พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12747/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายสิ่งแวดล้อม: โจทก์ต้องพิสูจน์มูลค่าความเสียหายที่ชัดเจน ไม่สามารถอ้างเพียงหลักการประเมิน
ค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (2) บัญญัติให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันหมายความว่า แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็ยังมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ในกรณีเช่นนี้จึงหาใช่โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเช่นใด ศาลต้องเชื่อต้องรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์เช่นว่านั้นเสมอไปไม่
ค่าเสียหายดังกล่าว ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเพียงการแสดงวิธีการ หลักเกณฑ์ และสร้างแบบจำลองในการประเมินหาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหลักวิชาการที่โจทก์อ้างและยอมรับเพียงฝ่ายเดียว หาใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) (2) และ (3) ไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะถือเอาเป็นข้อยุติในการคิดหาค่าเสียหายคดีนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการแสดงถึงกระบวนการคิดการประเมินค่าเสียหายของโจทก์ให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้น มีผลเท่ากับโจทก์เองก็ยืนยันและพิสูจน์ถึงมูลค่าความเสียหายที่ถูกต้องแน่นอนไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายไม่ได้ตามคำฟ้องและใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรเช่นว่านั้น จึงชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว
ค่าเสียหายดังกล่าว ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเพียงการแสดงวิธีการ หลักเกณฑ์ และสร้างแบบจำลองในการประเมินหาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหลักวิชาการที่โจทก์อ้างและยอมรับเพียงฝ่ายเดียว หาใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) (2) และ (3) ไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะถือเอาเป็นข้อยุติในการคิดหาค่าเสียหายคดีนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการแสดงถึงกระบวนการคิดการประเมินค่าเสียหายของโจทก์ให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้น มีผลเท่ากับโจทก์เองก็ยืนยันและพิสูจน์ถึงมูลค่าความเสียหายที่ถูกต้องแน่นอนไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายไม่ได้ตามคำฟ้องและใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรเช่นว่านั้น จึงชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12479/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของคำฟ้องเลื่อยโซ่ยนต์ ทำให้การลงโทษไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อผิดพลาดและแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายถึง "เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้ความหมายรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง" เช่นนี้ แสดงว่าตามคำนิยามจากบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" มิใช่เป็นการกำหนดความหมายถึงเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ไว้โดยลำพัง แต่ได้ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย และโดยอาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว ซึ่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 ซึ่งเป็นภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วน ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ครอบครองนั้น เป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เนื่องจากกำลังแรงม้าและขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสำคัญที่จะบ่งชี้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว ตามลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวคำฟ้องโจทก์จึงไม่มีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11119/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางออนไลน์: การกระทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนเองเป็นข้อยกเว้น
การที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกข้อต่อสู้ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่า การกระทำนั้นเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลงข้อความในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมไปที่หน่วยงานราชการหลายแหล่ง แม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมก็ตาม แต่มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ร่วม เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงว่าจำเลยทั้งสามไม่ยอมขายที่ดินให้โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความหวาดกลัวว่าโจทก์ร่วมเป็นข้าราชการทหารจะใช้อิทธิพลข่มขู่ รังแกจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นชาวบ้านและผู้หญิง จำเลยทั้งสามมีสิทธิที่จะเข้าใจได้โดยสุจริตว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประพฤติตนของโจทก์ร่วม อีกทั้งการที่จำเลยทั้งสามระบุชื่อจริงนามสกุลจริงของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสามตลอดจนที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสามไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามนำข้อความลงในเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วยเจตนาสุจริตตามเรื่องที่เกิดขึ้นแก่จำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลงข้อความในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมไปที่หน่วยงานราชการหลายแหล่ง แม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมก็ตาม แต่มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ร่วม เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงว่าจำเลยทั้งสามไม่ยอมขายที่ดินให้โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความหวาดกลัวว่าโจทก์ร่วมเป็นข้าราชการทหารจะใช้อิทธิพลข่มขู่ รังแกจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นชาวบ้านและผู้หญิง จำเลยทั้งสามมีสิทธิที่จะเข้าใจได้โดยสุจริตว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประพฤติตนของโจทก์ร่วม อีกทั้งการที่จำเลยทั้งสามระบุชื่อจริงนามสกุลจริงของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสามตลอดจนที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสามไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามนำข้อความลงในเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วยเจตนาสุจริตตามเรื่องที่เกิดขึ้นแก่จำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11091/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียม ศาลต้องมีคำสั่งชัดเจน ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งค่าฤชาธรรมเนียมมิได้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่ง ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง กฎหมายบัญญัติบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจักมีคำขอหรือไม่
ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น คำสั่งศาลต้องอยู่ในบังคับตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับตาราง 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองประเภทนี้โดยชัดแจ้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า "ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก" ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ และเป็นคำพิพากษาชอบด้วยบทบัญญัติที่ศาลต้องปฏิบัติในการทำคำพิพากษาตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง ทุกประการ หาใช่เป็นคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนและไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น คำสั่งศาลต้องอยู่ในบังคับตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับตาราง 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองประเภทนี้โดยชัดแจ้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า "ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก" ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ และเป็นคำพิพากษาชอบด้วยบทบัญญัติที่ศาลต้องปฏิบัติในการทำคำพิพากษาตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง ทุกประการ หาใช่เป็นคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนและไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10811/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อเรียกร้องและทุนทรัพย์: ศาลรับคำฟ้องได้หากยื่นก่อนกำหนด
สาระสำคัญในคำฟ้องภายหลังที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องคือ โจทก์ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำกับจำเลย ให้แก่บริษัท อ. ในราคา 370,000,000 บาท โดยโจทก์รับเงินมัดจำมาแล้ว 20,000,000 บาท การที่จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นทำให้โจทก์ขาดกำไรอีก 169,990,001 บาท รวมค่าเสียหายตามคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 232,990,001 บาท คำฟ้องภายหลังนี้เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้บุคคลอื่น ทำให้โจทก์เสียหาย โดยเพิ่มเติมว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ต้องผิดสัญญากับบริษัท อ. และขาดกำไรไปอีก 169,990,001 บาท จึงเป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ และเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิม ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้ก็เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (1) (2) และวรรคท้าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำฟ้องภายหลังของโจทก์ไว้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินรวมกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10731/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันมีคำพิพากษา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
ในคดีแพ่งนั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาและคำพิพากษาก่อให้เกิดหนี้ตามคำพิพากษา ศาลจะต้องออกคำบังคับซึ่งก็คือคำสั่งแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติ ระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่จำเป็น กับกำหนดวิธีบังคับ ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 272 โดยหากคู่ความฝ่ายที่ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ในศาลในเวลาที่ศาลได้มีคำพิพากษา ศาลมีอำนาจออกคำบังคับและให้คู่ความฝ่ายลูกหนี้ตามคำพิพากษาลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยขาดนัดให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำบังคับในวันมีคำพิพากษาได้ จึงเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกคำบังคับอันเป็นขั้นตอนตามกฎหมายก่อนที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี โดยส่งคำบังคับไปให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาจนครบกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี หากหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี จากนั้นต้องดำเนินการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตลอดทั้งอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิได้รับจากบุคคลภายนอก ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติในการร้องขอให้บังคับคดีไว้ จะเห็นได้ว่า หาได้บัญญัติให้ต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ ซึ่งสอดคล้องรองรับกับบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 231 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้คำพิพากษาผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษาถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้บังคับคดี เว้นแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับและได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีนี้ระยะเวลาบังคับคดีภายในสิบปีต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิไม่ อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิที่อ้างว่า คดีนี้ศาลพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิไม่ อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิที่อ้างว่า คดีนี้ศาลพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10731/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันมีคำพิพากษา ไม่ใช่คดีถึงที่สุด
เมื่อศาลมีคำพิพากษาและคำพิพากษาก่อให้เกิดหนี้ตามคำพิพากษา ศาลจะต้องออกคำบังคับตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 272 คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยขาดนัดให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำบังคับในวันมีคำพิพากษาได้ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกคำบังคับ โดยส่งคำบังคับไปยังภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเมื่อครบกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี หากหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี จากนั้นต้องดำเนินการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีและแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติในการร้องขอให้บังคับคดีไว้ โดยหาได้บัญญัติให้ต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 231 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้คำพิพากษาผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษาถูกเปลี่ยนแปลง กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้บังคับคดี เว้นแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับและได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีนี้ระยะเวลาบังคับคดีภายในสิบปีต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9854/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดประมงไฟฟ้า ศาลแก้โทษจำคุกเป็นปรับตามกฎหมายใหม่ที่บัญญัติโทษเบากว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องมือที่ห้ามทำการประมงในน่านน้ำจืดโดยเด็ดขาด ทำการประมงโดยจุ่มลงไปทำอันตรายและจับปลากับสัตว์น้ำอื่น ๆ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณลำคลองปากหมาก หมู่ที่ 5 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20, 62 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายชัดแจ้งว่าการกระทำความผิดของจำเลยอยู่ในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การประมงฯ มาตรา 4 (5) "ที่จับสัตว์น้ำ" หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหลเช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บ่อ เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน... อันเป็นกรณีที่รวมถึงลำคลองด้วย ฟ้องโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว มิได้เคลือบคลุมแต่อย่างใด
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยโทษตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วนโทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีเพียงโทษปรับ ไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ คงลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับอันเป็นโทษสถานเบากว่าโทษจำคุกเท่านั้น แต่ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 มีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยโทษตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วนโทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีเพียงโทษปรับ ไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ คงลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับอันเป็นโทษสถานเบากว่าโทษจำคุกเท่านั้น แต่ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 มีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9835/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์/ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ถือเป็นคำฟ้อง ต้องเสียค่าขึ้นศาล การยื่นคำร้องซ้ำถือเป็นกระบวนการไม่ถูกต้อง
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่า กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นของจำเลย ไม่ได้ตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ยกคำร้องขอ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้แก่ผู้ร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9790/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองอาคารของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรง และการฟ้องขับไล่
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารของโจทก์ ทั้งมิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของโจทก์ในขณะทำการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของโจทก์และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 หากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่จะได้รับค่าจ้างงวดงานจากโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าจ้างตามงวดงานที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำมูลหนี้ดังกล่าวฟ้องโจทก์ในอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างสิทธิยึดหน่วงเพื่ออยู่ในอาคารและพื้นที่อาคารของโจทก์