พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกไม่ชอบด้วยก.ม. ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งให้ทายาท แม้มีการโอนทรัพย์สินแล้ว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาท โจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน ในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน โดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า แม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลง ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดก ก.ผู้ตาย และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินของตนพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ และปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีที่ดินเพียงแปลงเดียวดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้หากผู้ซื้อรู้ถึงหนี้สิน
จำเลยที่2ทราบว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์มาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1โอนขายที่ดินของตนพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่2นั้นจำเลยที่2ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์และปรากฏว่าจำเลยที่1มีที่ดินเพียงแปลงเดียวดังกล่าวจำเลยที่1จึงไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้การกระทำของจำเลยที่1และที่2ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่1และที่2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2เพราะขณะยื่นฟ้องจำเลยที่2อยู่ต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่2โดยจำเลยที่2ไม่ได้มาต่อสู้คดีนี้ศาลจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลและการสะดุดหยุดของอายุความจากการยึดทรัพย์
ว.แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน2534ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้วแต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่1กรกฎาคม2535ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและยังอยู่ภายในกำหนดเวลา1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าวอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุดอายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15วรรคสองดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของจ. โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลคดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลสะดุดหยุดเมื่อยึดทรัพย์ แม้ยังไม่ฟ้องคดี
ว.ผู้แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2534 ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2535 ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล และยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้อง โจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของ จ.โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนรถยนต์ที่จำเลยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะ คำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่า โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนรถยนต์ที่ทำไปโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2โดยไม่สุจริตจำเลยที่1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะคำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่1กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และฉ้อฉลเจ้าหนี้ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ขณะที่จำเลยที่1ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่2เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจำเลยที่1เป็นหนี้ธนาคารอยู่469,828.63บาทในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่2จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารต่ออีกในวงเงิน470,000บาทราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่1มีราคาท้องตลาดไม่ต่ำกว่า600,000บาทเมื่อจำเลยที่1โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่2ในราคา470,000บาทโดยจำเลยที่2ไม่ได้ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่1เพียงแต่จำเลยที่2ชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่างๆเท่านั้นหากจำเลยที่1ไม่โอนขายให้แก่จำเลยที่2โจทก์จะสามารถบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่1โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามที่จำเลยที่1เป็นหนี้อยู่469,828.63บาทเงินส่วนที่เหลือหลังจากชำระหนี้จำนองให้ธนาคารแล้วโจทก์ก็สามารถที่จะรับชำระหนี้จากเงินส่วนที่เหลือนี้ได้แม้จะได้ไม่ครบเต็มจำนวนหนี้ก็ตามการกระทำของจำเลยที่1ถือได้ว่าการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบและจำเลยที่2ได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237