คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 904

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีการโอนโดยฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส. โดยไม่มีมูลหนี้แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของส. จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส. ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไรคำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้ทรงคนก่อนได้
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนเว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบ มาตรา 989 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ ส. เพื่อค้ำประกันโดยไม่มีมูลหนี้ จำเลยชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ ส.แล้วแต่ส.ใช้อุบายชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คด้วยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี และไม่จำต้องสืบพยาน เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีมูลหนี้ระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้ทรงก่อน หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรง มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส.โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส.ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส.ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของ ส.จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส.ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คค้ำประกันหนี้: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์โดยตรง
จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยออกเช็คค้ำประกันหนี้เงินยืมจากบริษัท ส. จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยคบคิดกับบริษัท ส. ฉ้อฉลจำเลย จึงมิใช่ข้อต่อสู้ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้ถือเช็ค ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คมาโดยสุจริตและเป็นผู้ทรงโดยชอบ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การสลักหลังไม่ขาดสาย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการนำสืบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตั๋วเสีย ทั้งมีการสลักหลังไม่ขาดสาย โจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็ค จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ให้การว่า โจทก์มิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใด จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
จำเลยให้การว่า มิได้สลักหลังเช็คพิพาท แต่กลับนำสืบว่า จำเลยสลักหลังเช็คเพียงเพื่อแสดงว่าเช็คพิพาทผ่านห้างหุ้นส่วนมา มิใช่สลักหลังเพื่อรับผิดนั้น จึงเป็นการสืบนอกเหนือและขัดกับคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสลักหลังต่อเนื่องและการครอบครองเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตั๋วเสีย ทั้งมีการสลักหลังไม่ขาดสาย โจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็ค จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมิได้ให้การว่า โจทก์มิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใด จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ จำเลยให้การว่า มิได้สลักหลังเช็คพิพาท แต่กลับนำสืบว่าจำเลยสลักหลังเช็คเพียงเพื่อแสดงว่าเช็คพิพาทผ่านห้างหุ้นส่วนมามิใช่สลักหลังเพื่อรับผิดนั้น จึงเป็นการสืบนอกเหนือและขัดกับคำให้การ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ สลักหลังไม่ขาดสาย โจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้ออ้างเรื่องหุ้นส่วน
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตั๋วเงินเสียตามมาตรา 1008 ทั้งมีการสลักหลังไม่ขาดสายโจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็ค จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย เช็คไม่มีมูลหนี้ และพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือแล้วมอบให้ ว.เป็นการชั่วคราวตามคำขอร้อง ของ ก. มารดาจำเลย ต่อมา ก.ได้ออกเช็คของ ก. มอบให้ ว.แทนเช็คพิพาทและว. นำเช็คฉบับหลังขึ้นเงินได้แล้วแต่ไม่คืนเช็คพิพาทให้จำเลย จำเลยไม่ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ไม่เคยได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโจทก์เพียงแต่มีภาพถ่ายเช็คพิพาทไว้เท่านั้น ดังนี้ โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค – การลงวันที่เช็คหลังขาดอายุความ – ผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยร่วม
โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ พร้อมทั้งแนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมาด้วย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงว่าเป็นหนี้ค่าอะไร เมื่อใด หรือร่วมกันออกเช็คอย่างไรตามที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค-การลงวันที่เช็ค-การรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วน
โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ พร้อมทั้งแนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมาด้วย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงว่าเป็นหนี้ค่าอะไร เมื่อใด หรือร่วมกันออกเช็คอย่างไรตามที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
of 30