คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเมื่อผู้ซื้อรู้ถึงสัญญาจะซื้อขายก่อนหน้า และประเด็นคำขอหลักต่อเนื่อง
ตามคำฟ้องโจทก์สามารถแยกข้อหาและคำขอบังคับออกได้เป็นสองส่วนส่วนหนึ่งคือจำเลยที่2ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1โดยรู้ว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งคือจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนไปแล้วขอให้บังคับจำเลยที่1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์พร้อมทั้งรับค่าที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นย่อมจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องคดีนี้โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2เมื่อเพิกถอนแล้วจึงให้จำเลยที่1โอนขายให้โจทก์พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือจึงถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลักคำขอให้จำเลยที่1ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเป็นคำขอต่อเนื่องจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่มีทุนทรัพย์ไม่ขัดแย้งกับคดีมีทุนทรัพย์ หากคำขอหลักคือการเพิกถอนนิติกรรม
คำฟ้องโจทก์สามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ จำเลยที่ 2ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง อีกส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่การที่จะวินิจฉัยคำขอในส่วนนี้ต้องวินิจฉัยคำขอในส่วนแรกเพื่อให้ได้ความว่ามีเหตุให้ต้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินหรือไม่ก่อน และในกรณีที่เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องซึ่งต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินเป็นคำขอหลักจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการตายของสามี และการโอนมรดกโดยไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป.และ น.อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป.และ น.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พุทธศักราช2477 เมื่อ น.ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 4 ประกอบพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 4 และเมื่อ ป.สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป.กับ น.ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป.สามีจึงได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วนน.ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น.โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป.ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น.โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.และ น.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป.และ น.มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบทำให้ศาลไม่สามารถบังคับตามคำขอได้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่กรณีที่ทำนิติกรรมการที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความจะทำให้ศาลไม่สามารถพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้เพราะจำเลยที่1เป็นบุคคลนอกคดีเสียแล้วปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง และผลกระทบต่อบุคคลภายนอกคดี
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่1คนหนึ่งรวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้นศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกเสียจากสารบบความมีผลให้จำเลยที่1พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่1ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งหมด ผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองที่ทำต่อหน้าศาล อ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1คนหนึ่งเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าว โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลนอกคดี การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความเพราะจำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำขอของโจทก์ต่อไปได้เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความจากข้อฉ้อฉลและผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 คนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การฉ้อฉล, การผิดสัญญา, ละเมิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อ-ผู้ขาย และความรับผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย20,000บาทแก่โจทก์จำเลยที่3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิได้อุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรกลับฎีกาว่าจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิดซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่3ร่วมกับจำเลยที่2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่1จะขายให้แก่น.ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.เสียเปรียบและจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่4เป็นทนายให้จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วยซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับน. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1แล้วแล้ว200,000บาทคงค้างชำระอีก190,000บาทเมื่อน.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.ชำระค่าที่ดิน290,000บาทและรับโอนที่ดินในวันที่7กรกฎาคม2532หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าวจำเลยที่1ขอบอกเลิกสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของน.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่8มิถุนายน2532แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่20กรกฎาคม2532ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรจะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ290,000บาททั้งๆน.ค้างชำระเพียง190,000บาทโจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาจำเลยที่1ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่1เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่2ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์แต่ขณะทำนิติกรรมนั้นจำเลยที่2มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้และการกระทำของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้นยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการฉ้อฉลและผิดสัญญาซื้อขาย: การกระทำที่มิใช่ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย 20,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิด ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ น. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.เสียเปรียบ และจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่ 4เป็นทนายให้จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกัน ต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้ การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ น. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้ น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 200,000 บาท คงค้างชำระอีก 190,000 บาท เมื่อ น.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ชำระค่าที่ดิน 290,000 บาท และรับโอนที่ดินในวันที่ 7กรกฎาคม 2532 หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขอบอกเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2532 แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2532 ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควร จะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ 290,000 บาท ทั้ง ๆ น.ค้างชำระเพียง 190,000 บาท โจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้ และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่ขณะทำนิติกรรมนั้น จำเลยที่ 2 มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 420 จึงไม่เป็นละเมิด
of 57