พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยไม่สุจริตของกรรมการบริษัทที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและเพิกถอนสัญญาเช่าได้
จำเลยที่ 1 ขณะเป็นกรรมการของบริษัท ส. ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานที่พิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. โดยมีข้อตกลงว่าระหว่างอายุสัญญาจำนอง จำเลยที่ 1จะไม่นำทรัพย์จำนองไปทำให้เสื่อมสิทธิใด ๆ รวมทั้งให้บุคคลอื่นเช่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังให้บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการอยู่ด้วยเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยทำสัญญาเช่ากันเพียงอาคารโรงงานเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน แต่ความจริงเป็นการเช่าทั้งที่ดินและอาคารโรงงานที่พิพาทการทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาท จึงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจำนองและเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยจดทะเบียนการเช่าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอไว้มีกำหนด 20 ปี ย่อมทำให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์จำนองอันไม่อาจนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ และทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าดังกล่าวทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โดยขณะที่ทำนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้นได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นและที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน ความรับผิดของกรรมการบริษัท และอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ถึงที่4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่1เพื่อช่วยให้จำเลยที่1ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์แม้จำเลยทั้งสี่ต่างเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของตนและสัญญาโอนหุ้นและที่ดินเป็นคนละฉบับก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้นถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามป.วิ.พ.มาตรา59วรรคหนึ่ง แม้คดีจะอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งโดยศาลแพ่งไม่เคยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ได้แต่ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีนี้ทั้งรับคำให้การจำเลยและสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5) เมื่อจำเลยที่1ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากโจทก์และไม่ชำระภายในกำหนดถือว่าเป็นภาษีอากรค้างแม้จำเลยที่1จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินต่อศาลก็ตามการอุทธรณ์และการฟ้องก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดจึงตกอยู่ในฐานะลูกหนี้ของโจทก์ตามจำนวนที่แจ้งการประเมินไปเมื่อจำเลยที่1ได้โอนหุ้นและที่ดินไปหลังจากได้รับแจ้งการประเมินแล้วโดยไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเหลือพอจะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำนิติกรรมโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบและการที่จำเลยทั้งสี่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันทั้งยังเป็นบริษัทในเครือเดียวกันย่อมจะต้องรู้ถึงการทำนิติกรรมอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบด้วย โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรมมีอธิบดีเป็นผู้แทนและมีอำนาจฟ้องคดีแทนแม้นาย ส. และนาย พ. เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องก่อนฟ้องเกิน1ปีแต่บุคคลทั้งสองก็ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดีจึงยังไม่เริ่มนับอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน: จำเลยที่ 2 ต้องรู้ข้อตกลงสิทธิซื้อก่อนของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าขณะที่ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2นั้นจำเลยที่2ได้รู้อยู่ก่อนแล้วว่ามีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ที่ให้โอกาสโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทได้ก่อนบุคคลอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องจึงยังไม่อาจเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อก่อนตามสัญญาเช่า & การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเมื่อผู้ซื้อไม่ทราบข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1เพื่อทำสวน โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ประสงค์จะขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1ต้องบอกโจทก์ก่อน เพื่อโจทก์จะได้มีโอกาสซื้อเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร แต่ในระหว่างสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 ในการทำสัญญาขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันหลอกลวงแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน ไม่มีค้างชำระภาษีไม่มีผู้เช่า เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์ไม่มีโอกาสซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าขณะที่ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้รู้อยู่ก่อนแล้วว่ามีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ให้โอกาสโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทได้ก่อนบุคคลอื่นและจำเลยที่ 2รู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวด้วย ดังนี้ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องยังไม่อาจเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองตามคำขอบังคับของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังปฏิรูปที่ดิน: สิทธิของผู้เช่าและผลกระทบของนิติกรรม
ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 32 กำหนดไว้ชัดว่า เมื่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดซื้อที่ดินแล้ว สิทธิของผู้เช่าที่ดินตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาต้องสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นผลของกฎหมาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้เช่าจะเป็นใครหรือเช่าอยู่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ ท.ผู้ตายบุตรของจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ก็ถือว่าสัญญาเช่าที่ดินที่มีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 และ ท.กับจำเลยที่ 3 ได้สิ้นสุดลง จำเลยที่ 1และ ท.ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ผู้เช่าซื้อที่ดินก่อน หรือและไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องทราบก่อนว่าจะมีการซื้อขายที่ดินกันหรือไม่ ส่วน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เป็นกฎหมายที่บัญญัติสืบเนื่องมาจากพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ซึ่งถูกยกเลิกไป เหตุที่ต้องแก้ไขยกเลิกก็เพราะ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มีรายละเอียดไม่เหมาะสมและแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หาได้แก้ไขให้มีผลกระทบถึงพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ไม่ ผู้เช่าย่อมอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิรูปตามมาตรา 32 นี้ด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มายันโจทก์ผู้จะซื้อได้ และจำเลยที่ 2ผู้รับมรดกของ ท.ซึ่งต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายด้วย จึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ยกที่ดินดังกล่าวอันเป็นมรดกของ ท.ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 237,238 ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมตามฟ้องโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ให้กับจำเลยที่ 1 ผู้รับให้ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ประกอบด้วยมาตรา 238 และโจทก์ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 237,238 ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมตามฟ้องโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ให้กับจำเลยที่ 1 ผู้รับให้ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ประกอบด้วยมาตรา 238 และโจทก์ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยร่วมกระทบสิทธิของจำเลยอีกคน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาเพิกถนนิติกรรมได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการเช่าตึกแถวระหว่างจำเลยที่1ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่2ผู้เช่าและขับไล่จำเลยที่2ออกจากตึกแถวแต่เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีจำเลยที่1ออกจากสารบบความแล้วผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยกรณีหากมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่าย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่1อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดีศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าเสียหายระหว่างบังคับคดี ไม่ถือเป็นการยอมรับว่าไม่มีการฉ้อฉล
การที่โจทก์รับเงินที่จำเลยที่1วางเป็นค่าเสียหายที่ต้องชดใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นบังคับคดีเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้นหาใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยทั้งสองมิได้ฉ้อฉลโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องและไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาละเลยไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1เป็นบุคคลล้มละลายแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่1เมื่อวันที่11กันยายน2532เพราะหนี้สินของจำเลยที่1ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงโจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่1ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติบังคับไว้แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้สิทธิในการรับชำระหนี้สิ้นสุดลง แม้ไม่ทราบการฟ้องล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย-ที่ 1 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2532 เพราะหนี้สินของจำเลยที่ 1 ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา 135 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวง โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผย และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 บัญญัติบังคับไว้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีส่วนรับผิดในหนี้สินของสามี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำต่อบุคคลภายนอกได้ถ้าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่1เป็นเพียงภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของ พ.ลูกหนี้จำเลยที่1จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของ พ.เพราะไม่ใช่หนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490จำเลยที่1ไม่ใช่ลูกหนี้ของโจทก์อันโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2