พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับสินสมรส: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากสิทธิไม่ถูกโต้แย้งโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้จำเลยที่ 2 พี่สาว และสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2จะอ้างสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมยึดทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ หรือให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ถอนการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่จำเลยที่ 2 ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้ว ตามคำฟ้องดังกล่าว การยอมความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องของบุคคลทั้งสองไม่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เลยเพราะการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ต่อจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงยึดได้เฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1488 จะยึดสินสมรสส่วนของโจทก์ไม่ได้ ถ้านำยึดโจทก์ก็ขอกันสินสมรสส่วนของตนได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488 ดังกล่าวเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ยึดสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ และที่โจทก์ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำยึดไว้นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1ได้โจทก์ไม่มีอำนาจใดที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการยึดทรัพย์ได้การที่จำเลยที่ 2 นำยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินส่วนตัวและสินสมรสของลูกหนี้: กรณีจำเลยที่ 2 ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้จำเลยที่ 2 พี่สาว และสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมยึดทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ หรือให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ถอนการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่จำเลยที่ 2 ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้ว ตามคำฟ้องดังกล่าว การยอมความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องของบุคคลทั้งสองไม่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เลยเพราะการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ต่อจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงยึดได้เฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา1488 จะยึดสินสมรสส่วนของโจทก์ไม่ได้ ถ้านำยึดโจทก์ก็ขอกันสินสมรสส่วนของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 1ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 ดังกล่าวเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยที่ 2ยึดสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ และที่โจทก์ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำยึดไว้นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำ-พิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจใดที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการยึดทรัพย์ได้ การที่จำเลยที่ 2 นำยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินให้บุตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ขอเพิกถอนนิติกรรม การพิจารณาความเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษารวม 3 สำนวน เป็นเงิน1,400,000 บาทเศษ หนี้สำนวนที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วให้จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์เดือนละ5,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัด สำนวนที่ 2 มีทรัพย์สินจำนองเป็นประกัน ราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ประมาณ200,000 บาท จำเลยที่ 1 ยังมีร้านขายเครื่องไฟฟ้า 3 คูหา และมีที่ดินอีก 3 แปลง แม้จำเลยที่ 1 จะนำที่ดินไปจำนองประกันหนี้ไว้แก่ธนาคารอื่นก็ตาม แต่ก็มีราคาสูงเกินกว่าจำนวนหนี้ของธนาคารนั้นอยู่มากนอกจากนี้หากจำเลยที่ 1 ต้องการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็สามารถกระทำได้โดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นซึ่งแยบยล สมเหตุผลดีกว่าโอนให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรเสียอีก การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลงให้จำเลยที่ 2 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่จะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์ว่าการโอนทำให้เสียเปรียบ หากยังมีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลไม่อาจสั่งเพิกถอนการโอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 3 รายการ เฉพาะหนี้รายการที่ 2มีที่ดินจำนองเป็นประกันมีราคาเกินกว่าหนี้ทั้ง 3 รายการ และจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่นอีก โดยเป็นที่ดิน 3 แปลง แม้จะจำนองเป็นประกันหนี้บุคคลอื่นก็ตาม แต่ก็มีราคาเกินกว่าหนี้จำนองนั้น ๆ โจทก์จึงสามารถยึดบังคับชำระหนี้ได้ การที่จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลงให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หายังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยทำโดยเสน่หาและเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ให้ผู้คัดค้านกู้ยืมเงินและยอมรับโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภาวินเครดิตจำกัด เป็นการชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างใดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือเป็นนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ทำให้โดยเสน่หา เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทภาวินเครดิต จำกัด มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินและไม่สามารถชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินของตนได้ การที่จำเลยที่ 1ทำข้อตกลงยอมรับชำระหนี้จากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ ย่อมทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนข้อตกลงดังกล่าวได้ ผู้ร้องจะสามารถทราบว่าที่มาหรือมูลเหตุแห่งการสละสิทธิเรียกร้องเป็นการฉ้อฉลหรือไม่ต่อเมื่อได้สอบสวนพยานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว การจะถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงต้นเหตุอันเป็นมูลแห่งการเพิกถอนจึงต้องถือวันเวลาการสอบสวนในปัญหานี้เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเกี่ยวกับสิทธิซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 173วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีแย่งครอบครองที่ดิน: ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องเดิมแล้ว การฟ้องคดีใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการสืบพยานในคดีซื้อขายรถยนต์: ประเด็นสุจริต, เพิกถอนสัญญา, ความเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วยการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นผิดพลาดในคดีซื้อขายรถยนต์พิพาท ศาลต้องสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 เพื่อวินิจฉัยประเด็นสุจริตและค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลทางแพ่ง: การกู้ยืมเงินและโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้อื่น
ระหว่างที่มีการทำสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านและบริษัท ภ. นั้น จำเลยที่ 1 ดำรงสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าไม่อาจชำระเงินคืนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้คัดค้านกู้เงินจากจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นผู้คัดค้านนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปให้บริษัท ภ. กู้ จำเลยที่ 1 ยอมรับชำระหนี้จากผู้คัดค้านด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. โดยที่ขณะนั้นบริษัทภ. เป็นหนี้ จำเลยที่ 1 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 64,000,000 บาทอยู่แล้ว และจำเลยที่ 1 ยืนยันจะไม่เรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังได้ไม่ครบจากผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้ผลประโยชน์จากผลต่างของดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านรู้ดีอยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237