คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 215

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าช่วง ค่าเช่าค้างชำระ และความรับผิดค่าเสียหายหลังสัญญาเลิก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์ ไม่รวมถึงห้องพิพาท ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์ เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้นจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่ไม่ออกจากห้องพิพาท และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิม คดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าช่วง สิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหายหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์ ไม่รวมถึงห้องพิพาท ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์ เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้น จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่ไม่ออกจากห้องพิพาท และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิมคดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่าถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดจากทรัพย์สินชำรุด/ขาดจำนวน แบ่งแยกงวดส่งมอบ & ความแตกต่างการไม่ชำระหนี้ vs. ชำรุดบกพร่อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น 2 งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลยหรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลยไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดชอบจากทรัพย์สินชำรุดบกพร่องและการส่งมอบเป็นงวด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น. ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว. หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้. โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย.
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ. สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด. มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน. แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน. แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง. จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา. แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด. แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง. หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย.หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง. ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่. แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก. เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้. งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว. ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น. แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย. ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง. อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467.
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา. ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย.ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้. และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474. ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป. แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง. จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายทรัพย์สินชำรุดบกพร่อง และการแยกพิจารณาหนี้ตามงวดการส่งมอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทุนการศึกษาและการผิดสัญญาชดใช้เงินทุน กรณีจำเลยไม่ทำสัญญาเพิ่มเติมและลาออก
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี. โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา. เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ. ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี. โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์.จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา. ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น. ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา. และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ. แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด. โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว. ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์.ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก. การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา.
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯเรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป. กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน. ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ. โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป. ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาการศึกษาและทำงานชดใช้เงิน - การอนุมัติลาต่อต้องทำสัญญาเป็นหลักฐาน
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหลังได้รับอนุมัติลาศึกษาต่อ และผลของการไม่ทำสัญญาเพิ่มเติม
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้นต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกันส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย-ติดตั้ง: การชำระหนี้ตามส่วน, ความผิดของผู้ซื้อ, ดอกเบี้ย, ค่าเสียหายจากการติดตั้งไม่เสร็จ
โจทก์ส่งมอบเครื่องสัญญาณเรียกผู้รับใช้ที่ตกลงซื้อขายให้จำเลยถูกต้อง แต่ส่งมอบสวิทซ์ไฟฟ้าผิดยี่ห้อไม่ตรงตามสัญญา เมื่อจำเลยได้รับชำระหนี้ตามสภาพดังกล่าวแล้วก็ต้องชำระราคาตอบแทนตามส่วน
การที่โจทก์ติดตั้งเครื่องสัญญาณไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเพราะจำเลยเกี่ยงจะให้โจทก์ปฏิบัตินอกเหนือสัญญา ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นความผิดของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนทดแทนค่าแรงและอุปกรณ์ในการติดตั้งที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว
ตามสัญญา จำเลยจะต้องชำระราคาค่าเครื่องสัญญาณทันทีเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับมอบของ ซึ่งจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด
ค่าติดตั้งเครื่องสัญญาณซึ่งโจทก์ทำไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา เพราะความผิดของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยได้ในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดแน่นอนเมื่อใด ศาลก็พิพากษาให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผิดนัดชำระหนี้และติดตั้ง, ความรับผิดจากสัญญา, ดอกเบี้ยจากค่าเสียหาย
โจทก์ส่งมอบเครื่องสัญญาณเรียกผู้รับใช้ที่ตกลงซื้อขายให้จำเลยถูกต้อง. แต่ส่งมอบสวิทซ์ไฟฟ้าผิดยี่ห้อไม่ตรงตามสัญญา. เมื่อจำเลยได้รับชำระหนี้ตามสภาพดังกล่าวแล้วก็ต้องชำระราคาตอบแทนตามส่วน.
การที่โจทก์ติดตั้งเครื่องสัญญาณไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา. เพราะจำเลยเกี่ยงจะให้โจทก์ปฏิบัตินอกเหนือสัญญา. ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์. แต่เป็นความผิดของจำเลย. จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนทดแทนค่าแรงและอุปกรณ์ในการติดตั้งที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว.
ตามสัญญา จำเลยจะต้องชำระราคาค่าเครื่องสัญญาณทันที.เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับมอบของ. ซึ่งจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด.
ค่าติดตั้งเครื่องสัญญาณซึ่งโจทก์ทำไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา. เพราะความผิดของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยได้ในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว.เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดแน่นอนเมื่อใด. ศาลก็พิพากษาให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง.
of 25