คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นุจรินทร์ จันทร์พรายศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14837/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังการไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ
คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำวินิจฉัยให้ส่งตัวจำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว ณ โปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ เป็นเวลา 6 เดือน (180 วัน) ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิดและยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาสารเสพติด แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ส่งหนังสือเตือน แต่จำเลยยังคงเพิกเฉยไม่พบพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเห็นว่า ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนี้ เหตุที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งให้แจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายแก่จำเลย เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟู มิใช่เพราะจำเลยไม่เป็นบุคคลที่เข้าหลักเกณฑ์หรือสามารถเข้ารับการฟื้นฟูได้ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้ติดยาเสพติดไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อนและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด ต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 โดยคำนึงถึงความหนักเบาของการเสพหรือติดยาเสพติดของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 23 ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสมตามมาตรา 25 หากผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนระเบียบ เงื่อนไขหรือข้อบังคับที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับตัวผู้นั้นกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือควบคุมตัวได้ โดยให้ถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขังตามมาตรา 190 แห่ง ป.อ. พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นได้ด้วยตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม ดังนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อน แล้วคณะอนุกรรมการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ และมาตรา 33 บัญญัติให้ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังที่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันจำเลยจากการสั่งจ่ายเช็คโดยกรรมการ แม้ไม่มีตราประทับ เช็คถือเป็นเอกสารที่จำเลยเชิดให้กรรมการทำนแทน
จำเลยเปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับธนาคารและระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า ว. กรรมการของจำเลยจะลงลายมือชื่อในเช็คและประทับตราสำคัญของจำเลย ซึ่งตรงกับการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลที่จะผูกพันจำเลยได้จะต้องลงลายมือชื่อ ว. กรรมการกับประทับตราสำคัญตามหนังสือรับรองบริษัท แต่ ว. ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทโดยไม่ประทับตราสำคัญ เมื่อเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของจำเลยและด้านหน้าก็พิมพ์ชื่อจำเลยไว้ บุคคลที่รับเช็คย่อมเข้าใจว่าเป็นเช็คของจำเลย การที่ ว. กรรมการจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ถือได้ว่าจำเลยเชิด ว. แสดงออกเป็นตัวแทนของตน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า ว. สั่งจ่ายเช็คพิพาทในนามของตนเอง จึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14640/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด – ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่พอใจ
จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุม ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง แต่ระหว่างการฟื้นฟูจำเลยตั้งครรภ์และเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอีก คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงปรับแผนการฟื้นฟูและขยายระยะเวลาออกไปอีก แต่จำเลยก็ยังเกี่ยวข้องกับยาเสพติด คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมีความเห็นให้ส่งจำเลยคืนพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป จึงฟังได้ว่า จำเลยได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว และเป็นกรณีที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไป ตามมาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14477/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบอาวุธปืน: การบรรยายฟ้อง 'ไม่ปรากฏเครื่องหมายทะเบียน' ไม่ทำให้เป็นทรัพย์สินที่ต้องริบ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นของผู้อื่นที่มีทะเบียน
คำว่า "ปรากฏ" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า สำแดงออกมาให้เห็น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองว่า เป็นอาวุธปืนที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ จึงมีความหมายว่า เป็นอาวุธปืนที่ไม่สำแดงออกมาให้เห็นถึงเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้น เป็นอาวุธปืนที่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดดังกล่าวอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาต หาทำให้อาวุธปืนของกลางที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอาวุธปืนผิดกฎหมายไปไม่ อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงต้องริบ และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 ไม่อาจริบตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ชอบที่จะต้องส่งคืนแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14150/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีและจำหน่ายอาวุธปืน การลงโทษความผิดต่อเนื่องและอำนาจศาลแก้ไขปรับบท
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 24 เป็นบทบัญญัติความผิดสำหรับผู้ที่มีหรือจำหน่ายซึ่งอาวุธปืนสำหรับการค้าโดยเฉพาะ อันมีอัตราโทษหนักกว่าผู้ที่กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนทั่ว ๆ ไปซึ่งมิใช่เพื่อการค้า เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยมีและจำหน่ายสำหรับการค้านี้เป็นปืนจำนวนเดียวกันและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธปืนอื่นอีก จึงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7 อีกกระทงหนึ่งไม่ได้ ส่วนการที่จำเลยมีอาวุธปืนจำนวนดังกล่าวสำหรับการค้าไว้ในความครอบครองของจำเลยและจำเลยได้จำหน่ายอาวุธปืนจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อนั้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 24 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นำเข้า มีหรือจำหน่าย ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" และหากผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 73 เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่า แม้จำเลยจะมีและจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้า ก็ถือเป็นกรรมในบทมาตราเดียวกัน ไม่ต่างกัน เพราะการที่จำเลยจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้าได้ จำเลยย่อมจะต้องมีอาวุธปืนนั้นไว้ในครอบครองอยู่ก่อนเมื่อจำเลยมีอาวุธปืนสำหรับการค้าและจำหน่ายอาวุธปืนดังกล่าวไปทั้งหมดแล้วก็ไม่มีอาวุธปืนสำหรับการค้าเหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยอีก ดังนั้น การที่จำเลยมีและจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้าจึงเป็นความผิดต่อเนื่องกรรมเดียวตั้งแต่เริ่มมีจนเลิกมีคือจำหน่ายอาวุธปืนไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้าเพียงกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13888/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีออกจากราชการเหตุความสามารถไม่เหมาะสม แม้เรียกค่าเสียหายต่างกัน ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีก่อนและคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือเรื่องที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานหลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบกำหนดแล้ว โดยอ้างว่าโจทก์มีความประพฤติ ความรู้และความสามารถไม่เหมาะสม เพียงแต่ค่าเสียหายที่เรียกร้องในแต่ละคดีโจทก์กล่าวเรียกชื่อต่างกัน ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถเรียกร้องได้ในคดีก่อนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากที่คดีก่อนถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์หลังกำหนด-เหตุผลไม่เป็นเหตุสุดวิสัย ศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2557 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 1 เดือน อ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับถ้อยคำสำนวนและคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไว้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการทางธุรการ กรณีเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาขยายอุทธรณ์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งจำเลยขอขยายได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่ข้ออ้างตามคำร้องถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองที่ไม่ติดตามเอกสารที่ขอคัดถ่ายไว้แต่เนิ่น ๆ จึงไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้ทนายจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 27 กันยายน 2557 และเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 26 กันยายน 2557 ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบเช่นกัน และไม่ก่อให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13646/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานยักยอกทรัพย์โดยเจ้าพนักงาน แม้ฟ้องผิดบทมาตรา ศาลอุทธรณ์ลงโทษได้ตามความผิดที่บรรยายฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจในตำแหน่งกระทำการทุจริตเบียดบังเอาเงินงบประมาณไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 แม้โจทก์ระบุ ป.อ. มาตรา 151 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง โดยไม่ได้ระบุมาตรา 147 ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการ จัดการและรักษางบประมาณต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว ตามโครงการขุดลอกลำเหมืองหนองถุ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 เป็นเงินงบประมาณจำนวน 116,000 บาท ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการดังกล่าวจำนวน 69,600 บาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 46,400 บาท ขาดหายไป โดยได้เบียดบังเอาเงินงบประมาณจำนวน 46,400 บาท ดังกล่าวรวมทั้งเงินงบประมาณตามโครงการอื่นดังที่บรรยายในคำฟ้องไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว และประชาชนทั่วไป จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขออันจะต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13539/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถเสพยาเสพติด: องค์ประกอบความผิด, การเพิ่มโทษซ้ำ และการพิจารณาบทลงโทษ
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะบัญญัติไว้ในลักษณะ 3 ว่าด้วยการใช้ทางเดิน แต่ก็ไม่ได้บัญญัติว่าผู้ขับขี่ซึ่งเสพยาเสพติดให้โทษอันจะเป็นความผิดตามมาตรา 43 ทวิ ต้องขับรถในทางเดินรถด้วย และเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากฤทธิ์ของยาเสพติดให้โทษทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อสมองซึ่งควบคุมระบบประสาทของผู้ขับขี่ซึ่งจะทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ ดังนี้ จึงต้องพิจารณาเพียงว่าผู้เสพยาเสพติดให้โทษเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถหรือไม่ หากผู้เสพยาเสพติดให้โทษเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถไม่ว่าจะเสพในขณะขับรถหรือก่อนหน้านั้น ผู้นั้นก็ได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนบุคคลเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วจำเลยขับรถยนต์สาธารณะ (รถแท็กซี่) แล่นไปติดต่อราชการที่สถานีตำรวจนครบาลลำผักชี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จารจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง และสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้
ศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย เพียงแต่ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง" เมื่อจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและศาลฎีกาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13369/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟู และผลของคำสั่งคณะอนุกรรมการฯ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 นั้น ผู้ที่จะถูกส่งตัวไปเข้ารับการฟื้นฟู คือ บุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อนและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดจากนั้นจะต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 ซึ่งคดีที่จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ก่อนหน้าคดีนี้นั้น จำเลยต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัวในโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ เป็นเวลา 6 เดือน และให้ทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 120 วัน แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับการฟื้นฟูให้ครบถ้วนตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจและหน้าที่จับจำเลยกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูตามแผนและให้มีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย แต่เมื่อได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้แล้วไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานคร คณะที่ 5 ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวแต่ประการใด และกรณีที่จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานคร คณะที่ 5 มีคำสั่งที่ 860/2555 ว่า จำเลยไม่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเนื่องจากจำเลยอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก จึงให้แจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
อนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับหลอดพลาสติกดัดแปลงอันเป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติดของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อหลอดพลาสติกดัดแปลงอันเป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติดของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งเห็นสมควรให้ริบ
of 12