คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 215

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค้ำประกันการทำงาน: สิทธิคืนเมื่อทำงานครบกำหนด/ทุจริต & จำนวนเงินที่ต้องคืน
ใบสมัครงานของโจทก์ระบุชัดว่า โจทก์จะทำงานกับจำเลยอย่างน้อย 1 ปี และถ้าจะลาออกจะแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ถ้าผิดสัญญาและ/หรือถูกจำเลยให้ออก ไล่ออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม โจทก์จะไม่รับเงินค้ำประกันคืนเงินค้ำประกันนี้ไม่ค้ำประกันความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ก่อขึ้นเงินค้ำประกันที่โจทก์ยังจ่ายไม่ครบให้หักจากเงินเดือนจนครบตามจำนวนที่จำเลยต้องการ หมายความว่า เงินค้ำประกันดังกล่าวโจทก์วางไว้แก่จำเลยเพื่อประกันการทำงานว่าจะทำงานกับจำเลยไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาและถูกจำเลยให้ออกหรือไล่ออกจากงานด้วยเหตุใดก่อนครบ 1 ปีโจทก์ทั้งสองจะไม่รับเงินค้ำประกันคืนจากจำเลย และแม้โจทก์จะทุจริตต่อหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเลยจะไม่คืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเกิน 1 ปี ครบถ้วนตามข้อตกลงในใบสมัครงานแล้ว แม้ถูกจำเลยไล่ออก โจทก์ก็มีสิทธิรับเงินค้ำประกันคืน แต่หากโจทก์นั้นทำงานกับจำเลยมายังไม่ถึง 1 ปี ตาม ข้อตกลงในใบสมัครและถูกจำเลยไล่ออกเพราะความผิดของโจทก์ที่ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิรับเงินค้ำประกันที่วางไว้แก่จำเลยคืน ตามคำฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค้ำประกันจากโจทก์ครั้งแรกคนละ 2,000 บาท ในวันเริ่มทำงานและหักค่าจ้างโจทก์ทั้งสองอีกคนละ 1,000 บาท เป็นรายเดือนเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 5,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่จำต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตามใบสมัครงานเอกสารท้ายคำให้การ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่เพียงใด ย่อมหมายถึงว่าการที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดในเงินค้ำประกันต่อโจทก์ และมีความหมายรวมถึงปฏิเสธเรื่องจำนวนเงินค้ำประกันที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์มีจำนวนเท่าใด มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันกันแล้ว ทั้งมิใช่เป็นการตรวจและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานพิเคราะห์จากเอกสารซึ่งจำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานที่มีการระบุชัดเจนว่าเงินค้ำประกันมีจำนวน 2,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ค้างเงินค้ำประกันอยู่อีก ส่วนเงินที่หักจากโจทก์มีคนละ 3,000 บาท เป็นเงินค่าจ้างที่หักไว้เท่านั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น ข้อพิพาทโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้องคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชุบทองคำขาว: การผิดสัญญา, ความเสียหายจากสินค้าชำรุด, และการเรียกค่าเสียหาย
ก่อนที่โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยชุบทองคำขาวเครื่องประดับได้มีการตกลงกันถึงกรรมวิธีในการชุบทองคำขาวด้วย การที่จำเลยทำผิดขั้นตอนที่ตกลงกันหรือผิดปรกติประเพณีการชุบทองคำขาว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน 13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฎิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้น โจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมดจำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้น บุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน 288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้นเนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฎิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจาณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา215 แต่เมื่อไม่ปรากฎว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาชุบทองคำขาว: ความรับผิดชอบค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องและราคาทรัพย์สิน
ก่อนที่โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยชุบทองคำขาวเครื่องประดับได้มีการตกลงกันถึงกรรมวิธีในการชุบทองคำขาวด้วย การที่จำเลยทำผิดขั้นตอนที่ตกลงกันหรือผิดปกติประเพณีการชุบทองคำขาว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้นโจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมด จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้นบุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้น เนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฏิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไป โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดหย่อนตามกฎหมาย
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยตกลงเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทมีกำหนดระยะเวลาที่ธนาคาร ก.เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีของธนาคารบวก 1 เปอร์เซ็นต์ จำเลยต้องชำระเงินกู้เป็นต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายงวด งวดละเดือน เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 งวดต่อไปจะชำระภายในวันที่ 21 ของทุกเดือนในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดสัญญาให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าจะใช้หนี้ครบถ้วน ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์สูงขึ้น หากจำเลยผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าอันเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้สัญญาแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ฉะนั้นเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิเจ้าของรวม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่า ผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน 18 เดือนนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่า ผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัย ไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง คำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลต้องยกคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญา และแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญา ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, ผลกระทบต่อเจ้าของรวม, และค่าเสียหายจากผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่าผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน18เดือนนั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อนแต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่าผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัยไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงจึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364วรรคสองคำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ศาลต้องยกคำขอแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญาศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในรายงานประจำวันและการละเมิด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า ตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาล-อุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามรายงานประจำวัน จำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีก แต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2531 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าว โดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีก โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
ตามรายงานประจำวันระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลง และจะกระทำการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดิน ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีก ถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายทราย จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่สมควร
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้โจทก์ไม่สามารถดูดทรายจากในที่ดินของจำเลยได้จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าทรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันรับเงินมัดจำจากโจทก์รวมทั้งค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาด้วย โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายว่าโจทก์ได้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างบรรทุกเรือขุดค่าคนงานค่าเช่าเรือดูดทรายค่าเช่ารถขุดและค่าน้ำมันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น839,360บาทแม้จำเลยจะมิได้นำสืบหักล้างเป็นประการอื่นก็ตามแต่นอกจากโจทก์มิได้นำหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงยืนยันให้เห็นได้แล้วยังนำสืบขัดกับหลักฐานหนังสือทวงถามที่เรียกจากจำเลยเป็นเงินเพียง461,600บาทอีกทั้งยังได้ความว่าแม้โจทก์จะดูดทรายจากในที่ดินจำเลยไม่ได้แต่โจทก์ก็สามารถนำเครื่องอุปกรณ์การดูดทรายไปดูดทรายจากที่ดินข้างเคียงจำเลยได้อยู่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ถึงกับเสียหายไปทั้งหมดเสียทีเดียวค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาจึงสูงเกินไปสมควรกำหนดให้เพียง300,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายทราย: การกำหนดค่าเสียหายที่สมเหตุสมผล
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้โจทก์ไม่สามารถดูดทรายจากในที่ดินของจำเลยได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าทรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันรับเงินมัดจำจากโจทก์รวมทั้งค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาด้วย
โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายว่า โจทก์ได้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างบรรทุกเรือขุด ค่าคนงาน ค่าเช่าเรือดูดทราย ค่าเช่ารถขุด และค่าน้ำมันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 539,360 บาท แม้จำเลยจะมิได้นำสืบหักล้างเป็นประการอื่นก็ตาม แต่นอกจากโจทก์มิได้นำหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงยืนยันให้เห็นได้แล้วยังนำสืบขัดกับหลักฐานหนังสือทวงถามที่เรียกจากจำเลยเป็นเงินเพียง 461,600 บาทอีกทั้งยังได้ความว่า แม้โจทก์จะดูดทรายจากในที่ดินจำเลยไม่ได้ แต่โจทก์ก็สามารถนำเครื่องอุปกรณ์การดูดทรายไปดูดทรายจากที่ดินข้างเคียงจำเลยได้อยู่ ทำให้เห็นได้ว่า โจทก์ไม่ถึงกับเสียหายไปทั้งหมดเสียทีเดียว ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาจึงสูงเกินไป สมควรกำหนดให้เพียง 300,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาจ้างเหมา: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทเป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการ วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา โจทก์ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้อื่นทำงานจ้างเหมาก่อสร้างต่อจากจำเลยได้ และอีกข้อหนึ่งแห่งสัญญาดังกล่าวกำหนดว่า ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้รับจ้างยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อไปจนงานจ้างเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ ดังนี้ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา แม้จะมิใช่เบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไปตามความเสียหายที่แท้จริงได้
of 25