พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: การกระทำต่อเนื่องเพื่อทำสัญญาขายฝากที่ดิน
โจทก์แยกฟ้องการกระทำผิดของจำเลยทั้งสามข้อโดยคำฟ้อง 1.1 และข้อ 1.2 โจทก์ระบุวันเวลากระทำผิดอย่างเดียวกันคือระหว่างวันนี้ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2559 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดกับบรรยายการกระทำของจำเลยทั้งสามตามข้อ 1.1 ว่า ร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารโฉนดที่ดินของผู้เสียหาย และข้อ 1.2 ว่า ภายหลังเกิดเหตุข้อ 1.1 ร่วมกันปลอม ทำปลอมหนังสือมอบอำนาจ (ท.ค. 21) ขึ้นทั้งฉบับ จากนั้นบรรยายการกระทำตามฟ้องข้อ 1.3 ว่า วันที่ 1 มีนาคม 2559 เวลากลางวัน ภายหลังเกิดเหตุข้อ 1.2 ร่วมกันใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมตามฟ้องข้อ 1.2 อ้างแสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องโจทก์แต่ละข้อล้วนเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยจำเลยทั้งสามมีเจตนาอย่างเดียวคือเพื่อจะทำสัญญาขายฝากที่ดินของผู้เสียหายกับ ท. ให้ได้ การกระทำได้ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถยนต์เพื่อช่วยเหลือซ่อนเร้นผู้กระทำผิดข้ามจังหวัด ศาลมีอำนาจริบได้ตามกฎหมาย
การขับรถกระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องประกันภัยทางทะเล: ผู้รับช่วงสิทธิต้องพิสูจน์การสูญเสียหรือเสียหายจากภัยที่เอาประกันจริง
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อตกลงโดยชัดแจ้งว่า สัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ผู้รับประกันภัย กับผู้ร้องที่ 22 ผู้เอาประกันภัย ให้อยู่ภายใต้กฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศอังกฤษ กรณีจึงต้องนำกฎหมายเกี่ยวกับประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับตามสัญญาดังกล่าว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิของผู้ร้องที่ 22 จากการที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ชำระค่าสินไหมทดแทนไปตามสัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเล จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 อ้างเหตุในฐานะผู้สืบสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ซึ่งเป็นคู่พิพาทตามคำชี้ขาด ดังนี้ การพิจารณาเหตุแห่งการใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับร้องที่ 22 ว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เป็นผู้สืบสิทธิโดยชอบโดยผลของกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้ โดยกรณีนี้ต้องนำกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับตามสัญญา ซึ่งคู่ความนำสืบรับกันว่าคือ พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) โดยไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อพิจารณาจากบทนิยามตามมาตรา 1 แห่ง พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 ที่ให้คำนิยามไว้ว่า สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีเกิดความเสียหายอันเกิดจากการเสี่ยงภัยทางทะเลตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยที่มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า การเสี่ยงภัยทางทะเลตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่อาจระบุไว้ในสัญญาประกันภัยทางทะเล ซึ่งวัตถุที่เอาประกันภัยต้องเกี่ยวข้องกับภัยทางทะเล (Maritime Perils) และให้ความหมายคำว่า "Maritime Perils" ว่า หมายถึงภัยอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเดินเรือทางทะเลอันได้แก่ภัยทางทะเล อัคคีภัย ภัยสงคราม โจรสลัด โจรกรรม การยึด การหน่วงเหนี่ยว การทิ้งทะเล การกระทำโดยทุจริตของคนเรือและภัยอื่นที่มีลักษณะเดียวกันหรือที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 นำสืบได้ความแต่เพียงว่า กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อตกลงการรับประกันภัยสินค้าถ่านหินในส่วนที่ 6 โดยมีเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันภัยสินค้า (เอ) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่ทำให้เกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดเท่านั้น แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ทำลายถ่านหินทำให้เกิดการสูญหายหรือความเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัยและเข้าเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันสินค้าแบบ (เอ) แล้ว ขณะที่ผู้ร้องที่ 22 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในถ่านหินและยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่เอาประภัยตามสัญญาซื้อขายตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่ 6 เกี่ยวกับถ่านหิน หรือเข้าลักษณะหรือประเภทของภัยทางทะเลที่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม Institute Cargo Clauses (A) ในข้อใดอย่างไรหรือไม่ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า การประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่เวลาที่วัตถุที่เอาประกันภัยอยู่ในความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยและต่อเนื่องในขณะอยู่ระหว่างขนส่งไปจนกว่าจะถูกจัดส่งถึงปลายทาง หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยสิ้นสุดลงโดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขของการซื้อขาย และระหว่างพิจารณาผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า สินค้าถ่านหินคดีนี้ตั้งแต่มีการขนส่งที่ต้นทางจนถึงปลายทางและขนส่งต่อไปจนถึงโรงงานของผู้คัดค้านนั้น สินค้าถ่านหินไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับผู้ร้องที่ 22 สิ้นสุดลงตามข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญหายหรือเสี่ยงภัยทางทะเลในระหว่างการเดินเรือทางทะเลที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 22 นอกจากนี้ตามสำเนาคำชี้ขาดขาดของสถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสิงค์โปร์ยังแสดงให้เห็นว่าหนี้ที่พิพาทกันระหว่างผู้ร้องที่ 22 กับผู้คัดค้านมีมูลความแห่งคดีมาจากการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ชำระหนี้จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาซื้อขาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิเป็นผู้สิทธิของผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาประกันทางทะเลโดยชอบ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ได้
คดีนี้ศาลพิจารณาจากหลักกฎหมายตามพ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) และข้อตกลงในสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศอังกฤษดังกล่าวข้างต้น โดยปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของผู้ร้อนที่ 1 ถึงที่ 21 ในชั้นไต่สวนคำร้องไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้อง กรณีจึงไม่ใช่เรื่องของการตีความกฎหมาย
แม้การที่ผู้ซื้อตั้งใจไม่ชำระราคาตั้งแต่แรก หรือผู้ซื้อไม่สุจริต หรือผู้ซื้อล้มละลายจะถือว่าเป็นภัยก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าการไม่ชำระราคาทุกกรณีจะเป็นภัยทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านมีเจตนาที่จะชำระราคาให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตั้งแต่ต้น แต่เป็นการชำระให้แก่บุคคลภายนอกที่มาหลอกหลวงผู้คัดค้าน จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นภัยจากการไม่ชำระราคา
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิของผู้ร้องที่ 22 จากการที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ชำระค่าสินไหมทดแทนไปตามสัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเล จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 อ้างเหตุในฐานะผู้สืบสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ซึ่งเป็นคู่พิพาทตามคำชี้ขาด ดังนี้ การพิจารณาเหตุแห่งการใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับร้องที่ 22 ว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เป็นผู้สืบสิทธิโดยชอบโดยผลของกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้ โดยกรณีนี้ต้องนำกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับตามสัญญา ซึ่งคู่ความนำสืบรับกันว่าคือ พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) โดยไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อพิจารณาจากบทนิยามตามมาตรา 1 แห่ง พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 ที่ให้คำนิยามไว้ว่า สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีเกิดความเสียหายอันเกิดจากการเสี่ยงภัยทางทะเลตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยที่มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า การเสี่ยงภัยทางทะเลตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่อาจระบุไว้ในสัญญาประกันภัยทางทะเล ซึ่งวัตถุที่เอาประกันภัยต้องเกี่ยวข้องกับภัยทางทะเล (Maritime Perils) และให้ความหมายคำว่า "Maritime Perils" ว่า หมายถึงภัยอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเดินเรือทางทะเลอันได้แก่ภัยทางทะเล อัคคีภัย ภัยสงคราม โจรสลัด โจรกรรม การยึด การหน่วงเหนี่ยว การทิ้งทะเล การกระทำโดยทุจริตของคนเรือและภัยอื่นที่มีลักษณะเดียวกันหรือที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 นำสืบได้ความแต่เพียงว่า กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อตกลงการรับประกันภัยสินค้าถ่านหินในส่วนที่ 6 โดยมีเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันภัยสินค้า (เอ) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่ทำให้เกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดเท่านั้น แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ทำลายถ่านหินทำให้เกิดการสูญหายหรือความเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัยและเข้าเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันสินค้าแบบ (เอ) แล้ว ขณะที่ผู้ร้องที่ 22 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในถ่านหินและยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่เอาประภัยตามสัญญาซื้อขายตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่ 6 เกี่ยวกับถ่านหิน หรือเข้าลักษณะหรือประเภทของภัยทางทะเลที่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม Institute Cargo Clauses (A) ในข้อใดอย่างไรหรือไม่ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า การประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่เวลาที่วัตถุที่เอาประกันภัยอยู่ในความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยและต่อเนื่องในขณะอยู่ระหว่างขนส่งไปจนกว่าจะถูกจัดส่งถึงปลายทาง หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยสิ้นสุดลงโดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขของการซื้อขาย และระหว่างพิจารณาผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า สินค้าถ่านหินคดีนี้ตั้งแต่มีการขนส่งที่ต้นทางจนถึงปลายทางและขนส่งต่อไปจนถึงโรงงานของผู้คัดค้านนั้น สินค้าถ่านหินไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับผู้ร้องที่ 22 สิ้นสุดลงตามข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญหายหรือเสี่ยงภัยทางทะเลในระหว่างการเดินเรือทางทะเลที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 22 นอกจากนี้ตามสำเนาคำชี้ขาดขาดของสถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสิงค์โปร์ยังแสดงให้เห็นว่าหนี้ที่พิพาทกันระหว่างผู้ร้องที่ 22 กับผู้คัดค้านมีมูลความแห่งคดีมาจากการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ชำระหนี้จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาซื้อขาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิเป็นผู้สิทธิของผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาประกันทางทะเลโดยชอบ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ได้
คดีนี้ศาลพิจารณาจากหลักกฎหมายตามพ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) และข้อตกลงในสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศอังกฤษดังกล่าวข้างต้น โดยปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของผู้ร้อนที่ 1 ถึงที่ 21 ในชั้นไต่สวนคำร้องไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้อง กรณีจึงไม่ใช่เรื่องของการตีความกฎหมาย
แม้การที่ผู้ซื้อตั้งใจไม่ชำระราคาตั้งแต่แรก หรือผู้ซื้อไม่สุจริต หรือผู้ซื้อล้มละลายจะถือว่าเป็นภัยก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าการไม่ชำระราคาทุกกรณีจะเป็นภัยทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านมีเจตนาที่จะชำระราคาให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตั้งแต่ต้น แต่เป็นการชำระให้แก่บุคคลภายนอกที่มาหลอกหลวงผู้คัดค้าน จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นภัยจากการไม่ชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้อง: ผลกระทบต่อคดีในไทย & การขัดกันแห่งกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าโจทก์ทั้งห้าและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือต่อศาลในประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากเหตุเรือโดนกันเดียวกับคดีนี้ และโจทก์ทั้งห้าได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไปแล้ว เพียงแต่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างถึงขอบเขตของการมีผลบังคับของสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แตกต่างกัน จึงต้องวินิจฉัยในเรื่องผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนว่า สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวคู่สัญญาตกลงให้หนี้อันเกิดจากเหตุเรือโดนกันระงับสิ้นไปหรือไม่เพียงใด โดยต้องตีความจากเจตนาของคู่สัญญาซึ่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นสำคัญ คดีนี้คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างเป็นนิติบุคคลต่างสัญชาติกัน โจทก์ทั้งห้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ส่วนจำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศปานามา ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวที่ประเทศญี่ปุ่น การวินิจฉัยตีความเจตนาในการทำสัญญาของโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยที่พิพาทกันคดีนี้ว่าจะต้องนำบทบัญญัติใดมาใช้บังคับนั้นย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง แม้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว คู่สัญญามิได้ระบุข้อความในสัญญาว่าให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ผลแห่งสัญญา จึงไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งของคู่สัญญาได้ แต่หลังเกิดเหตุเรือโดนกันจำเลยยื่นคำร้องขอเริ่มต้นคดีตาม พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือ ที่ศาลแขวงโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น ศาลดังกล่าวมีคำสั่งอนุญาตให้เริ่มคดีโดยแต่งตั้งผู้บริหารจัดการกองทุนซึ่งเป็นผู้พิจารณาข้อเรียกร้องและจัดทำตารางส่วนแบ่งเงินกองทุนการจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือเสนอต่อศาล ต่อมาโจทก์ทั้งห้ายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารจัดการกองทุน ภายหลังที่มีการพิจารณาโดยผู้บริหารจัดการกองทุนแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเงินตามข้อเรียกร้องเป็นที่ยอมรับได้โดยเจ้าหนี้แต่ละราย จึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ประกอบกับฝ่ายโจทก์เองได้เข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดีดังกล่าวโดยความสมัครใจ อีกทั้งมีข้อความระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยว่า การทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการมีคำพิพากษา โดยมีการอ้างถึง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่นในเงื่อนไขของสัญญาด้วย ถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาให้ใช้กฎหมายญี่ปุ่นบังคับแก่ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้
ส่วนการที่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้ขอสงวนสิทธิตามมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่นไว้ จะทำให้สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ระงับสิ้นไปหรือไม่ และตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้แต่เพียงว่า ให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากความรับผิดเฉพาะข้อเรียกร้องอื่นในคดีที่ยื่นฟ้องในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งห้าตามฟ้องคดีนี้ด้วยหรือไม่นั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าเรียกร้องให้กำหนดข้อสงวนไว้ในสัญญาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลกระทบต่อคดีที่ดำเนินการที่ประเทศไทย แต่ฝ่ายจำเลยปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว จึงทำให้ไม่มีข้อสงวนเกี่ยวกับการฟ้องคดีนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ พฤติการณ์ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งห้าทราบดีถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวรวมทั้งเข้าใจกระบวนการการขอสงวนสิทธิอันเป็นผลตามกฎหมายของมาตรา 73 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่นแล้ว และในที่สุดโจทก์ทั้งห้าได้ตกลงตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีระหว่างกันซึ่งรวมถึงข้อพิพาทที่มีการดำเนินคดีที่ศาลไทยด้วย การที่โจทก์ทั้งห้าตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยไม่ได้ระบุข้อสงวนสิทธิในการดำเนินคดีที่ศาลไทยไว้ในสัญญา เท่ากับโจทก์ทั้งห้าตกลงยินยอมที่จะไม่ดำเนินคดีนอกเหนือจากกระบวนพิจารณาคดีการจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือที่ศาลในประเทศญี่ปุ่น และเมื่อโจทก์ทั้งห้าได้รับชำระเงินจากกองทุนตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรแล้ว จำเลยย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ทั้งห้า ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 73 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น การทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ประเทศญี่ปุ่น ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายตามฟ้องของโจทก์ทั้งห้าระงับสิ้นไปทั้งหมด
แม้ประเทศไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการจำกัดความรับผิดเพื่อสิทธิเรียกร้องทางทะเล ค.ศ. 1976 และคำพิพากษาของศาลประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีผลบังคับใช้ในประเทศไทย แต่เนื่องจากคดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยแล้วว่า ให้นำ พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง อีกทั้งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีมูลหนี้ที่เกิดจากเหตุเรือโดนกันเดียวกับคดีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว ตามมาตรา 73 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่น โดยที่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย ศาลไทยย่อมนำหลักกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทคดีนี้มาใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 5 ดังนั้น การมิได้เป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวจึงไม่กระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของคู่ความทั้งสองฝ่ายซึ่งมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และมีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งในประเทศที่ทำสัญญาและประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยด้วย
ส่วนการที่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้ขอสงวนสิทธิตามมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่นไว้ จะทำให้สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ระงับสิ้นไปหรือไม่ และตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้แต่เพียงว่า ให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากความรับผิดเฉพาะข้อเรียกร้องอื่นในคดีที่ยื่นฟ้องในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งห้าตามฟ้องคดีนี้ด้วยหรือไม่นั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าเรียกร้องให้กำหนดข้อสงวนไว้ในสัญญาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลกระทบต่อคดีที่ดำเนินการที่ประเทศไทย แต่ฝ่ายจำเลยปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว จึงทำให้ไม่มีข้อสงวนเกี่ยวกับการฟ้องคดีนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ พฤติการณ์ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งห้าทราบดีถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวรวมทั้งเข้าใจกระบวนการการขอสงวนสิทธิอันเป็นผลตามกฎหมายของมาตรา 73 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่นแล้ว และในที่สุดโจทก์ทั้งห้าได้ตกลงตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีระหว่างกันซึ่งรวมถึงข้อพิพาทที่มีการดำเนินคดีที่ศาลไทยด้วย การที่โจทก์ทั้งห้าตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยไม่ได้ระบุข้อสงวนสิทธิในการดำเนินคดีที่ศาลไทยไว้ในสัญญา เท่ากับโจทก์ทั้งห้าตกลงยินยอมที่จะไม่ดำเนินคดีนอกเหนือจากกระบวนพิจารณาคดีการจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือที่ศาลในประเทศญี่ปุ่น และเมื่อโจทก์ทั้งห้าได้รับชำระเงินจากกองทุนตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรแล้ว จำเลยย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ทั้งห้า ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 73 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น การทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ประเทศญี่ปุ่น ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายตามฟ้องของโจทก์ทั้งห้าระงับสิ้นไปทั้งหมด
แม้ประเทศไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการจำกัดความรับผิดเพื่อสิทธิเรียกร้องทางทะเล ค.ศ. 1976 และคำพิพากษาของศาลประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีผลบังคับใช้ในประเทศไทย แต่เนื่องจากคดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยแล้วว่า ให้นำ พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง อีกทั้งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีมูลหนี้ที่เกิดจากเหตุเรือโดนกันเดียวกับคดีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว ตามมาตรา 73 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.การจำกัดความรับผิดของเจ้าของเรือของประเทศญี่ปุ่น โดยที่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย ศาลไทยย่อมนำหลักกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทคดีนี้มาใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 5 ดังนั้น การมิได้เป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวจึงไม่กระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของคู่ความทั้งสองฝ่ายซึ่งมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และมีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งในประเทศที่ทำสัญญาและประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายบริการ: การพิจารณาความหมายตามบริการที่เกี่ยวข้องและการพิสูจน์การใช้จริง
คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงนั้นต้องเป็นคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์มีลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาประกอบด้วยสองภาคส่วน คือ ภาคส่วนคำว่า "MY" มีความหมายตามพจนานุกรม Oxford River Books English-Thai แปลว่า ของฉัน และภาคส่วน คำว่า "CLOUD" ซึ่งแม้คำนี้จะมีหลายความหมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และในส่วนความหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่แตกต่างกัน เมื่อการพิจารณาว่าคำในเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับสินค้าหรือบริการที่ขอจดทะเบียน การที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่มีคำว่า "CLOUD" กับบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางคอมพิวเตอร์ สาธารณชนที่พบเห็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ย่อมเข้าใจได้ในทันทีว่าเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คำว่า "CLOUD" จึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าคำว่า "CLOUD" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง การที่โจทก์นำคำดังกล่าวมาประกอบกับคำว่า "MY" ในลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดา แยกส่วนออกได้เป็นสองคำ โดยที่คำว่า "MY" มีความหมายว่า ของฉัน ซึ่งเป็นความหมายโดยทั่วไปไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโจทก์ เมื่อนำมาใช้ประกอบกับคำว่า "CLOUD" จึงไม่ได้เป็นการนำคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมมาใช้อย่างอำเภอใจ แต่กลับเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์โดยภาพรวมจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติว่า ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ในเรื่องนี้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กำหนดหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะว่า สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าหรือบริการอื่น เมื่อการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้นั้นต้องเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นมีความแตกต่างจากบริการอื่นก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างส่งนั้นจึงต้องมีลักษณะเป็นทำนองที่แสดงให้เห็นถึงการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน กรณีจึงไม่อาจนำหลักฐานการโฆษณาเผยแพร่หลังจากวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการมาพิจารณาประกอบความมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้สำหรับคำขอจดทะเบียนคดีนี้ ประกอบกับในเอกสารโฆษณาบางส่วนก็เป็นการโฆษณาเครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ประกอบคำว่า WD แตกต่างจากเครื่องหมายบริการที่ขอจดทะเบียน เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์จึงไม่เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับบริการที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการของโจทก์แตกต่างไปจากบริการของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันเกิดจากการใช้จนแพร่หลายตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสาม (เดิม)
เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าคำว่า "CLOUD" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง การที่โจทก์นำคำดังกล่าวมาประกอบกับคำว่า "MY" ในลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดา แยกส่วนออกได้เป็นสองคำ โดยที่คำว่า "MY" มีความหมายว่า ของฉัน ซึ่งเป็นความหมายโดยทั่วไปไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโจทก์ เมื่อนำมาใช้ประกอบกับคำว่า "CLOUD" จึงไม่ได้เป็นการนำคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมมาใช้อย่างอำเภอใจ แต่กลับเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์โดยภาพรวมจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติว่า ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ในเรื่องนี้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กำหนดหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะว่า สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าหรือบริการอื่น เมื่อการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้นั้นต้องเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นมีความแตกต่างจากบริการอื่นก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างส่งนั้นจึงต้องมีลักษณะเป็นทำนองที่แสดงให้เห็นถึงการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน กรณีจึงไม่อาจนำหลักฐานการโฆษณาเผยแพร่หลังจากวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการมาพิจารณาประกอบความมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้สำหรับคำขอจดทะเบียนคดีนี้ ประกอบกับในเอกสารโฆษณาบางส่วนก็เป็นการโฆษณาเครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ประกอบคำว่า WD แตกต่างจากเครื่องหมายบริการที่ขอจดทะเบียน เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์จึงไม่เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับบริการที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการของโจทก์แตกต่างไปจากบริการของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันเกิดจากการใช้จนแพร่หลายตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสาม (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: รายละเอียดประกาศผู้อำนวยการทางหลวงไม่เป็นสาระสำคัญ
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้ว่าจะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ศาลฎีกาจึงต้องรับวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติแต่เพียงว่าคำฟ้องต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงจะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงหรือไม่ มิใช่สาระสำคัญแห่งการกระทำผิดของจำเลย จึงเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า "อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 อธิบดีกรมทางหลวงในฐานะผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทานได้ออกประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย เดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 2) ..." อันมีความหมายอยู่ในตัวว่า ประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงข้างต้นได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้ออกประกาศฉบับดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงมีรายละเอียดครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ทุกประการและเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติแต่เพียงว่าคำฟ้องต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงจะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงหรือไม่ มิใช่สาระสำคัญแห่งการกระทำผิดของจำเลย จึงเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า "อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 อธิบดีกรมทางหลวงในฐานะผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทานได้ออกประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย เดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 2) ..." อันมีความหมายอยู่ในตัวว่า ประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงข้างต้นได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้ออกประกาศฉบับดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงมีรายละเอียดครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ทุกประการและเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7272/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทายาทนอกกฎหมาย: หลักฐานรับรองการเป็นบุตรและการหักล้างข้อสันนิษฐานทางทะเบียนราษฎร
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู และส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร
หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์
หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ามนุษย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
ตามพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงยินยอมเปลี่ยนลักษณะงานจากการทำงานคัดแยกปลาและตัดหัวปลาในแพปลามาเป็นการทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมง แม้ถูกไต้ก๋งเรือบางคนบังคับขู่เข็ญให้ทำงานก็เป็นลักษณะนิสัยใจคอของไต้ก๋งเรือแต่ละคน ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดถูกบังคับขู่เข็ญให้ทำงาน และเป็นเรื่องปกติที่เรือประมงซึ่งไปหาปลานอกน่านน้ำไทยต้องล่องทะเลหาปลาเป็นเวลานานจึงจะกลับเข้าฝั่ง และการที่ไต้ก๋งเรือเก็บหนังสือเดินทางของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไว้เพื่อความสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างเดินทางก็เป็นวิธีปฏิบัติที่เรือประมงโดยทั่วไปกระทำกัน มิใช่เพื่อป้องกันมิให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดหลบหนี ส่วนค่าจ้างโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงให้ น. และ ก. รับเงินค่าจ้างแทนเพื่อนำไปส่งให้แก่ครอบครัวของแต่ละคนที่ประเทศกัมพูชาแล้วถ่ายรูปส่งให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดดูระหว่างที่ทำงานอยู่บนเรือประมง โดยมีการนำเงินค่าจ้างส่งให้จริง และหลังเกิดเหตุตัวแทนของ ค. เจ้าของเรือประมงได้จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดแล้ว เพียงแต่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดยังโต้แย้งว่ามีค่าแรงในการทำงานวันหยุดและค่าแรงการทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเพิ่มอีก จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดและเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการบังคับใช้แรงงานโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีอาญาจำเลยที่ 3 ที่ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา และสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อปรากฏว่าในคดีส่วนอาญา จำเลยที่ 3 ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ 3 ย่อมระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้จำหน่ายคดีของจำเลยที่ 3 ออกเสียจากสารบบความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 3 ออกเสียจากสารบบความ ส่วนที่โจทก์ขอให้มีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งโดยพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เมื่อสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเป็นสิทธิของผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายในมูลหนี้ละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดอาญาให้สามารถยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแทนผู้เสียหายหรือโจทก์ร่วมได้ จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาในส่วนแพ่งว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิด ให้ยกฟ้องและยกคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าว ย่อมถือว่าโจทก์ร่วมที่ 1 พอใจในคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวแล้ว โจทก์จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีส่วนแพ่งแทนโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อบรรเทาโทษทางอาญา ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงิน แม้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยวางเงินโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายต่อศาล ย่อมมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้พยายามบรรเทาความเสียหายอันเป็นผลที่เกิดจากจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้เสียหาย เพื่อประกอบดุลพินิจของศาลในการพิพากษาลงโทษจำเลยในสถานเบาด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้นำเรื่องการวางเงินของจำเลยดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้แก่จำเลย ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปนั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินออกไปหากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินดังกล่าวไปทันทีหลังจากที่จำเลยนำมาวางเพราะผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าอยู่ มิได้หมายความว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะรับเงินดังกล่าว
ส่วนการที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า พฤติการณ์ของผู้เสียหายเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 30 และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 44/1 ก็เป็นกรณีที่ศาลได้พิพากษาในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญา หาได้เกี่ยวกับการวางเงินเพื่อบรรเทาผลร้ายและชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยให้แก่ผู้เสียหาย อันเป็นเรื่องค่าสินไหมทดแทนความรับผิดในทางละเมิดไม่ ผู้เสียหายจึงมีสิทธิรับเงินดังกล่าว
ส่วนการที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า พฤติการณ์ของผู้เสียหายเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 30 และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 44/1 ก็เป็นกรณีที่ศาลได้พิพากษาในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญา หาได้เกี่ยวกับการวางเงินเพื่อบรรเทาผลร้ายและชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยให้แก่ผู้เสียหาย อันเป็นเรื่องค่าสินไหมทดแทนความรับผิดในทางละเมิดไม่ ผู้เสียหายจึงมีสิทธิรับเงินดังกล่าว