พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทมรดก: ศาลพิจารณาพินัยกรรม, มูลค่าทรัพย์สิน, และค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
จดหมายท้ายคำร้องที่โจทก์ทั้งสามอนุญาตให้รวมไว้ในสำนวนโดยอ้างว่าเพิ่งพบหลังจากมีการสืบพยานโจทก์ทั้งสามและสืบพยานจำเลยทั้งสี่เสร็จสิ้นแล้ว เป็นเอกสารที่ศาลชั้นต้นไม่ได้นับไว้เป็นพยานเอกสารของฝ่ายโจทก์ทั้งสาม และฝ่ายจำเลยทั้งสี่ไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสามยกขึ้นอ้างนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2544 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ ณ. ซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกแทนที่โดยโจทก์ทั้งสามอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอม ให้บังคับตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2533 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ณ. และ ก. คนละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน กับขอให้พิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่เป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ โดยจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทต้องพิจารณาจากผลได้ประโยชน์ของฝ่ายโจทก์ทั้งสามประกอบผลเสียประโยชน์ของฝ่ายจำเลยทั้งสี่หากโจทก์ทั้งสามชนะคดีเป็นเกณฑ์
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2544 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ ณ. ซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกแทนที่โดยโจทก์ทั้งสามอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอม ให้บังคับตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2533 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ณ. และ ก. คนละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน กับขอให้พิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่เป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ โดยจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทต้องพิจารณาจากผลได้ประโยชน์ของฝ่ายโจทก์ทั้งสามประกอบผลเสียประโยชน์ของฝ่ายจำเลยทั้งสี่หากโจทก์ทั้งสามชนะคดีเป็นเกณฑ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเรื่องพินัยกรรม เพิกถอนพินัยกรรมปลอม การคิดมูลค่าทรัพย์สินเพื่อคำนวณค่าขึ้นศาล
จดหมายแนบท้ายคำร้องที่โจทก์ทั้งสามขออนุญาตให้รวมไว้ในสำนวนโดยอ้างว่าเพิ่งพบหลังจากสืบพยานโจทก์ทั้งสามและสืบพยานจำเลยทั้งสี่เสร็จสิ้นแล้ว เป็นเอกสารที่ศาลชั้นต้นไม่ได้รับไว้เป็นพยานเอกสารของฝ่ายโจทก์ทั้งสาม และฝ่ายจำเลยทั้งสี่ไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสามยกขึ้นอ้างนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2544 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ ณ. ซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกแทนที่ โดยโจทก์ทั้งสามอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอม ให้บังคับตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2533 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ณ. และ ก. คนละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน กับขอให้พิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่เป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ โดยจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทต้องพิจารณาจากผลได้ประโยชน์ของฝ่ายโจทก์ทั้งสามประกอบผลเสียประโยชน์ของฝ่ายจำเลยทั้งสี่ หากโจทก์ทั้งสามชนะคดีเป็นเกณฑ์
คดีนี้ โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม 2544 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ ณ. ซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกแทนที่ โดยโจทก์ทั้งสามอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอม ให้บังคับตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2533 ที่ระบุยกทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ณ. และ ก. คนละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน กับขอให้พิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่เป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ โดยจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทต้องพิจารณาจากผลได้ประโยชน์ของฝ่ายโจทก์ทั้งสามประกอบผลเสียประโยชน์ของฝ่ายจำเลยทั้งสี่ หากโจทก์ทั้งสามชนะคดีเป็นเกณฑ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาวันที่ 20 มิถุนายน 2556 โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 18 กันยายน 2556 ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้โจทก์ที่ 1 ไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), (2) ประกอบมาตรา 247 แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงโจทก์ที่ 2 ใหม่ด้วยตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9683-9685/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมมีผลบังคับใช้ได้ ชอบธรรมในการขับไล่ผู้บุกรุก และสิทธิเหนือพื้นดินต้องจดทะเบียน
พินัยกรรมพิพาทมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา หรือพินัยกรรมแบบมีพยาน เป็นหนังสือที่มีการลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม รอยลบ ขีด ฆ่า เติมข้อความที่ช่องวัน เดือน ปี และอายุของผู้ตายมีการลงลายมือชื่อผู้ตายและลงลายมือชื่อของ ว. กับ ศ. ผู้เป็นพยานรับรองลายมือชื่อผู้ตายซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทั้งสองคนกำกับไว้ ทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อกับพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้ที่ช่องผู้ทำพินัยกรรม โดยมีลายมือชื่อของ ศ. และ ว. ที่ช่องพยานครบถ้วน แม้พินัยกรรมที่พิพาทไม่มีข้อความที่เป็นถ้อยคำระบุการเผื่อตายไว้โดยชัดแจ้ง แต่ก็มีข้อความว่า "พินัยกรรม" ที่หัวกระดาษตรงกลาง ซึ่งหมายถึงเอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย และยังมีข้อความระบุไว้ว่า "....ข้าพเจ้าขอให้ ผ. บุตรสาวเป็นผู้จัดการมรดกให้ปฏิบัติตามเจตนาของข้าพเจ้าในการแบ่งปันทรัพย์สิน... ขอทำพินัยกรรมให้แบ่งทรัพย์สินดังนี้..." กรณีจึงมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อกำหนดในเอกสารดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย พินัยกรรมที่พิพาทจึงเป็นไปตามแบบที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1656 แห่ง ป.พ.พ. และมีผลบังคับตามกฎหมาย หาได้เป็นโมฆะไม่
การที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้ตายให้ปลูกสร้างอาคารห้องเช่า 26 ห้อง บนที่ดินของผู้ตายเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 อันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ไม่อาจได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสิทธิเหนือพื้นดินที่ได้มานั้นยังไม่บริบูรณ์และไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อตกลงที่ผู้ตายอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารห้องเช่าบนที่ดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ โจทก์จึงปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะใช้ยันต่อจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 6 ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินชอบที่จะขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินตามฟ้องแย้งได้
การที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้ตายให้ปลูกสร้างอาคารห้องเช่า 26 ห้อง บนที่ดินของผู้ตายเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 อันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ไม่อาจได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสิทธิเหนือพื้นดินที่ได้มานั้นยังไม่บริบูรณ์และไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อตกลงที่ผู้ตายอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารห้องเช่าบนที่ดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ โจทก์จึงปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะใช้ยันต่อจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 6 ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินชอบที่จะขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9529/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลบังคับคดีแทน: ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นได้รับมอบหมายจากศาลแขวงพระโขนงให้ดำเนินการบังคับคดี ยึดทรัพย์และขายทอดตลาดแทน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาและมีคำสั่งใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อตามคำร้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ไม่ยึดทรัพย์ตามคำร้องขอของโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนและอยู่ใกล้ชิดพยานหลักฐานต่าง ๆ ย่อมมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนเสียได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 16 วรรคสอง หาเป็นการขัดต่อมาตรา 302 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9529/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลบังคับคดีแทน: ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นได้รับมอบหมายจากศาลแขวงพระโขนงให้ดำเนินการบังคับคดี ยึดทรัพย์และขายทอดตลาดแทน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาและมีคำสั่งใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อตามคำร้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ไม่ยึดทรัพย์ตามคำร้องขอของโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนและอยู่ใกล้ชิดพยานหลักฐานต่าง ๆ ย่อมมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 16 วรรคสอง หาเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 302 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของและแจ้งให้เจ้าของเดิมทราบ หากไม่แจ้งสิทธิครอบครองยังไม่สมบูรณ์
ผู้ร้องทั้งสามเป็นฝ่ายกล่าวอ้างในคำร้องขอว่า ผู้ร้องทั้งสามร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ต่อเนื่องกับการครอบครองยึดถือเพื่อตนของบิดามารดาของผู้ร้องทั้งสามแต่ละคนที่ บ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทบอกยกที่ดินพิพาทให้ตั้งแต่ประมาณปี 2500 ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสามร่วมกันโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า บ. ให้บิดามารดาของผู้ร้องแต่ละคนอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนตั้งแต่ประมาณปี 2500 หลังจากนั้นบิดามารดาของผู้ร้องทั้งสามแต่ละคนตลอดจนผู้ร้องทั้งสามไม่เคยบอกกล่าวหรือแสดงเจตนาแก่ บ. หรือผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทว่าจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองโดยจะไม่ครอบครองแทนอีกต่อไป ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้ร้องทั้งสาม
ผู้ร้องทั้งสามบรรยายคำร้องขอว่า ผู้ร้องทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจากบิดามารดาที่ถึงแก่ความตายแล้วร่วมกันเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสามร่วมกันโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีมิใช่คำร้องขอที่ประสงค์ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ตามเนื้อที่ที่แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด จึงย่อมจะคิดแยกทุนทรัพย์ที่ดินตามที่ผู้ร้องแต่ละคนครอบครองอยู่ไม่ได้ ทุนทรัพย์ในคดีนี้ต้องถือตามราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงที่คู่ความตีราคา 560,000 บาท
ผู้ร้องทั้งสามบรรยายคำร้องขอว่า ผู้ร้องทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจากบิดามารดาที่ถึงแก่ความตายแล้วร่วมกันเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสามร่วมกันโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีมิใช่คำร้องขอที่ประสงค์ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ตามเนื้อที่ที่แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด จึงย่อมจะคิดแยกทุนทรัพย์ที่ดินตามที่ผู้ร้องแต่ละคนครอบครองอยู่ไม่ได้ ทุนทรัพย์ในคดีนี้ต้องถือตามราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงที่คู่ความตีราคา 560,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8741/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์: การใช้เงินค่าธรรมเนียมเดิมสำหรับอุทธรณ์ครั้งใหม่
ในการอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นครั้งแรก จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เต็มจำนวน 200,000 บาท ครบถ้วนแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใหม่ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี จำเลยทั้งสามจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่ แต่ควรเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี โดยให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์นั้น คงหมายรวมเฉพาะค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท เท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เหลือต้องสั่งคืนแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นครั้งใหม่ โดยขอให้ถือเอาเงินจำนวนดังกล่าวนี้เป็นค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตปฏิรูปที่ดิน: สิทธิเดิมสิ้นสุดเมื่อเข้าสู่กระบวนการปฏิรูป และสำนักงานปฏิรูปที่ดินมีอำนาจจัดสรรสิทธิ
ที่ดินที่โจทก์ทั้งแปดอ้างว่ามีสิทธินั้นเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว ซึ่งตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ บุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน ฉะนั้น แม้ว่าโจทก์ทั้งแปดจะครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม แต่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเมื่อมีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมมีผลให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด การกระทำของจำเลยทั้งสามหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งแปดไม่ โจทก์ทั้งแปดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7201/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน: ความรับผิดยังคงมีอยู่
โจทก์ฟ้องก่อนที่จำเลยที่ 1 จะถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดี แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางมีคำสั่งขีดชื่อจำเลยที่ 1 อันมีผลให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคลนับแต่นั้นก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1273/3 บัญญัติไว้ว่า แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นมีอยู่เท่าไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น และพึงเรียกบังคับได้เสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ยังมิได้สิ้นสภาพนิติบุคคล ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบในคดีดังกล่าวต่อไป ทนายความของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีตามที่ได้รับแต่งตั้งต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฉะนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 หลังจากถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางมีคำสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียนจึงมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27