คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 215

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะริบเงินวางได้เฉพาะกรณีผิดแบบแปลน การเลิกสัญญากลับสู่สภาพเดิมต้องคืนเงิน
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหาย ในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลกำหนดตามความเสียหายปกติและพิจารณาจากสภาพทำเลที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยผิดสัญญาจะขายตึกพร้อมด้วยที่ดินแก่โจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายว่า หากจำเลยปฏิบัติตามสัญญาให้โจทก์รับซื้อได้ถ้าโจทก์จะขาย มีผู้มาขอซื้อในราคา 450,000 บาท เพราะหลังจากทำสัญญาแล้ว ตึกแถวพร้อมด้วยที่ดินนี้มีราคาสูงขึ้นตามสภาพเพราะอยู่ริมถนนและเป็นทำเลที่เจริญด้วยการค้า โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้เป็นกำไรจากการขายไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แล้วโจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกพิพาทไว้เพื่อค้าขายเอง เมื่อรับโอนมาแล้วถ้ามีคนมาซื้อในราคาดีก็จะขาย และว่าตึกแถวนี้อยู่ในทำเลดีมีโรงภาพยนต์และตลาด ราคาจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าโจทก์จะขายในขณะนี้ จะขายได้ในราคาไม่ต่ำกว่า 450,000 บาท โดยมีผู้มาขอซื้อแล้ว 2 ราย รายละ 450,000 บาท โจทก์ก็ยังไม่ขายเพราะยังไม่ได้รับโอนและที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ก็ขายได้ราคาถึง 550,000 บาท การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ที่ดินและตึกพิพาทมีราคาสูงขึ้นตามสภาพของทำเลที่ดีเท่านั้น ข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อนำสืบของโจทก์ แสดงว่าโจทก์ยังมิได้มีข้อผูกพันที่จะต้องขายต่อให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันจะทำให้โจทก์ได้กำไรเป็นจำนวนเท่าใด หรือว่าถ้าโจทก์โอนขายให้ผู้นั้นไม่ได้โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เป็นจำนวนเท่าใด ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกจากจำเลยจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ส่งมอบตึกและที่ดินพิพาทให้โจทก์ หาใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าโจทก์ขาดประโยชน์เป็นจำนวน 100,000 บาท เท่ากำไรที่โจทก์อาจได้จากการขายต่อ แต่เมื่อยังฟังไม่ได้เป็นการแน่นอนว่าโจทก์จะขายได้กำไรเท่านั้นจริง ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย: กำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการขายต่อ และอำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
จำเลยผิดสัญญาจะขายตึกพร้อมด้วยที่ดินแก่โจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายว่า หากจำเลยปฏิบัติตามสัญญาให้โจทก์รับซื้อได้ถ้าโจทก์จะขาย มีผู้มาขอซื้อในราคา 450,000 บาท เพราะหลังจากทำสัญญาแล้ว ตึกแถวพร้อมด้วยที่ดินนี้มีราคาสูงขึ้นตามสภาพเพราะอยู่ริมถนนและเป็นทำเลที่เจริญด้วยการค้า โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้เป็นกำไรจากการขายไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แล้วโจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกพิพาทไว้เพื่อค้าขายเอง เมื่อรับโอนมาแล้วถ้ามีคนมาซื้อในราคาดีก็จะขาย และว่าตึกแถวนี้อยู่ในทำเลดีมีโรงภาพยนต์และตลาด ราคาจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าโจทก์จะขายในขณะนี้ จะขายได้ในราคาไม่ต่ำกว่า 450,000 บาท โดยมีผู้มาขอซื้อแล้ว 2 ราย รายละ 450,000 บาท โจทก์ก็ยังไม่ขาย เพราะยังไม่ได้รับโอนและที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ก็ขายได้ราคาถึง 550,000 บาท การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ที่ดินและตึกพิพาทมีราคาสูงขึ้นตามสภาพของทำเลที่ดีเท่านั้น ข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อนำสืบของโจทก์ แสดงว่าโจทก์ยังมิได้มีข้อผูกพันที่จะต้องขายต่อให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันจะทำให้โจทก์ได้กำไรเป็นจำนวนเท่าใด หรือว่าถ้าโจทก์โอนขายให้ผู้นั้นไม่ได้โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เป็นจำนวนเท่าใด ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกจากจำเลยจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ส่งมอบตึกและที่ดินพิพาทให้โจทก์หาใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าโจทก์ขาดประโยชน์เป็นจำนวน100,000 บาท เท่ากำไรที่โจทก์อาจได้จากการขายต่อ แต่เมื่อยังฟังไม่ได้เป็นการแน่นอนว่าโจทก์จะขายได้กำไรเท่านั้นจริง ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าต้องมีการประกาศขายก่อน หากจำเลยอ้างเหตุไม่สมเหตุผล ศาลถือว่าจำเลยผิดสัญญา
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าพนักงานจะรับจดทะเบียนโอนให้แก่คู่กรณีได้ต่อเมื่อได้มีการประกาศขายมีกำหนด 30 วัน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 5 เสียก่อน ฉะนั้น การที่โจทก์จำเลยได้ไปอำเภอในวันที่ 1 สิงหาคม 2510 ตามสัญญา ก็เพื่อจะดำเนินการประกาศขายดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยกลับไม่ยอมประกาศขายโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีเงินสดชำระเพียง 20,000 บาท ส่วนอีก 37,500 บาทโจทก์จะขอจ่ายเป็นเช็คลงวันล่วงหน้าในเมื่อครบประกาศแล้วหนึ่งเดือนข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยฟังไม่ขึ้นเพราะเหตุว่าในวันนั้นโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินให้กับจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายแต่อย่างใดเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงเรื่องการประกาศขายก่อนจดทะเบียน การอ้างเหตุผลเรื่องเงินชำระไม่ชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าพนักงานจะรับจดทะเบียนโอนให้แก่คู่กรณีได้ต่อเมื่อได้มีการประกาศขายมีกำหนด 30 วันตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 5 เสียก่อน ฉะนั้น การที่โจทก์จำเลยได้ไปอำเภอในวันที่ 1 สิงหาคม 2510 ตามสัญญา ก็เพื่อจะดำเนินการประกาศขายดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยกลับไม่ยอมประกาศขายโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีเงินสดชำระเพียง 20,000 บาท ส่วนอีก 37,500 บาทโจทก์จะขอจ่ายเป็นเช็คลงวันล่วงหน้า ในเมื่อครบประกาศแล้วหนึ่งเดือนข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยฟังไม่ขึ้น เพราะเหตุว่าในวันนั้นโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินให้กับจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายแต่อย่างใดเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภทสัญญาจ้าง (จ้างทำของ vs จ้างแรงงาน) และอายุความของค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่อง
จำเลยตกลงรับจ้างทำการชักลากไม้ของโจทก์จำนวน 60 ท่อนจากป่าระหารไปส่งให้แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างที่บ้านท่าพุทราซึ่งเป็นการขนเฉพาะไม้รายนี้ให้โจทก์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยโจทก์คิดค่าจ้างให้จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานนั้น ในจำนวนไม้ตามที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 60 บาท หาใช่เป็นสัญญาที่จำเลยมีหน้าที่จะต้องทำการขนไม้รายอื่น ๆ ให้โจทก์อยู่ตลอดเวลาที่จ้างตามที่กำหนดไว้นั้นไม่ สัญญาที่จำเลยทำจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ หาใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนส่งไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภทสัญญาจ้าง: จ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน และอายุความผิดสัญญาขนส่ง
จำเลยตกลงรับจ้างทำการชักลากไม้ของโจทก์จำนวน 60 ท่อน จากป่าระหารไปส่งให้แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างที่บ้านท่าพุทรา ซึ่งเป็นการขนเฉพาะไม้รายนี้ให้โจทก์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยโจทก์คิดค่าจ้างให้จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานนั้น ในจำนวนไม้ตามที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 60 บาท หาใช่เป็นสัญญาที่จำเลยมีหน้าที่จะต้องทำการขนไม้รายอื่น ๆ ให้โจทก์อยู่ตลอดเวลาที่จ้างตามที่กำหนดไว้นั้นไม่ สัญญาที่จำเลยทำจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ หาใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์เมื่อทำสัญญา และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอน ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีก ฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดี และรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรค 2 ประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึง บุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระ โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม่แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้ การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆ จะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรค 2 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์ และอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าซื้อขาย
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอนไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีกฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดีและรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขายผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคสองประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม้แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆจะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่อินกับค่าเสียหายจากสัญญาระหว่างโจทก์-จำเลยหลัก แม้ร่วมถูกฟ้อง
โจทก์จ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างคานเรือโดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน และศาลเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาในคดีด้วย ตามคำขอของจำเลยที่ 1 มีผู้อื่นขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยโดยอ้างว่าเป็นผู้รับเหมางานช่วงจากจำเลยที่ 2 อาจถูกไล่เบี้ยได้ ศาลอนุญาต ดังนี้เมื่อฝ่ายจำเลยแพ้คดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยร่วมพลอยต้องร่วมใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยหาได้ไม่ แต่จำเลยร่วมอาจต้องร่วมใช้ค่าธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
ค่าทนายความอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีรับผิดชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่ชนะหรือไม่เพียงใด ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีที่โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นทนายให้ เมื่อชนะคดี ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าทนายให้ก็ได้
of 25