พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อออกจากโฉนดที่ดิน: สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน & อายุความ
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้นคดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลงแต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วยและขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนดจึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน, อายุความ, และผลผูกพันคำพิพากษา
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามป.พ.พ. มาตรา 1562 อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการี คำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก ที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้น คดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วย และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนด จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วย และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนด จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินจากการหย่าและการโอนสิทธิในที่ดินหลังการหย่า ไม่ถือเป็นการฉ้อฉลหรือทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่1ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1532และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้จึงเป็นเอกสารมหาชนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงรับฟังได้ว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วที่พิพาทจึงตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าการที่จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ในภายหลังมีผลเป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงหาใช่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินอันจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบและขอเพิกถอนตามมาตรา237ไม่แม้จำเลยที่1ที่3มิได้ฎีกาแต่เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้จำเลยที่1ที่3ได้รับผลจากคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อฉ้อฉลเจ้าหนี้: พฤติการณ์ส่อแสดงเจตนาทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ในระหว่างจำเลยที่1ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่1ตกลงหย่าขาดกับภริยาและยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่บุตรย่อมเป็นข้อพิรุธว่าเตรียมจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินพฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าจำเลยที่1รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบการที่จำเลยที่1รู้จักจำเลยที่2มานานจำเลยที่2รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทในระหว่างจำเลยที่1ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์โจทก์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมด้วย หากทิ้งฟ้องหรือจำหน่ายคดี ศาลไม่มีอำนาจพิพากษา
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย โจทก์ได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มรณะก่อนฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แถลง โจทก์เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีเลย ดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการโอนโดยโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1หรือทายาทผู้รับมรดกของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมการโอนต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมด้วย หากทิ้งฟ้องลูกหนี้ ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาเพิกถอน
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย ศาลจึงจะมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนได้ แม้โจทก์จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยที่ 1แต่ต่อมาศาลได้สั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความเพราะโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีเลย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการอายัดที่ดินตาม ป.ก.ท. มาตรา 83: การโอนที่ดินระหว่างอายัดและผลผูกพันกับผู้ซื้อสุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินตาม ป.ก.ที่ดิน มาตรา 83 และผลของการโอนที่ดินระหว่างอายัดต่อผู้สุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6544/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินร่วมกัน ผู้โอนไม่มีสิทธิ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิ แม้จะสุจริตและจดทะเบียน
โจทก์มีคำขอเพียงให้ศาลพิพากษาเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ครึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอ โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน ในส่วนที่เป็นของโจทก์หากโจทก์ไม่ยินยอมจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะนำไปจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลใดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่พิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ไปจำหน่ายแม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะซื้อมาโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตก็หาได้สิทธิอย่างใดไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน