พบผลลัพธ์ทั้งหมด 568 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงบังคับคดี: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าการแสดงเจตนาจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองทำขึ้นมีเจตนาลวงโดยสมรู้กันมิได้มีเจตนาหย่ากันจริงแต่จดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับคดี การจดทะเบียนหย่าตกเป็นโมฆะ และเป็นการจดทะเบียนหย่าโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ย่อมต้องด้วยกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเรื่องการแสดงเจตนาและโมฆะกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ..." และตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า "โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้" ศาลจึงต้องใช้บทกฎหมายเฉพาะดังกล่าวเป็นหลักในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ตามที่มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ โดยไม่จำต้องอาศัยมาตรา 5 เรื่องการใช้สิทธิแห่งตนที่ให้บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต อันเป็นบทกฎหมายทั่วไปมาใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้
การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีนี้นั้น กฎหมายบัญญัติทางแก้ไว้หลายกรณีด้วยกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสังคมสงบสุข แม้จำเลยทั้งสองอยู่ในสถานะจดทะเบียนหย่า แต่สิทธิของโจทก์ทั้งสองในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการที่จะบังคับแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น โจทก์ทั้งสองชอบที่จะบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ด้วยการร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีการบังคับคดี โดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับโดยวิธีอื่นแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ แม้ว่ามีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง, 296 (1) (2) (3), 297 (1) และมาตรา 298 ส่วนขั้นตอนในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าทำให้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่ กรณียังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ หากจำเลยทั้งสองจดทะเบียนหย่าโดยเจตนาลวงอันมีผลให้การหย่าเป็นโมฆะ และมีการทำนิติกรรมใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ แต่ในคดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำนิติกรรมใดลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ รวมทั้งไม่ได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ คงฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถกระบะภายหลังการจดทะเบียนหย่าทำให้โจทก์ทั้งสองยึดรถคันดังกล่าวไม่ได้ และมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง และศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการเป็นเจ้าของรถของจำเลยที่ 2 ในทะเบียนรถ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง ดังนั้น แม้ศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะและให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่า แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถเช่นเดิม ผลของคำพิพากษาดังกล่าวทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองยังมีเท่ากับการไม่ได้ฟ้อง ซึ่งแสดงได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ
การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีนี้นั้น กฎหมายบัญญัติทางแก้ไว้หลายกรณีด้วยกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสังคมสงบสุข แม้จำเลยทั้งสองอยู่ในสถานะจดทะเบียนหย่า แต่สิทธิของโจทก์ทั้งสองในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการที่จะบังคับแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น โจทก์ทั้งสองชอบที่จะบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ด้วยการร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีการบังคับคดี โดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับโดยวิธีอื่นแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ แม้ว่ามีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง, 296 (1) (2) (3), 297 (1) และมาตรา 298 ส่วนขั้นตอนในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าทำให้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่ กรณียังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ หากจำเลยทั้งสองจดทะเบียนหย่าโดยเจตนาลวงอันมีผลให้การหย่าเป็นโมฆะ และมีการทำนิติกรรมใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ แต่ในคดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำนิติกรรมใดลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ รวมทั้งไม่ได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ คงฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถกระบะภายหลังการจดทะเบียนหย่าทำให้โจทก์ทั้งสองยึดรถคันดังกล่าวไม่ได้ และมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง และศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการเป็นเจ้าของรถของจำเลยที่ 2 ในทะเบียนรถ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง ดังนั้น แม้ศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะและให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่า แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถเช่นเดิม ผลของคำพิพากษาดังกล่าวทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองยังมีเท่ากับการไม่ได้ฟ้อง ซึ่งแสดงได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์
การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคําชี้ขาดให้ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 เข้าทำสัญญาเงินกู้หรือบันทึกข้อตกลงค้ำประกันการชําระหนี้และสัญญาจำนำหุ้น และในสถานการณ์นี้จะสั่งให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านและ อ. ซึ่งเป็นผู้รับโอน และจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างกลับคืนไปยังผู้คัดค้าน และในทางกลับกันจะต้องดำเนินการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของผู้คัดค้านยอมรับการโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างกลับไปยังผู้คัดค้าน อันเป็นคําชี้ขาดที่มีผลบังคับให้ผู้คัดค้านชําระหนี้ตอบแทนโดยเพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านกับ อ. กลับมาเป็นของผู้คัดค้านแล้วโอนให้แก่ฝ่ายผู้ร้อง ซึ่งการจะเพิกถอนนิติกรรมระหว่างผู้คัดค้านกับ อ. ได้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านกับ อ. เป็นคู่พิพาทหรือคู่ความในคดีจึงจะบังคับได้ เมื่อ อ. เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีในชั้นอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคําชี้ขาดในกรณีนี้จึงไม่อาจบังคับกับ อ. บุคคลนอกคดีได้ การยอมรับหรือการบังคับตามคําชี้ขาดในส่วนนี้ย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่อนุญาโตตุลาการมีคําชี้ขาดให้ผู้ร้องที่ 1 และ ที่ 2 เข้าทำสัญญาเงินกู้หรือบันทึกข้อตกลงค้ำประกันการชําระหนี้และสัญญาจำนำหุ้น ทั้งที่ผู้คัดค้านยื่นคําคัดค้านและข้อเรียกร้องแย้งโดยขอเพียงให้ผู้ร้องทั้งสามชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยและค่าขาดประโยชน์แก่ผู้คัดค้านเป็นคําชี้ขาดที่เกินคําขอของผู้คัดค้าน ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 37 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
การที่อนุญาโตตุลาการมีคําชี้ขาดให้ผู้ร้องที่ 1 และ ที่ 2 เข้าทำสัญญาเงินกู้หรือบันทึกข้อตกลงค้ำประกันการชําระหนี้และสัญญาจำนำหุ้น ทั้งที่ผู้คัดค้านยื่นคําคัดค้านและข้อเรียกร้องแย้งโดยขอเพียงให้ผู้ร้องทั้งสามชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยและค่าขาดประโยชน์แก่ผู้คัดค้านเป็นคําชี้ขาดที่เกินคําขอของผู้คัดค้าน ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 37 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินเนื่องจากฉ้อฉลและมีผลต่อเจ้าหนี้ การพิจารณาค่าตอบแทนและเจตนา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลนิติกรรมให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาที่ก่อนิติสัมพันธ์กันเอง กรณีไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ว่าเป็นนิติกรรมให้โดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลของผู้ค้ำประกันที่โอนทรัพย์สินหลังผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้คํ้าประกันตามสัญญาเช่าซื้อโดยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนดจึงตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยที่ 1 ย่อมมีภาระหนี้ที่ต้องชำระแทนผู้เช่าซื้อตามสัญญาคํ้าประกัน และถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ผู้เช่าซื้อผิดนัดเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 (เดิม) จำเลยที่ 1 จะทราบถึงการผิดนัดของผู้เช่าซื้อลูกหนี้หรือไม่ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้คํ้าประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาภายหลังผู้เช่าซื้อผิดนัด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนหุ้นของผู้ค้ำประกันเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการถูกทำให้เสียเปรียบ
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 680 บัญญัติว่า "อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น" ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ไว้กับโจทก์ โดยสัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้นที่ไปขอสินเชื่อจากโจทก์ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว เนื่องจากจำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 237 มิได้บัญญัติว่า การที่เจ้าหนี้จะร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ได้กระทำลงภายหลังจากลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้แล้วแต่ประการใด ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ผู้ค้ำประกันได้กระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ก็ย่อมใช้สิทธิเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: ไม่เป็นโมฆะหากมิได้มีการฟ้องขอให้โอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 131362 และ 133534 แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ทราบว่าโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาจ้างทำของและต้องบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่มีเจตนาโอนและรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5919/2555 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาจ้างทำของ มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 131362 และ 133534 อันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่จำเลยที่ 4 จึงมิใช่กรณีที่เป็นการโอนและรับโอนที่ดินพิพาทเพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทตามที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลไว้อันจะทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์หากเป็นจริงดังอ้างก็เป็นเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 2 ส่วนที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5686/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินจากเจตนาลวง และอายุความฟ้องเพิกถอนเมื่อผู้ซื้อไม่สุจริต
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันจะต้องตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 กรณีต้องเป็นเรื่องที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์มีอำนาจทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น อันเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส. ผู้ขาย กับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ เกิดจากเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 กรณีจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 1061/2556 ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ส. กับจำเลยก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส. ผู้ขาย กับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ เกิดจากเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 กรณีจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 1061/2556 ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ส. กับจำเลยก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉล เพื่อบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้เนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดมีภาระหนี้จำนองไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองอันเกิดจากการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 เพื่อการใช้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและมีคำขอตอนท้าย ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ตกเป็นของบุตรทั้งสี่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4 ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 9 แล้ว จึงไม่อาจย้อนกลับมาบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4 ได้อีก แต่คำฟ้องและคำขอบังคับถือเป็นคนละส่วนกัน ไม่มีผลทำให้คำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์ในตอนแรกที่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบต้องเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9852/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจของคณะกรรมการชำระบัญชี และฐานะการเป็นบุคคลผู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน
ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่มีมติให้ประธานกรรมการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำกิจการเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะอย่างแทนประธานกรรมการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ เป็นมติที่ให้ประธานกรรมการมอบอำนาจให้ อ. กระทำกิจการแทนประธานกรรมการในฐานะที่ประธานกรรมการเป็นผู้แทนคณะกรรมการชำระบัญชีตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ส่วนข้อความของมติต่อมาที่ว่า ในกิจการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทั้งนี้เป็นไปตามนัย มาตรา 10 และมาตรา 12 แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 นั้น เป็นการขยายความว่า กิจการที่มอบอำนาจให้ทำแทนประธานกรรมการนั้นจะต้องเกี่ยวกับหน้าที่ของประธานกรรมการในการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่อาจแปลขยายความว่าเป็นกรณีที่ประธานกรรมการมอบอำนาจให้ อ. กระทำการแทนคณะกรรมการชำระบัญชีเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ทั้งหมด มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าการชำระบัญชีของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยสามารถกระทำการได้โดยบุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการตรา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวที่กำหนดให้ต้องแต่งตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการชำระบัญชี เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการนำข้อสรุปเบื้องต้นตามบันทึกการประชุมเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการชำระบัญชีและมีมติให้ขายทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนในทรัพย์พิพาทได้อยู่ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: อายุความไม่ขาดเมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรม การโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองอันเป็นการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ส่วนคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอันเป็นการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องไว้เป็นกรณีพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเข้ามาในกองทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย เมื่อผู้ร้องไม่ใช่โจทก์ในคดีก่อน การยื่นคำร้องคดีนี้จึงไม่เป็นการยื่นคำร้องซ้อนกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น อายุความที่จะใช้บังคับต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา เมื่อโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องเพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 ทราบเหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 และโจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จสิ้นไปโดยประการอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง และเมื่อเหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คดีนี้คู่ความนำสืบรับกันว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนตามคำขอของผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในขณะที่อายุความของโจทก์สะดุดหยุดลง คดีจึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น อายุความที่จะใช้บังคับต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา เมื่อโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องเพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 ทราบเหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 และโจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จสิ้นไปโดยประการอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง และเมื่อเหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คดีนี้คู่ความนำสืบรับกันว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนตามคำขอของผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในขณะที่อายุความของโจทก์สะดุดหยุดลง คดีจึงไม่ขาดอายุความ