คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงกฎหมายธุรกิจเงินทุนโดยใช้ตัวกลางและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทำให้โมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัท ภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แต่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำเงินไปให้บริษัท ภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่ง โดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกัน และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 1 ให้ผู้คัดค้านทั้งแปด แล้วจำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่ 1 ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากผู้คัดค้านทั้งแปด แม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัท ภ.ไม่ได้ เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จำเลยที่ 1 ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 35 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัท ภ.จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ต่อผู้คัดค้านที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใด ๆให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอน และต้องถือว่าบริษัท ภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่ 1 หาใช่เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำ
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสอง ทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่เพราะกลฉ้อฉล และสิทธิในการเรียกเงินมัดจำคืน
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสองทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอนโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลในการซื้อขายฝากที่ดินมรดก และการกำจัดทายาทออกจากกองมรดก
จำเลยที่2รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของบ. โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกที่ยังมิได้แบ่งแก่โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทของบ. อันเป็นการรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริตเป็นการทำให้โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งหกโจทก์ทั้งหกชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของบ.อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือย.ซึ่งไม่เป็นความจริงความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก3คนคือด.จ.และย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียวไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาทโดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่นการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดกจำเลยที่1จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของบ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605 จำเลยที่1เป็นผู้ปิดบังและและยักย้ายทรัพย์มรดกจำเลยที่1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหกสำหรับจำเลยที่2นั้นไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาทจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลและยักย้ายทรัพย์มรดก ทำให้การซื้อฝากเป็นโมฆะ และตัดสิทธิการยกอายุความ
จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ บ. โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกที่ยังมิได้แบ่งแก่โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทของ บ. อันเป็นการรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริต เป็นการทำให้โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือ ย. ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ด. จ. และ ย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว ไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาท โดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหก สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดิน สมรู้ร่วมคิดหลีกเลี่ยงสัญญาเดิม และขอบเขตความรับผิดชอบค่าเสียหาย
โจทก์มิใช่บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หากแต่ได้บรรยายด้วยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ครั้นถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนขายให้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 คำฟ้องดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกันโดยตลอดแล้วมีความหมายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้ร่วมคิดกันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันขึ้นโดยไม่เป็นความจริง เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ข้อความตามคำฟ้องดังกล่าวชัดพอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีได้แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว.และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว.จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์
เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 วรรคสองเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายโมฆะจากเจตนาหลอกลวง จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาและเงินมัดจำ
โจทก์มิใช่บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หากแต่ได้บรรยายด้วยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครั้นถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนขายให้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 คำฟ้องดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกันโดยตลอดแล้วมีความหมายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้ร่วมคิดกันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันขึ้นโดยไม่เป็นความจริงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยที่ 1ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ข้อความตามคำฟ้องดังกล่าวชัดพอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีได้แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว. และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว. จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6170/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้จำเลยที่ 1 จัดแบ่งที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อและโอนให้โจทก์ แต่ตามคำฟ้องปรากฏว่า จำเลยที่ 1 มิใช่คู่สัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องให้เพิกถอนการโอนยกให้ที่ดินพิพาทระหว่าง จ. ผู้ให้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 1และขอให้ จ.ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อมาด้วย จำเลยทั้งสามต่างไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องเขตอำนาจศาลและการฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้อง ณ ศาลแพ่ง อันเป็นศาลที่โจทก์จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจึงเป็นอันผูกพันโจทก์จะต้องเสนอคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่ง โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรานอกเหนือไปจากข้อตกลงไม่ได้
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นหนี้เหนือบุคคลต้องฟ้องยังศาลที่จำเลยคนใดคนหนึ่งมีภูมิลำเนา เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยทั้งสองยังศาลแพ่ง จะเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราไม่ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อและผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต
จำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่จำเลยที่2มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่2เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการจำเลยที่1หาอาจทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่3ที่มีต่อจำเลยที่2และขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่2เป็นตัวแทนไม่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่1จึงขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่2และที่3และบังคับให้จำเลยที่1และที่2ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ได้
of 57