พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรและการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล
กรมสรรพากรโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสองรู้ว่า น. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉล จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง โดยจำเลยที่ 1 ต่อสู้ด้วยว่า น.ไม่ได้ค้างชำระค่าภาษีอากรหรือหนี้ใด ๆ แก่โจทก์ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีข้อหนึ่งมีว่า น. เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ ดังนั้นหากได้ความว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริงตามฟ้อง ศาลจึงจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนี้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น. เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคดีถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญา ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เชื่อมโยงคดีอาญา ไม่ต้องใช้ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินโดยเจตนาฉ้อฉล ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ สามารถขอเพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบุตรเขยล่วงรู้ฐานะทางการเงินของจำเลยที่ 1ผู้เป็นแม่ยายที่ตกเป็นลูกหนี้โจทก์ตลอดมาเป็นอย่างดี นอกจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 มีที่ดินอีกเพียงแปลงเดียวซึ่งติดจำนองโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาทเท่านั้น ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกยากแก่โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทพร้อมอาคารปั๊มน้ำมันจากจำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่มีราคาถึง 500,000 บาท จึงเป็นการรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนทางอ้อม (อุปการะเลี้ยงดูบุตร) ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ทำให้ไม่อาจเพิกถอนการโอนได้
แม้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินจะมีข้อความระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน แต่ยังมีข้อความระบุไว้อีกว่าจำเลยที่ 2ผู้รับให้ต้องรับอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของจำเลยทั้งสองอีก 3 คนด้วย ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่า เป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คนแทนจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบด้วย ถือได้ว่าการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทน จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทนก่อนที่จำเลยที่ 1 จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาต่อโจทก์ โดยที่จำเลยที่ 2มิได้รู้ถึงหนี้ดังกล่าวมาก่อน จำเลยที่ 2 จึงมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินโดยมีเงื่อนไขอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถือเป็นการให้มีค่าตอบแทน
แม้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วน ข้อ 4 จะมีข้อความระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน แต่ในข้อ 6 ยังมีข้อความระบุไว้อีกต่างหากว่า จำเลยที่ 2 ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเกิดแต่จำเลยที่ 1 อีก 3 คนด้วย ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรในระหว่างบุตรยังเป็นผู้เยาว์ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คน แทนจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดชอบด้วย อีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยที่ 1 ใช้มูลค่าของที่ดินพิพาทส่วนของตนมอบแก่จำเลยที่ 2 ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำ จึงถือได้ว่าการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในที่ดิน แม้มีการโอนต่อและจำนอง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้น ในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำ ป.พ.พ. มาตรา237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และคำพิพากษาคดีก่อนผูกพัน
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้นในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีเดิม: โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอเพิกถอนนิติกรรมหากจำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นลูกหนี้
คดีเดิมซึ่งโจทก์ฟ้อง ร. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 1คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันคู่ความในคดีเดิม จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นในช่วงเวลาที่คดีเดิมอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับได้เพราะยังไม่มีหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีภาษีโดยตรง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง ได้จัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่งซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 มีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งต่อมาเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2529 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดตราจองกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. เจ้ามรดกที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528