คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร้องและการบังคับคดี: ศาลพิพากษาตามคำขอได้หากสอดคล้องกับสภาพแห่งหนี้
คำฟ้องของโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ศาลเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารพร้อมที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน14,560,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวรวมถึงราคาพร้อมที่ดินที่ค้างชำระรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คซึ่งเป็นราคาอาคารพร้อมที่ดินที่ค้างชำระตามที่โจทก์ได้กล่าวบรรยายมาในฟ้องแล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่ค้างชำระตามจำนวนที่ระบุในเช็ค ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนหุ้นกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: ข้อจำกัดการบังคับคดี
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิม แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉล อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา237 ก็ตาม แต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ อันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนหุ้นที่ฉ้อฉลกระทบสิทธิบุคคลภายนอก คดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิม แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉล อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237ก็ตาม แต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ อันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนหุ้นโดยฉ้อฉลกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่1เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิมแม้จำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉลอันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ก็ตามแต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอดๆอันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์และการเพิกถอนการฉ้อฉลในชั้นบังคับคดี ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น และถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงการการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้และชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคำร้องขัดทรัพย์และการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีบังคับคดี
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288วรรคแรกและถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้แก่โจทก์แล้วศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้อยู่แล้วฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในชั้นขัดทรัพย์: เพิกถอนการฉ้อฉลเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้นและถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงการการชำระหนี้แก่โจทก์แล้วศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้อยู่แล้วฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้และชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การฟ้องเคลือบคลุม, ประเด็นข้อพิพาท, สัญญาโอนสิทธิ, ความรับผิดทางสัญญา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุให้ อ.มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นคดีนี้เท่านั้น การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 แม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้ามาในคดีเดียวกันและหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 แทนโจทก์ด้วยก็ตาม ก็หามีผลทำให้การมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์ที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปไม่
ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่
ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป
ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อนหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุถึง อ.มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นคดีนี้เท่านั้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2แม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้ามาในคดีเดียวกันและหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 แทนโจทก์ด้วยก็ตาม ก็หามีผลทำให้การมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์ที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปไม่ ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อน หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบ ถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจ กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับโอนยังไม่ถือเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองเป็นเวลานาน
ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกของก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่1ถึงที่3ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วนในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่1ถึงที่3ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วนโดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่าแม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลงที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกก.ผู้ตายและยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกของก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเมื่อวันที่11สิงหาคม2518ต่อมาเมื่อวันที่14ตุลาคม2524โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกกรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่าในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้ร้องที่4ที่5เป็นจำเลยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 57