คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระงับ ทายาทไม่มีสิทธิในสัญญาเช่าเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2ต่างเป็นทายาทของ อ.เจ้ามรดกก่อนอ.ถึงแก่กรรมได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 แล้วมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ ปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำประโยชน์โดยโจทก์ทำสวนผลไม้ตลอดมาหลังจาก อ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปขอเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าฉบับพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยมิชอบฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ สมคบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงความยุติธรรมที่โจทก์จะพึงได้รับขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทดังกล่าว แต่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 มีข้อความว่าอย่างใด โจทก์มิได้ระบุไว้ให้ชัด เป็นเพียงกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีปฏิเสธว่าการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำโดยสุจริต มิได้สมคบกับฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี อ. บิดาโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรม เมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 3 และ อ. ย่อมเป็นอันระงับไป ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิที่จะพิจารณาให้ ผู้ใดเช่าที่ดินพิพาทต่อไปก็ได้ ไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป เมื่อการเช่าของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการขอเช่าส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของ อ.ผู้ตาย ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นอยู่ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ อ.ที่จะฟ้องแย้งบังคับให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าระงับเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ทายาทไม่มีสิทธิในสัญญาเช่าเดิม ผู้ให้เช่ามีสิทธิทำสัญญาใหม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเป็นทายาทของ อ.เจ้ามรดก ก่อน อ.ถึงแก่กรรมได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 แล้วมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำประโยชน์โดยโจทก์ทำสวนผลไม้ตลอดมาหลังจาก อ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของอ.ตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปขอเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าฉบับพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยมิชอบฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ สมคบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงความยุติธรรมที่โจทก์จะพึงได้รับ ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทดังกล่าว แต่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 มีข้อความว่าอย่างใดโจทก์มิได้ระบุไว้ให้ชัด เป็นเพียงกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีปฏิเสธว่า การทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยสุจริต มิได้สมคบกันฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี
อ.บิดาโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3ถึงแก่กรรม เมื่อสิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว และเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 3 และ อ.ย่อมเป็นอันระงับไป ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิที่จะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าที่ดินพิพาทต่อไปก็ได้ ไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จะต้องให้โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไป เมื่อการเช่าของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นการขอเช่าส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของ อ.ผู้ตาย ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอยู่ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ อ.ที่จะฟ้องบังคับให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้ แม้มีคำพิพากษาตามยอม
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเรือพิพาท แต่จำเลยที่ 1 กลับตกลงโอนเรือดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งของตนไป โดยจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ นิติกรรมการโอนเรือพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ อันเป็นการฉ้อฉลซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนได้
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเรือระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพราะมิใช่เป็นการฟ้องขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีที่พิพาทกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลดังกล่าวไม่ผูกพัน และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลในอีกคดีหนึ่ง
ระยะเวลาจากวันที่จำเลยที่ 2 รับโอนเรือและโจทก์ทราบเรื่องจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเรือพิพาท แต่จำเลยที่ 1 กลับตกลงโอนเรือดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งของตนไป โดยจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ นิติกรรมการโอนเรือพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ อันเป็นการฉ้อฉลซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนได้
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเรือระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพราะมิใช่เป็นการฟ้องขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีที่พิพาทกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลดังกล่าวไม่ผูกพัน และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลในอีกคดีหนึ่ง
ระยะเวลาจากวันที่จำเลยที่ 2 รับโอนเรือและโจทก์ทราบเรื่องจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในสมรสและสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต: การบอกล้างสัญญาและการคุ้มครองสิทธิ
ทรัพย์ พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย และพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์ พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอน/จำนองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการโอน/จำนองได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้โอนเดิม
คำฟ้องโจทก์ยืนยันว่า ว.ดำเนินการจำนองแทนโจทก์โอนใส่ชื่อ ว.ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริงที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ได้ให้ ว.ลงลายมือชื่อในเอกสารแล้วจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 2 และการจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้โดยไม่จำต้องฟ้องให้เพิกถอนการโอนระหว่างโจทก์กับว.เข้ามาในคดีนี้ เพราะว.ไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อน: แม้ผลลัพธ์คล้ายกัน แต่หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ด้วยการให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1778 ซึ่งรวมทั้งที่ดินส่วนพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้กลับคืนสู่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนคืนแก่จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้แก่โจทก์อันเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ส่วนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 71 ตารางวา ให้แก่โจทก์แล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้โจทก์พร้อมกับให้จำเลยที่ 1 และบุคคลภายนอกอีก 2 คน ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ถึงแม้คำขอของโจทก์จะมีผลสุดท้ายเป็นอย่างเดียวกัน คือ ขอให้โอนที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ 3 งาน71 ตารางวา เป็นของโจทก์ก็ตาม กรณีก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการซื้อขายฉ้อฉล: สัญญาจะซื้อจะขายก่อนการซื้อขายจริง, เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้แม้ลูกหนี้มีทรัพย์อื่น
บทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิย่อมร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วยและเมื่อวัตถุแห่งหนี้คือบ้านพร้อมที่ดินอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้ แม้ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ ก็ยังทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาและฉ้อฉล โดยโจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนแม้จำเลยมีทรัพย์สินอื่น
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากจำเลยที่ 1 และได้ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งต่อเติมอาคารดังกล่าวด้วย โดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างเสร็จและนัดโจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ แล้ว โจทก์ไม่ไปจด-ทะเบียนรับโอนภายในกำหนดนัด จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้ ดังนี้แม้ว่าภายในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านพิพาทแล้วก็ตาม แต่บ้านที่สร้างเสร็จแล้วนั้นเกิดความเสียหายขึ้นหลายแห่ง เช่น ผนังบ้านและตัวบ้านมีรอยแตกร้าวหลายแห่ง ใส่บานเกล็ดหน้าต่างไม่ครบ ท่อร้อยสายไฟฟ้าแตก ไม่มีแผงไฟฟ้า ยังเดินสายไฟฟ้าไม่เรียบร้อย ยังไม่ได้ติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ผนังบ้านบริเวณท่อส้วมเป็นรู งาน-ทาสียังไม่เรียบร้อย แม้ความเสียหายดังกล่าวแต่ละแห่งจะมิใช่สาระสำคัญของบ้านก็ตาม แต่ความเสียหายดังกล่าวก็มีหลายแห่งจนถือไม่ได้ว่าการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาและนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปขายแก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินระบุว่า ส่วนที่เหลือชำระเมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 จะมีที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ แต่เมื่อก่อสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่ยอมรับโอน
จำเลยที่ 3 เป็นน้องภรรยาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการในนามของจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 3ซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์ดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินโฉนดที่พิพาท เพื่อจดทะเบียนโอนให้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วย
เมื่อวัตถุแห่งหนี้ในคดีนี้คือบ้านพร้อมที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ก็ยังมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
of 57