พบผลลัพธ์ทั้งหมด 792 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9468/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างงาน การนับอายุความเริ่มต้นเมื่อใด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง เพราะเหตุที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบ ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ อนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีเกินขอบอำนาจโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งฐานละเมิดต่อโจทก์ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง และฐานทำผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 โดยอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 193/12 ทั้งนี้วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องคือวันที่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ใช่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลย หรือวันที่แจ้งคำสั่งลงโทษให้จำเลยทราบ จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 นับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งอายุความฐานละเมิดและอายุความฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลยึดหลักความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม มิใช่ความผิดพลาดของผู้ฟ้อง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานในการย่นหรือขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่
ศาลแรงงานภาค 5 อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 แต่โจทก์ซึ่งทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้วไม่มาศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 16 มกราคม 2555 โจทก์อ้างว่าดำเนินคดีเองแต่ได้ปรึกษานิติกรศาลแรงงานภาค 5 มาโดยตลอด การที่โจทก์ไม่มาฟังคำพิพากษาและติดตามขอคัดคำพิพากษาหรือตรวจสอบรวมทั้งขอคำปรึกษาจากนิติกรศาลแรงงานภาค 5 ว่าคำพิพากษาศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 5 จะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
ศาลแรงงานภาค 5 อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 แต่โจทก์ซึ่งทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้วไม่มาศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 16 มกราคม 2555 โจทก์อ้างว่าดำเนินคดีเองแต่ได้ปรึกษานิติกรศาลแรงงานภาค 5 มาโดยตลอด การที่โจทก์ไม่มาฟังคำพิพากษาและติดตามขอคัดคำพิพากษาหรือตรวจสอบรวมทั้งขอคำปรึกษาจากนิติกรศาลแรงงานภาค 5 ว่าคำพิพากษาศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 5 จะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7365/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากผู้ค้ำประกันสัญญาจ้างแรงงาน ยึดอายุความทั่วไป 10 ปี
ตามคำฟ้องกล่าวว่าโจทก์รับ ร. เข้าทำงานและทำงานในตำแหน่งสุดท้ายผู้จัดการสาขาย่อยลำปาง มีหน้าที่บริหารงานสาขา รับผิดชอบรายรับ รับจ่าย ขายกรมธรรม์ประกันภัยและรับเงินค่าเบี้ยประกันเพื่อนำเข้าบัญชีของโจทก์ ส่วนจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของ ร. ต่อโจทก์ หาก ร. ก่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยยอมผูกพันร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยไม่จำกัดจำนวน ระหว่างเดือนมกราคม 2540 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ร. ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัย 1,394,118 บาท แล้วยักยอกเงินดังกล่าวพร้อมกับเงินที่โจทก์โอนมาสาขาย่อยลำปางเพื่อทดรองจ่าย 43,774 บาท รวมเป็นเงิน 1,437,892 บาท จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องแก่โจทก์นั้น จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับกรณี ร. ผิดสัญญาจ้างแรงงานที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของ ร. จะยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาต่อสู้คดีหาได้ไม่และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อผู้ค้ำประกันกฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นงาน: การจำกัดสิทธิลูกจ้างต้องเป็นธรรมและมีระยะเวลาที่สมเหตุสมผล มิฉะนั้นอาจเป็นโมฆะ
โจทก์ผลิตเครื่องสำอางซึ่งในการประกอบกิจการโจทก์ต้องอาศัยการแข่งขันทางธุรกิจการค้า โจทก์จึงมีสิทธิตามสมควรที่จะป้องกันสงวนรักษาข้อมูลและความลับในทางการค้าเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์ได้ จำเลยเป็นพนักงานโจทก์ตำแหน่งหัวหน้างานผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตตามแผนงานของแผนกวางแผน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะทำความตกลงกับจำเลยเพื่อรักษาความลับทางการค้าของโจทก์ได้ด้วยการทำข้อตกลงกับจำเลยในการห้ามประกอบกิจการหรือปฏิบัติงานในกิจการอื่นที่แข่งขันกับโจทก์ สัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ข้อ 2 ที่กำหนดว่า ในขณะที่จำเลยเป็นพนักงานหรือพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยไม่ปฏิบัติงานเป็นพนักงานของนิติบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ในลักษณะการค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันหรือคล้ายกัน หรือเป็นคู่แข่งทางการค้าของโจทก์นั้น เมื่อข้อตกลงมีกำหนดเวลาห้ามจำเลยอยู่ 1 ปี ถือได้ว่าเป็นกำหนดเวลาพอสมควร ไม่ทำให้จำเลยต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
หลังจากจำเลยพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์ภายใน 1 ปี แล้วไปทำงานกับบริษัทที่มีลักษณะทางการค้าคล้ายกัน เข้าเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 2 ถือว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง แต่ข้อตกลงในสัญญาที่มีข้อความว่า หากฝ่าฝืนข้อตกลง จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเงินจำนวน 500,000 บาท เป็นการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตามมาตรา 383 แต่การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดให้ได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์แล้วพิพากษาคดีเสียใหม่ตามรูปคดี
หลังจากจำเลยพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์ภายใน 1 ปี แล้วไปทำงานกับบริษัทที่มีลักษณะทางการค้าคล้ายกัน เข้าเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 2 ถือว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง แต่ข้อตกลงในสัญญาที่มีข้อความว่า หากฝ่าฝืนข้อตกลง จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเงินจำนวน 500,000 บาท เป็นการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตามมาตรา 383 แต่การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดให้ได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์แล้วพิพากษาคดีเสียใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นงาน: ข้อตกลงที่เป็นธรรมและเบี้ยปรับสูงเกินไป
โจทก์ผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งต้องอาศัยการแข่งขันทางธุรกิจการค้า โจทก์จึงมีสิทธิตามสมควรที่จะป้องกันรักษาความลับในทางการค้าได้ จำเลยเป็นพนักงานตำแหน่งหัวหน้างานผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิว มีหน้าที่ควบคุมการผลิตตามแผนงานของแผนกวางแผน โจทก์จึงมีสิทธิทำความตกลงกับจำเลยเพื่อรักษาความลับทางการค้าได้ เมื่อพิจารณาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ข้อ 2 ที่กำหนดว่า ในขณะที่จำเลยเป็นพนักงานหรือพ้นสภาพพนักงานภายในหนึ่งปี จำเลยจะไม่เป็นพนักงานนิติบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ในลักษณะการค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันหรือคล้ายกัน กำหนดเวลาห้ามจำเลยอยู่หนึ่งปีเป็นกำหนดเวลาพอสมควร สัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี อย่างไรก็ตามข้อตกลงที่มีข้อความว่า หากฝ่าฝืนข้อตกลง จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเงิน 500,000 บาท นั้นเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 แต่การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6683/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนประกันสังคม: เหตุสมควรที่ไม่สามารถใช้บริการรพ.ตามสิทธิกรณีฉุกเฉินและไม่มีศักยภาพในการรักษา
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของโจทก์เป็นกรณีฉุกเฉินซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประกอบกับโรงพยาบาล ก. สุขาภิบาล 3 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ไม่มีศูนย์หัวใจ จึงไม่มีศักยภาพที่จะรักษาโจทก์ได้โดยทันท่วงที เบื้องต้นแพทย์โรงพยาบาล ร. ฉีดสีจึงทราบว่าเส้นเลือดอุดตันและต้องรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด โรงพยาบาล ร. กับโรงพยาบาล ก. สุขาภิบาล 3 ติดต่อประสานกันทราบว่าโรงพยาบาล ก. สุขาภิบาล 3 ไม่สามารถทำการรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดให้ได้ และได้ติดต่อไปยังโรงพยาบาล ก. ประชาชื่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเครือ แต่ก็ได้รับแจ้งว่ารักษาให้ไม่ได้ ผลการปรึกษากันระหว่างโรงพยาบาล ร. กับโรงพยาบาล ก. สุขาภิบาล 3 ได้ข้อสรุปว่าให้โจทก์พักรักษาตัวก่อน 1 คืน ถือว่ากรณีมีเหตุสมควรที่โจทก์ไม่สามารถไปเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาล ก. สุขาภิบาล 3 ได้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและการใช้สิทธิเรียกร้องที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ศาลฎีกายืนคำพิพากษายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาและเรียกร้องค่าเสียหายจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 หยุดชำระค่าเช่าซื้อเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ทั้งโจทก์มิได้ใช้สิทธิร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา การที่โจทก์มาฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธต่างๆ หลายประการ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมีเพียงว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกันตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิดในคดีอาญาตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างสัญญาเช่าซื้อแนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่โจทก์อยู่ในบังคับที่จะต้องบรรยายสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นให้ปรากฏในคำฟ้อง มิใช่อ้างเพียงเอกสารท้ายฟ้องซึ่งมีข้อตกลงต่างจากที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหาบรรยายฟ้องมา แล้วจะถือเอาว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องในเรื่องนั้น ๆ มาแล้วหาได้ไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิดอาญาเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้ฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์จะฎีกาในปัญหานี้ได้ เพราะเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว 15 งวด ครั้งสุดท้ายเป็นการชำระของงวดวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเป็นของกลาง ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่างวด การที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 16 ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ การที่โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และอาศัยเป็นเหตุในการเลิกสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ต่อมา ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่าเช่าซื้อเอง อันเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอริบรถยนต์ที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกริบ ถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ การฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว 15 งวด ครั้งสุดท้ายเป็นการชำระของงวดวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเป็นของกลาง ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่างวด การที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 16 ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ การที่โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และอาศัยเป็นเหตุในการเลิกสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ต่อมา ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่าเช่าซื้อเอง อันเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอริบรถยนต์ที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกริบ ถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ การฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างระงับการคืนเงินประกันการทำงานได้ หากมีเหตุผลอันสมควรจากข้อพิพาทค้างคา
ตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บัญญัติว่า ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน เมื่อคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่คืนเงินประกันการทำงานเพราะโจทก์ยังไม่คืนเอกสารสัญญาค้ำประกันการทำงานและยังไม่สามารถเรียกเก็บบิลที่พนักงานขายรับผิดชอบได้ทั้งหมด จึงยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ระหว่างโจทก์กับจำเลย การที่จำเลยไม่คืนเงินประกันการทำงานในส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่คืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องพิสูจน์ว่ารู้เห็นการกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นผู้แทนของนิติบุคคลต้องรับโทษตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 นั้น หากโจทก์สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลรู้เห็นด้วยในการกระทำความผิดของนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับโทษในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว คดีนี้โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อจำเลยจากทุจริตจัดซื้อและประมาทเลินเล่อ ลดหักจากค่าชดใช้ที่จำเลยได้รับจากคู่สัญญา
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานในฐานมูลละเมิดอันเกิดแต่นายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีหมายเลขแดงที่ 2093/2558 ของศาลจังหวัดอุบลราชธานี จำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้อง บ. และ ก. ในมูลเหตุเรื่องผิดสัญญาซื้อขายปุ๋ย ในคดีดังกล่าวแม้จะเป็นมูลมาจากเรื่องซื้อขายปุ๋ยพิพาทเดียวกันกับคดีนี้ แต่เป็นการกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ถูกฟ้องในแต่ละคดีต้องรับผิด จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดีการที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานีมีคำพิพากษาให้ บ. และ ก. รับผิดต่อจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวเนื่องจากผิดสัญญาซื้อขายปุ๋ยโดยให้คืนเงินค่าซื้อปุ๋ยเป็นเงินจำนวน 3,147,950 บาท แก่จำเลยนั้น ก็เป็นมูลกรณีสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยเป็นเหตุให้เสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงและประมาทเลินเล่อในหน้าที่เป็นเหตุให้เสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรง อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดต่อจำเลย ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่เป็นผู้จัดซื้อปุ๋ยตามสัญญาซื้อขายปุ๋ยดังกล่าวเองและให้คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยสั่งจ่ายเงินให้แก่ บ. และ ก. เป็นเงินจำนวน 5,050,000 บาท และ บ. และ ก. ส่งปุ๋ยให้จำเลยบางส่วนคิดเป็นเงิน 2,002,050 บาท คงค้างชำระเป็นเงินจำนวน 3,047,950 บาท ตามที่ศาลแรงงานภาค 3 วินิจฉัยให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งตามฟ้องแย้งในคดีนี้ ดังนั้น หากจำเลยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนดังกล่าวจาก บ. และ ก. ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดอุบลราชธานีดังกล่าว ก็ย่อมทำให้ความรับผิดที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งในคดีนี้ลดลงตามไปด้วยเพียงนั้น จึงชอบที่หากจำเลยบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 2093/2558 ของศาลจังหวัดอุบลราชธานีในส่วนที่ให้คืนเงินแก่จำเลยจำนวน 3,047,950 บาท เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำมาหักออกจากความรับผิดชำระหนี้ของโจทก์คดีนี้ด้วย