คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนันท์ ชัยชูสอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 792 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15113/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี ที่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย และให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิกถอนหรือทำลายคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด"
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ทราบคำสั่งนั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2550 แล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 โดยฟ้องโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี จึงเป็นกรณีแปลความได้ว่า โจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แล้ว ซึ่งศาลแรงงานกลางย่อมต้องเรียกพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางมิได้เรียกพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในคดี จึงทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนชื่อ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพธนชาติทวีค่า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว" กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 กำหนดให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15107/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อค้างชำระ vs ค่าขาดประโยชน์ และการแก้ไขคำพิพากษา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระมาแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้เพียง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ยังมิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนเท่านั้น แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14.2 กำหนดว่า "ก่อนวันที่สัญญาเลิกกัน หากผู้เช่าติดค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ถึงกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระ ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะต้องชำระแก่เจ้าของจนครบถ้วน และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นการลบล้างสิทธิของเจ้าของบรรดาที่มีอยู่ก่อนวันเลิกสัญญา" ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตั้งแต่งวดที่ 10 ถึงงวดที่ 18 เป็นเงิน 133,386 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14971/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ กรณีเช่าซื้อและคืนทรัพย์ แม้ไม่ผิดนัด ก็ต้องชดใช้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์รวม 12 งวด จนกระทั่งวันที่ 28 ธันวาคม 2544 จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถบรรทุกที่เช่าซื้อทั้งสองคันให้แก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองใช้ประโยชน์ในรถบรรทุกที่เช่าซื้อโดยไม่ได้ให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์นับแต่งวดที่ 13 จนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถบรรทุกที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถบรรทุกดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม มิใช่ต้องรับผิดเฉพาะกรณีที่ผิดนัดเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ บัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองยังบัญญัติว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าทนายความด้วย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายแพ้คดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 6,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14926/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพสหภาพแรงงานกับการสิ้นสภาพข้อพิพาท: จำนวนสมาชิก ณ เวลาใดที่ใช้พิจารณา
การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง กล่าวคือจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่
ลูกจ้างระดับบังคับบัญชาลาออกจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ คงเหลือลูกจ้างระดับบังคับบัญชาที่เป็นสมาชิกของโจทก์ไม่ถึง 1 ใน 5 ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ก่อนที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์และบริษัท อ. ซึ่งเป็นนายจ้าง ข้อพิพาทแรงงานดังกล่าวจึงสิ้นสภาพลงนับแต่วันที่สมาชิกของโจทก์ไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14264/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ผอ.สำนักงานละเลยตรวจสอบเอกสารเบิกจ่าย ทำให้เกิดการทุจริต
โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานภาคกลาง เขต 6 มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงาน บริหารจัดการในสำนักงานให้เกิดความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดตามคำสั่งจำเลยที่ 176/2542 การที่โจทก์ไม่ตรวจสอบลายมือชื่อโจทก์ในใบสั่งจ่าย บันทึกอนุมัติค่าใช้จ่าย เอกสารประกอบการเบิกจ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่โจทก์มาทำงานในวันหยุดว่าโจทก์มาทำงานในวันหยุดด้วยหรือไม่ และโจทก์ไม่ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายให้รอบคอบ ทำให้เกิดความเสียหายจากการจ่ายเงินโดยไม่มีหลักฐานการเบิกจ่ายและปลอมแปลงหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินและเบิกซ้ำ จนทำให้ ล. ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบการเงินและบัญชีภายใน สำนักงานภาคกลาง เขต 6 ทำการทุจริตปลอมลายมือชื่อโจทก์ พนักงานจำเลยและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นการกระทำที่ปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงซึ่งโจทก์จักต้องมีในฐานะผู้อำนวยการ หากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อของตน และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินอย่างละเอียดรอบคอบ โจทก์ต้องพบการกระทำที่มิชอบของ ล. ผู้ใต้บังคับบัญชา อันจะส่งผลให้ ล. ไม่สามารถทุจริตยักยอกเงินของจำเลยเป็นจำนวนมากถึง 921,464.50 บาทได้ พฤติการณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การที่จำเลยมีคำสั่งที่ 339/2546 ให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 40 ของค่าเสียหายเป็นเงิน 368,585.58 บาท ตามความเห็นของกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางอันเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 ประกอบมาตรา 10 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12355/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างต้องพิจารณาคุณสมบัติสหภาพแรงงานแต่ละราย สหภาพแรงงานรวมกันไม่ได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติถึงสัดส่วนกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน 1 คน ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเกิน 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ดังนี้สัดส่วนของคณะกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนเพียงใดต้องพิจารณาคุณสมบัติของสหภาพแรงงานแต่ละรายไป ไม่อาจนำจำนวนสมาชิกของหลายสหภาพแรงงานมารวมคำนวณสัดส่วนของกรรมการลูกจ้าง
จำเลยมีลูกจ้างประมาณ 1,500 คน โจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงานมาลาพลาสซึ่งมีสมาชิกประมาณ 24 คน อันเป็นสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานมาลาพลาสจึงนำจำนวนสมาชิกของตนไปรวมกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานอื่นเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานเกิน 1 ใน 5 แล้วแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานมาลาพลาส 1 คน ไม่ได้ จำเลยใช้สิทธิตรวจสอบจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไปยังพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 45 วรรคสาม ที่บัญญัติให้นำมาตรา 15 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้รับคำตอบจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการว่าการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างของสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับที่ประชุมสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน มีมติแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างตามลำดับของกรรมการสหภาพแรงงานที่ถูกนายจ้างเกลียดชังมากที่สุด เป็นการลงมติโดยไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์จึงไม่เป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานโดยชอบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10192/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างในกิจการประเภทเดียวกัน การแก้ไขข้อบังคับต้องไม่ขัดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 88, 89 วรรคหนึ่ง และ 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดแล้วว่า สหภาพแรงงานมี 2 ประเภท คือ 1. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ก็จะต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน และ 2. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ก็จะต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน เมื่อโจทก์เป็นสหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ดังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกโจทก์ก็ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน และเมื่อโจทก์ยอมรับว่ากิจการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นกิจการคนละประเภทกับที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโจทก์ขอจดทะเบียนไว้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ข้อ 6 ซึ่งกำหนดว่า "สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการผลิตและ/หรือประกอบชิ้นส่วนยานยนต์" เป็นว่า "สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรือชิ้นส่วนโลหะ" จึงขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10192/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างในกิจการประเภทเดียวกัน การแก้ไขข้อบังคับต้องไม่ขัดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 88 มาตรา 89 วรรคหนึ่ง และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าสหภาพแรงงานมี 2 ประเภท คือ 1. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน 2. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โจทก์เป็นสหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ดังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน เมื่อโจทก์ยอมรับว่ากิจการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นกิจการคนละประเภทกับที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโจทก์ขอจดทะเบียนไว้ โจทก์ไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน: การนับอายุความเริ่มจากวันกระทำละเมิด/ผิดสัญญา และผลของการพิพากษายกฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกชดใช้ค่าเสียหาย ระบุว่าจำเลยทั้งหกผิดสัญญาจ้าง และในคำฟ้องข้อ 4 ระบุว่าในส่วนความรับผิดทางละเมิดจำเลยทั้งหกต้องรับผิดตามคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดโดยให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามส่วน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งหกรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบการกระทำผิดและทราบว่าจำเลยทั้งหกเป็นผู้กระทำผิดโดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความผิดวินัยพนักงาน และความรับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 จึงเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง ส่วนการฟ้องฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 กล่าวคือนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกร่วมกันวิเคราะห์และอนุมัติปล่อยสินเชื่อผิดระเบียบ ซึ่งเป็นวันผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ นับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งฐานละเมิดและฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน
คดีก่อนศาลแรงงานภาค 4 พิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องและไม่มีอำนาจแต่งตั้งทนายความโดยไม่ได้ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการนำคดีมาฟ้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 4 ถึงที่สุดตามมาตรา 193/17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9468/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับแต่วันกระทำผิด ไม่ใช่วันรู้เสียหายหรือแจ้งคำสั่งลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นนายจ้างด้วยเหตุจำเลยปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบ ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ อนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินขอบอำนาจโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งฐานละเมิดต่อโจทก์ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง และฐานทำผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 โดยอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 นับถึงวันฟ้องวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 เกินกว่า 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดทั้งอายุความฐานละเมิดและอายุความฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน
of 80