พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยรู้ถึงหนี้สินเดิมของผู้ขาย เป็นการเสียเปรียบเจ้าหนี้เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินที่จำเลยกู้ไปจาก ผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนอง ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้อง จึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนองที่ดินโดยรู้อยู่ว่าทำให้เจ้าหนี้เดิมเสียเปรียบ ไม่อาจเรียกร้องสิทธิได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินที่จำเลยกู้ไปจากผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนองระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตาม ป.พ.พ.มาตรา237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินเนื่องจากฉ้อฉล แม้ไม่ได้ยกประเด็นในชั้นชี้สองสถาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีก่อน จำเลยทั้งสองและทายาทของ จ.นางแจ่มได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยการสมยอม ทำให้ที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงและโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษา เป็นการฉ้อฉลโจทก์ และโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4445 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534ระหว่างจำเลยทั้งสอง กับให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดพิพาทเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หรือให้ลบชื่อจำเลยที่ 2 ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 มาด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการฉ้อฉลโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 ด้วยได้แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดตามคำขอดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การโดยตรง มิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น และกรณีหาใช่โจทก์สละประเด็นข้อพิพาทในกรณีตามคำขอส่วนนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการจดทะเบียน และความรับผิดของนายหน้าและผู้ซื้อ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ. กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉลและการหลอกลวง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ.กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การปกปิดเจตนาโกงและการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์ มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝาก ที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรมถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา 456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456 ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่าง จำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริตเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิ, การบอกล้าง/สัตยาบัน, และความรับผิดของคู่กรณี
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่านาในการซื้อที่ดินก่อนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการบังคับคดีตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นนา จำเลยที่ 2 ที่ 3 เช่าที่ดินพิพาททำนาสิทธิหน้าที่ของผู้เช่านาและผู้ให้เช่านาจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ กล่าวคือ ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวัน และถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้ และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้เช่านาโดยเฉพาะ โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่านาซื้อนาที่จะขายได้ก่อนบุคคลอื่นคดีนี้จำเลยที่ 1 ให้เช่าที่ดินพิพาททำนาได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททราบเพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่ 3ใช้สิทธิซื้อก่อนตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ย่อมมีสิทธิแสดงความจำนงขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ได้ก่อนโจทก์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 และเมื่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 หากจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนมติจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวได้ และเมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 1ไม่ไปจดทะเบียนโอนก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนา เช่นนี้จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้สิทธิตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ดำเนินการบังคับคดีโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตน ตลอดจนจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยทั้งสี่รู้อยู่ก่อนแล้วว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม ก็เป็นการกระทำไปตามสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และถึงหากว่าที่ดินพิพาทจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วโดยมิได้แจ้งการขายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบก่อนก็ตาม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ยังคงมีสิทธิซื้อคืนจากโจทก์ได้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 54 สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงดีกว่าสิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่ถือว่ากระทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่อย่างใด ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำการฉ้อฉลโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ เหนือกว่าสัญญาซื้อขายที่ไม่แจ้งสิทธิซื้อก่อน
ที่ดินพิพาทเป็นนา จำเลยที่ 2 ที่ 3 เช่าที่ดินพิพาททำนาสิทธิหน้าที่ของผู้เช่านาและผู้ให้เช่านาจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ กล่าวคือ ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้ และมาตรา 54 วรรคหนึ่งถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้เช่านา โดยเฉพาะ โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่านาซื้อนาที่จะขายได้ก่อนบุคคลอื่น คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้เช่าที่ดินพิพาททำนาได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททราบเพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้สิทธิซื้อก่อนตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ย่อมมีสิทธิแสดงความจำนงขอซื้อที่ดิน พิพาทจากจำเลยที่ 1 ได้ก่อนโจทก์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 และเมื่อ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล มีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติของ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 หากจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืน มติจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามมติ ของคณะกรรมการดังกล่าวได้ และเมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนโอนก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการ แสดงเจตนา เช่นนี้จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้สิทธิตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม บทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ดำเนินการบังคับคดีโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตน ตลอดจน จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยทั้งสี่ รู้อยู่ก่อนแล้วว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม ก็เป็นการกระทำไปตามสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และถึงหาก ว่าที่ดินพิพาทจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วโดยมิได้แจ้ง การขายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบก่อนก็ตาม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ยังคงมีสิทธิซื้อคืนจากโจทก์ได้ตามขั้นตอนและวิธีการ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 54 สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงดีกว่า สิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่ถือว่ากระทำให้โจทก์ เสียเปรียบแต่อย่างใด ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกัน กระทำการฉ้อฉลโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินเป็นภาระจำยอม ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกเป็นที่ดินอีกโฉนดหนึ่งเนื้อที่ 18 ตารางวาและจดทะเบียนภารจำยอมเป็นทางเดินให้แก่ที่ดินแปลงอื่น เมื่อทางภารจำยอมที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกไปจากที่ดินซึ่งโจทก์ทำสัญญาจะซื้อเป็นทางภารจำยอมที่มีมาแต่เดิม การแบ่งแยกทางภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องโอนขายแก่โจทก์ จึงมิใช่การฉ้อฉลโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อจะขายที่มีการวางมัดจำเป็นการชำระหนี้บางส่วน การฟ้องร้องบังคับตามสัญญาไม่จำต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐาน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้นำเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ศาลจึงสามารถรับฟังคำพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงขอให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยไม่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมแล้วศาลจึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์