พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงเครื่องชั่งเพื่อโกงน้ำหนัก และการใช้เครื่องชั่งที่ผิดกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าซื้อขายข้าวเปลือกต้องรู้เรื่องเครื่องชั่งเป็นอย่างดีการที่จำเลยนำเครื่องชั่งของกลางไปซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขดัดแปลงโดยถอดนอตเดิมออกแล้วใช้นอตอื่นใส่แทนในลักษณะหลวมเป็นผลให้ผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เครื่องชั่งแสดง เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาดัดแปลงแก้ไขเครื่องชั่งของกลางเพื่อเอาเปรียบในทางการค้า
ระหว่างการพิจารณาของศาลมี พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดพ.ศ. 2542 ใช้บังคับให้ยกเลิก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด เดิมทุกฉบับตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และการใช้เครื่องชั่งโดยรู้ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยนไว้ในมาตรา 76 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสองตามลำดับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องไว้ แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มิได้บัญญัติความผิดในการมีเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดดังกล่าวให้เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31เท่านั้น ดังนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542จะบัญญัติให้การมีเครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงเป็นความผิดตามมาตรา 76 ก็ตามก็ไม่อาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466มาตรา 31 นั้น ได้มีพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 บัญญัติความผิดฐานมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามมาตรา 31 จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ระหว่างการพิจารณาของศาลมี พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดพ.ศ. 2542 ใช้บังคับให้ยกเลิก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด เดิมทุกฉบับตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และการใช้เครื่องชั่งโดยรู้ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยนไว้ในมาตรา 76 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสองตามลำดับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องไว้ แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มิได้บัญญัติความผิดในการมีเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดดังกล่าวให้เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31เท่านั้น ดังนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542จะบัญญัติให้การมีเครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงเป็นความผิดตามมาตรา 76 ก็ตามก็ไม่อาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466มาตรา 31 นั้น ได้มีพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 บัญญัติความผิดฐานมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามมาตรา 31 จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความสุจริต vs. ใส่ความทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษา
ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทกำหนดโทษโดยอนุโลมจากกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในคดีเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่าการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมนั่นก็คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมซึ่งต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4)ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมหาได้ไม่ฉะนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคแรก