พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าล่าช้าและการประเมินความเสียหายจากราคาตลาดที่ตกต่ำ
ขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่ได้ประกาศใช้ และไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลศาลจึงจำต้องวินิจฉัยคดีนี้โดยอาศัยเทียบบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 คดีนี้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนตกลงรับขนว่าโจทก์ประสงค์จะให้ขนส่งสินค้าของโจทก์โดยเร็วจึงมีการเปลี่ยนจากเรืออ.เป็นเรือป. แต่ปรากฎว่าเรือป.แล่นออกจากประเทศไทยล่าช้าถึง 1 สัปดาห์ จึงทำให้เรือแล่นไปถึงท่าเรือปลายทางต้องล่าช้าไปด้วย ดังนี้การส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับสินค้าปลายทางล่าช้าเป็นเพราะจำเลยเริ่มทำการขนส่งสินค้าล่าช้าเอง มิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ความเสียหายมิได้เกิดจากตัวสินค้าข้าวโพด หากแต่เกิดจากราคาสินค้าข้าวโพดในตลาดไต้หวันตกต่ำลงในขณะที่มีการส่งมอบชักช้า ผู้ซื้อที่ไต้หวันจึงอาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การส่งมอบสินค้าข้าวโพด ชักช้าผิดเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์ส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่ธนาคารในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดจากการที่จำเลยส่งมอบสินค้าชักช้า และมิใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรเห็นควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 เนื่องจากไม่ปรากฎว่าขณะโจทก์และจำเลยทำสัญญารับขนสินค้า และขณะที่จำเลยส่งมอบสินค้าดังกล่าวชักช้า จำเลยได้ทราบอยู่แล้วว่าหากธนาคารในไต้หวันยังไม่จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารในประเทศไทยโจทก์จำเป็นต้องขอเบิกเงินค่าสินค้าจากธนาคารในประเทศไทยไปก่อนโดย โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การผิดสัญญาและการบรรเทาค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากับโจทก์ซึ่งมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการกับโจทก์รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้ลาไปศึกษา จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา3 ปี รวมเวลาสองเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการอยู่กับโจทก์เป็นเวลา 6 ปี แต่เมื่อจำเลยที่ 1สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับราชการอยู่กับโจทก์เพียง 2 ปี4 เดือน ก็ลาออกจากราชการไปซึ่งไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ไปรับราชการในหน่วยงานอื่นโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร แม้หน่วยงานนั้นจะรับไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ให้ไปรับราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญาและจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ทุนแล้วหาได้ไม่จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 222วรรคหนึ่ง, มาตรา 368 หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่งอันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผูกพันการรับราชการหลังศึกษาต่อ: การชดใช้ค่าเสียหายเมื่อไม่ครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากับโจทก์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการกับโจทก์รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้ลาไปศึกษา จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี รวมเวลาสองเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการอยู่กับโจทก์เป็นเวลา 6 ปี แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับราชการอยู่กับโจทก์เพียง 2 ปี 4 เดือน ก็ลาออกจากราชการไปซึ่งไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ไปรับราชการในหน่วยงานอื่นโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร แม้หน่วยงานนั้นจะรับไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ให้ไปรับราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญาและจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ทุนแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215ประกอบมาตรา 222 วรรคหนึ่ง, มาตรา 368
หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1 ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383
หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1 ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ สัญญาไม่เลิกทันที โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา แต่เมื่อสัญญามิได้ระบุว่าหากจำเลยผิดนัดผิดสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ดังนี้ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังมีผลผูกพันอยู่ และจำเลยย่อมมีสิทธิขอชำระหนี้ตามสัญญาได้ เมื่อกรณียังฟังไม่ได้ตามทางนำสืบว่าจำเลยขอปฏิบัติชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่เมื่อคดีกลับได้ความต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งหยุดงานเพื่อความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และผู้รับเหมาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า
ที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดงานชั่วคราวก็เพื่อถวายการอารักขาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ คำสั่งจำเลยที่ให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี ทั้งเมื่อได้รับคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว โจทก์มิได้ ทักท้วงหรือโต้แย้งแต่ประการใด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการ หรืออำนวยความสะดวกให้โจทก์เข้าทำงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นการ ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอัน เกิดจากคำสั่งของจำเลย ดังกล่าวนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ. จำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลงโดย ทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลง ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าวจำเลย จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การผิดสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหายจากการอุทธรณ์คดีแพ่ง
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.จำนวน100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลง โดยทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, ความรับผิดของหุ้นส่วน, อายุความฟ้องคดี
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, ค่าปรับ, อายุความ, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระเงินไม่ครบถ้วน การคำนวณผิดพลาด และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากจำเลย และผ่อนชำระราคาเรื่อยมาจำเลยได้ออกหลักฐานการชำระเงินงวดสุดท้ายให้โจทก์ระบุว่า"จ่ายให้หมดแล้ว" ซึ่งความจริงเงินที่ต้องผ่อนชำระยังขาดอยู่อีก2,600 บาท แต่จำเลยคำนวณผิดพลาด จำนวนเงินที่ขาดนี้ไม่ใช่โจทก์ไม่ยินยอมชำระ แต่เนื่องจากโจทก์เข้าใจว่าได้ชำระครบถ้วนแล้วตามหลักฐานที่จำเลยทำให้และที่จำเลยทวงถามก็ให้โจทก์ชำระเงินถึง8,200 บาท ซึ่งมิใช่จำนวนเงินที่ค้างจริง ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระจริง โจทก์ก็มิได้ฎีกาโต้แย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับที่จะชำระเงินส่วนนี้ให้จำเลยให้ครบถ้วนตามสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วนแล้ว โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยไปเพียง 45,000 บาท ถ้าจะบังคับให้จำเลยคืนเงินก็คงบังคับได้เฉพาะส่วนที่จำเลยได้รับชำระไปแล้วเท่านั้น จะบังคับให้คืนทั้งหมด 48,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยรวมส่วนที่ยังชำระไม่ครบด้วยนั้นไม่ชอบ เมื่อโจทก์ยังชำระค่าที่ดินขาดอยู่อีก 2,600 บาท ซึ่งแม้ในตอนแรกจะเกิดขึ้นจากการคำนวณผิดพลาดของจำเลยว่าชำระครบแล้วแต่ต่อมาเมื่อจำเลยทวงถาม โจทก์ก็ยังไม่ยอมชำระ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ยังไม่โอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจจะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.