที่บริษัทโจทก์เป็นการนำไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย อันเป็นการช่วยบรรเทาผลร้ายให้แก่จำเลยแต่ต่อมาจำเลยได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของจำเลยไปตรวจสอบความเสียหายของเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ที่จำเลยได้ทำการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยให้แก่โจทก์ณปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการรับขนส่งแต่โจทก์เสนอให้มีการทดสอบแล้วส่งผลไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวิเคราะห์และจำเลยตกลงรับข้อเสนอของโจทก์แต่กรณีเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบตกลงกันไม่ได้โจทก์จึงฟ้องจำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบเครื่องแยกแร่แม่เหล็กให้แก่โจทก์แล้วอายุความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงยังไม่เริ่มนับ การที่รถยนต์บรรทุกของจำเลยตะแคงพลิกคว่ำลงข้างถนนในระหว่างขนส่งเครื่องแยกแร่แม่เหล็กมาให้โจทก์เครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงชำรุดบุบสลายมิใช่เป็นการสูญหายหรือบุบสลายโดยสิ้นเชิงจนไม่สามารถใช้การได้เมื่อจำเลยได้ทำการซ่อมแซมแล้วเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ก็ยังใช้การได้แต่ไม่ดีดังสภาพเดิมโจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับเครื่องแยกแร่แม่เหล็กดังกล่าวโดยจะขอให้จำเลยชดใช้ราคาทั้งหมดรวมทั้งค่าภาษีค่าโกดังเก็บสินค้าและค่าระวางพาหนะขนส่งของจำเลยหาได้ไม่โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ และการเริ่มนับอายุความของความรับผิดของผู้ขนส่ง
เหตุสุดวิสัยนั้นย่อมหมายถึงเหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดีไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลเช่นนั้นในฐานะเช่นนั้น
พนักงานขับรถของจำเลยได้ขับรถออกนอกผิวจราจรโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ประกอบกับรถยนต์ของจำเลยบรรทุกของหนักเป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทางด้านซ้ายทรุดหรือยุบทำให้รถยนต์ของจำเลยเสียหลักแล่นตะแคงพลิกคว่ำตกลงไปข้างถนนซึ่งพนักงานของจำเลยมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้นได้ หากใช้ความระมัดระวังขับรถบนผิวจราจรของถนนในช่องทางเดินรถของตนตามปกติ เมื่อมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อมิใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์ได้นำรถยนต์บรรทุกมาบรรทุกเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของตนที่ได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยจากที่เกิดเหตุไปเก็บรักษาไว้ที่บริษัทโจทก์เป็นการนำไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย อันเป็นการช่วยบรรเทาผลร้ายให้แก่จำเลยแต่ต่อมาจำเลยได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของจำเลยไปตรวจสอบความเสียหายของเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ที่จำเลยได้ทำการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยให้แก่โจทก์ ณ ปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการรับขนส่ง แต่โจทก์เสนอให้มีการทดสอบแล้วส่งผลไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวิเคราะห์และจำเลยตกลงรับข้อเสนอของโจทก์ แต่กรณีเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบตกลงกันไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบเครื่องแยกแร่แม่เหล็กให้แก่โจทก์แล้วอายุความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงยังไม่เริ่มนับ
การที่รถยนต์บรรทุกของจำเลยตะแคงพลิกคว่ำลงข้างถนนในระหว่างขนส่งเครื่องแยกแร่แม่เหล็กมาให้โจทก์ เครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงชำรุดบุบสลาย มิใช่เป็นการสูญหายหรือบุบสลายโดยสิ้นเชิงจนไม่สามารถใช้การได้ เมื่อจำเลยได้ทำการซ่อมแซมแล้วเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ก็ยังใช้การได้ แต่ไม่ดีดังสภาพเดิมโจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับเครื่องแยกแร่แม่เหล็กดังกล่าว โดยจะขอให้จำเลยชดใช้ราคาทั้งหมดรวมทั้งค่าภาษีค่าโกดังเก็บสินค้าและค่าระวางพาหนะขนส่งของจำเลยหาได้ไม่โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละทิ้งงานก่อสร้างและอำนาจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียม
แม้จะไม่ได้ความชัดว่าหากไม่มีการเลิกสัญญากันโจทก์จะได้กำไรจากการขายอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จ้างจำเลยก่อสร้างเป็นจำนวนเท่าใด แต่เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ก่อสร้างศูนย์การค้าเพื่อหากำไร เมื่อสร้างไม่เสร็จก็ย่อมเกิดผลเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการละทิ้งงานของจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรได้
แม้ว่าคู่ความฝ่ายใดชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งแพ้คดีเพียงบางส่วนรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมัน: สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงซื้อขาย แม้มีวิกฤตการณ์น้ำมันก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นของจำเลย โจทก์ได้ทำใบสั่งซื้อน้ำมันชนิดต่างๆ จากจำเลย ใบสั่งซื้อจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ เมื่อจำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่าสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อและยังขนไปไม่หมดนั้น จำเลยยินดีให้ราคาเก่าถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2522 ทั้งต่อมายังได้มีหนังสือถึงโจทก์อีกว่า จำเลยพร้อมจะให้โจทก์รับสินค้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2522 แม้จะมีอุปสรรคเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอยู่บ้าง จำเลยก็จะผลิตน้ำมันส่วนที่โจทก์ต้องการให้ถึงที่สุดดังนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสัญญาซื้อขายน้ำมันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461จำเลยจะอ้างประเพณีการค้าว่าบริษัทผู้ขายน้ำมันไม่จำต้องผูกพันว่าจะต้องขายน้ำมันให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิคืนเงินราคาที่ชำระแล้วแก่ผู้ซื้อหรือเพราะเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นทั่วโลกมาเป็นข้อบอกปัดไม่ขายน้ำมันให้แก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ส่งมอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215,222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมัน: สัญญาผูกพันตามหลักกฎหมาย แม้มีวิกฤตการณ์น้ำมันก็ไม่อาจลบล้างได้
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นของจำเลย โจทก์ได้ทำใบสั่งซื้อน้ำมันชนิดต่าง ๆ จากจำเลย ใบสั่งซื้อจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ เมื่อจำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่าสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อและยังขนไปไม่หมดนั้น จำเลยยินดีให้ราคาเก่าถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2522 ทั้งต่อมายังได้มีหนังสือถึงโจทก์อีกว่า จำเลยพร้อมจะให้โจทก์รับสินค้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2522 แม้จะมีอุปสรรคเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอยู่บ้าง จำเลยก็จะผลิตน้ำมันส่วนที่โจทก์ต้องการให้ถึงที่สุด ดังนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสัญญาซื้อขายน้ำมันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461 จำเลยจะอ้างประเพณีการค้าว่าบริษัทผู้ขายน้ำมันไม่จำต้องผูกพันว่าจะต้องขายน้ำมันให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิคืนเงินราคาที่ชำระแล้วแก่ผู้ซื้อหรือเพราะเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นทั่วโลกมาเป็นข้อบอกปัดไม่ขายน้ำมันให้แก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ส่งมอบนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215, 222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง สัญญาจ้างแรงงาน และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20 ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส . กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่างกรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่นมาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็นที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อย จนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513)
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว. ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และอายุความการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการ ขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการ กำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส. กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง กรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับ ว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่น มาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็น ที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์ โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อยจนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิด และผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513) จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว.ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจาก การผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด ดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ริบเงินประกัน vs. ค่าเสียหายที่ซื้อแพงขึ้น การแสดงเจตนาเลือกใช้สิทธิมีผลผูกพัน
สัญญาซื้อขายมีข้อกำหนดในกรณีจำเลย (ผู้ขาย) ผิดสัญญาว่าโจทก์ (ผู้ซื้อ)จะริบเงินประกัน หรือให้จำเลยใช้เงินส่วนที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าแพงไปจากข้อตกลงก็ได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญา และแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ขอสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาซึ่งโจทก์จะแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบต่อไป จึงเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ว่าไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทางริบเงินประกัน ดังนั้นเมื่อต่อมาโจทก์ได้เรียกร้องเอาค่าเสียหายตามจำนวนที่โจทก์ซื้อสินค้าดังกล่าวแพงไปจากข้อตกลงแก่จำเลย ก็ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยในจำนวนเงินที่โจทก์ซื้อสินค้าแพงขึ้น แม้โจทก์จะได้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชดใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันแล้ว เงินดังกล่าวก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ซื้อสินค้าแพงขึ้น มิใช่เป็นการริบเงินประกันตามสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ริบเงินประกัน หรือเรียกค่าเสียหายที่ซื้อแพงขึ้น สิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิทางเลือกที่โจทก์สามารถใช้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาซื้อขายมีข้อกำหนดในกรณีจำเลย (ผู้ขาย) ผิดสัญญาว่า โจทก์ (ผู้ซื้อ)จะริบเงินประกัน หรือให้จำเลยใช้เงินส่วนที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าแพงไปจากข้อตกลงก็ได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญา และแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ขอสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาซึ่งโจทก์จะแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบต่อไป จึงเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ว่าไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทางริบเงินประกันดังนั้นเมื่อต่อมาโจทก์ได้เรียกร้องเอาค่าเสียหายตามจำนวนที่โจทก์ซื้อสินค้าดังกล่าวแพงไปจากข้อตกลงแก่จำเลย ก็ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยในจำนวนเงินที่โจทก์ซื้อสินค้าแพงขึ้น แม้โจทก์จะได้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชดใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันแล้วเงินดังกล่าวก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ซื้อสินค้าแพงขึ้นมิใช่เป็นการริบเงินประกันตามสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด
of 25