คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 904

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องทุกข์ของผู้รับเช็คลดชั้น กรณีไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม ป.ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคาร และธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาท จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา121 วรรคสอง และมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดเช็ค: ต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือผู้เสียหายโดยตรง จึงมีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดี
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้วได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมป. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารและธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทจึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 121 วรรคสอง และมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การออกเช็ค การลงวันที่ การระบุชื่อผู้รับ และการสลักหลัง
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ การลงวันออกเช็ค และผลของการสลักหลังในฐานะอาวัล
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ไว้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ. เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกแม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกัน หรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียน ข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานได้ ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตได้รับการคุ้มครอง
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และอ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ. ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยอาจให้ อ. เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวอ. มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยติดประชุม โดยตัวจำเลยก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยาน แล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคารก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะว. เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบ แสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยาน มาให้พร้อมมิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจาก จำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมา ในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ. ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพา ต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยอาจให้ทนายคนอื่น ซักถามพยานแทนได้แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์ คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลย นั้นชอบแล้ว โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์ แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ประกอบกับ มาตรา 904 จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกัน ฉ้อฉลกับผู้มีชื่อดังที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลย มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และ อ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ.ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยที่ 1 อาจให้ อ.เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว อ.มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 1 ติดประชุม โดยตัวจำเลยที่ 1ก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยานแล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคาร ก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะ ว.เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบแสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจากจำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมาในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ.ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพาต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยที่ 1 อาจให้ทนายคนอื่นซักถามพยานแทนได้ แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว
โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อาวัล โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ประกอบกับมาตรา 904 เมื่อจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้อง & ผู้ลงลายมือชื่อโดยไม่ระบุตัวแทนต้องรับผิด
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ ผู้ทรงคนเดิม มีสิทธิโอนต่อให้บุคคลอื่นได้และย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการส่งมอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918ประกอบมาตรา 989 เมื่อโจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทโดยการส่งมอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ครอบครองเช็คในฐานเป็นผู้รับเงินโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบตามมาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทได้ เช็คพิพาทนั้นไม่ปรากฏข้อความในเช็คว่าจำเลยที่ 2ได้เขียนระบุว่าได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย แม้จำเลยที่ 2 ประทับตราของจำเลยที่ 1ในเช็คพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ได้กรณีจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทโดยมิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 901

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันเมื่อเจ้าของรถจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย การไม่จดทะเบียนทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้นเมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ที่จำเลยอ้างว่า ได้นำรถไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จึงมีเหตุผลสนับสนุนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลยโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยาย โดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย ปรากฎว่าจำเลยออกเช็คพิพาท 9 ฉบับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ทรงเช็ค: การกระทำแทนตัวการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงเช็คและผู้สั่งจ่าย
จำเลยมาขอกู้ยืมเงินจาก ส. แต่ ส. ไม่มีเงินสดพอจึงได้ติดต่อขอให้โจทก์ยินยอมให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เมื่อโจทก์ตกลงให้กู้จึงได้นำเงินมามอบให้แก่ ส. เพื่อส่งมอบให้จำเลย ซึ่งจำเลยได้รับเงินไปจาก ส. และมอบเช็คพิพาทให้ ส. ไปเป็นเช็คเงินสดหรือผู้ถือที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่าย การที่ ส. ส่งมอบเงินให้จำเลยและรับเช็คพิพาทจากจำเลยไว้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์ในฐานะตัวการ เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ ส. นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของโจทก์ แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คและมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคืนเงิน, การไล่เบี้ย, อายุความ, การสลักหลัง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
of 30