พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ การรับฟังพยานหลักฐาน และการรอการลงโทษ
ในคดีอาญา กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานเท่านั้น ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่อย่างใดเพียงแต่ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังว่าคำซัดทอดนั้นมิได้เกิดจากเจตนาเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้ประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ด้วย ในชั้นสอบสวน ไม่มีการกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาแก่ อ. ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่า อ. ทราบดีว่าที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติถือได้ว่า อ. เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย เกิดจากความเข้าใจของจำเลยมิได้เกิดจากการสอบสวน อ. จึงมิใช่ผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดในคดีนี้ คำเบิกความของ อ. ไม่ถือเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิด
ขณะเกิดเหตุ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย จึงมีสภาพเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(1) การที่จำเลยได้ว่าจ้าง ส. นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันดินในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันก่นสร้างแผ้วถาง อันเป็นการทำลายป่าและยึดถือครอบครองป่าและยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองและผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ได้มีการเพิกถอนเขตป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ขณะเกิดเหตุ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย จึงมีสภาพเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(1) การที่จำเลยได้ว่าจ้าง ส. นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันดินในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันก่นสร้างแผ้วถาง อันเป็นการทำลายป่าและยึดถือครอบครองป่าและยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองและผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ได้มีการเพิกถอนเขตป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทบัญญัติศุลกากรที่ถูกต้อง และการแก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินบนรางวัล
การที่จำเลยที่ 2 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางจากผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยยังมิได้เสียค่าภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ อันเป็นความผิดสำเร็จในตัวอยู่แล้วต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 กับพวกนำเลื่อยยนต์ของกลางไปบุกรุกแผ้วถางป่าโดยมิได้รับอนุญาตย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง,74,74 ทวิ อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 66,768 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา 27 ทวิ เป็นการปรับเป็นเงิน 4 เท่า โดยรวมค่าอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเจ็ดเข้าไปด้วยซึ่งไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น หมายถึง ค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยแก้เป็นปรับ 63,128 บาท