คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 35

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ – การชำระหนี้ – อายุความ – ค่าทนายความ
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 35 ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศเสียได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น มิได้รวมถึงกรณีที่อนุญาโตตุลาการต่างประเทศจะต้องทำคำชี้ขาดภายใน 180 วัน นับแต่วันตั้งอนุญาโตตุลาการคนสุดท้าย
ภาระการพิสูจน์ว่าคู่สัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ และผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับได้ทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณา หรือไม่สามารถเข้าต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเพราะเหตุประการอื่นหรือไม่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 34 (1) และ (3) ตามลำดับ กำหนดให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิสูจน์ไม่ใช่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6933/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การกำหนดจำนวนเงินชำระ และการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
ข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นทั้งยี่สิบสามฉบับระหว่าง ท. ซึ่งเป็นผู้ซื้อกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ขาย ที่ได้ยื่นเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดนั้น เป็นสัญญาที่ทำกันขึ้นขณะที่ ท. ยังเป็นหน่วยงานหนึ่งของผู้ร้องและยัง มิได้โอนไปเป็นหน่วยงานของบริษัท อ. สิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากสัญญาทั้งยี่สิบสามฉบับจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน แม้ในระหว่างที่สัญญายังมีผลผูกพันอยู่ ท. จะไม่เป็นหน่วยงานของผู้ร้องต่อไปแล้ว แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานหรือพฤติการณ์อย่างใด ๆ อันแสดงให้เห็นว่าได้มีการโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาทั้งยี่สิบสามฉบับจากผู้ร้องไปยังบริษัท อ. ด้วย เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธินำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้ เมื่อบริษัทผู้ร้องมีหนังสือไปถึงสมาคมการค้ายางนานาชาติเพื่อขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ และสมาคมการค้ายางนานาชาติได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามที่ได้ยื่นเสนอไป ย่อมฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ยื่นเสนอข้อพิพาทคดีนี้ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยตามสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน รวม 23 ฉบับ ซึ่งระบุให้คู่สัญญาปฏิบัติตามระเบียบของสมาคมการค้ายางนานาชาติในกรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้น โดยต้องมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้ทำการชี้ขาด และกระบวนการเสนอแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ได้ดำเนินการไปอย่างถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมดังกล่าวแล้ว เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 30
คดีนี้ผู้ร้องร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ข้อที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านไม่เคยทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกับผู้ร้องนั้น ไม่ใช่กรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และ 35 ทั้งอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำสัญญาซื้อขายน้ำยางข้นกันจำนวนยี่สิบสามฉบับ และผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวก็เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่เมื่อเหตุที่ผู้คัดค้านฎีกาดังกล่าวไม่ใช่เหตุใดเหตุหนึ่งที่ศาลอาจมีคำสั่งปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ จึงเป็นข้อที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจรับวินิจฉัยเพื่อพิจารณาทบทวนคำชี้ขาดในข้อดังกล่าวนั้นได้อีก
แม้ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 จะกำหนดไว้ว่า คำชี้ขาดต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการ โดยระบุเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยทั้งปวงไว้โดยแจ้งชัด แต่ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการภายในประเทศเท่านั้น ไม่มีบทมาตราใดตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศด้วย และตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ ก็ระบุให้ศาลอาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับความถูกต้องของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้แต่เพียงว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 (4) เท่านั้น ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้ไม่จำต้องระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ด้วยเสมอไป
ในคำร้องขอข้อ 6 ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายมีข้อความว่า ผู้ร้องไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ จึงต้องยื่นคำร้องขอนี้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ โดยชำระเงินจำนวน 15,320,332.56 บาท ให้ผู้ร้อง พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันยื่นคำร้องขอนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้ผู้ร้องครบถ้วน เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ร้องได้ขอให้บังคับผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันยื่นคำร้องขอจำนวน 15,320,332.56 บาท ไม่ใช่เงินตราต่างประเทศ ทั้งไม่อาจตีความหมายถ้อยคำตามคำร้องขอข้อ 6 ดังกล่าวว่าไม่ใช่คำขอบังคับ เป็นแต่เพียงเพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้องเฉพาะจำนวนเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการรวมยี่สิบสามฉบับเท่านั้น ไม่รวมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องตามคำร้องขอของผู้ร้อง โดยให้ชำระเป็นเงินตราต่างประเทศ แม้จะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยมาด้วย ก็เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772-1773/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎกาฟต้า, ข้อตกลง, และการบังคับตามอนุสัญญา NYC
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย คู่สัญญาทำขึ้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้า ซึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้าระบุให้ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากหรือตามสัญญานี้ต้องพิจารณาตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ กฎอนุญาโตตุลาการและแบบฟอร์มของสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามกฎอนุญาโตตุลาการของก๊าฟต้า ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายแล้ว แม้วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎดังกล่าวจะแตกต่างไปจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 อยู่บ้าง จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว จะอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เพราะมิได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในชั้นพิจารณาอุทธรณ์หาได้ไม่ ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และมาตรา 35 แต่ก็ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้อง จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และผูกพันจำเลย
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และจำเลยนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้ว โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้อุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎอนุญาโตตุลาการข้อที่ 125 ส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นเอกสารผลการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้รับทราบตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 อันมีผลเป็นการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำร้องขอของโจทก์ทั้งสองจึงยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: เหตุปฏิเสธการบังคับและขอบเขตความรับผิด
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 35 ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 34 ได้ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทย หรือถ้าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศดังนี้ เมื่อต้องใช้หลักกฎหมายดังกล่าวปรับแก่คดี แต่จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้ให้เหตุผลในการชี้ขาด โดยมิได้อ้างเหตุต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 และ 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้น
ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการตามคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการเรื่องค่าใช้จ่ายในการชี้ขาดที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นหนี้เงินและโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว หามิใช่เป็นหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมศาล
เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนี้ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยเพื่อขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันผู้ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีแม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ตาม ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ, อายุความ, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 35 ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 34 ได้ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือถ้าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนี้ เมื่อต้องใช้หลักกฎหมายดังกล่าวปรับแก่คดี แต่จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้ให้เหตุผลในการชี้ขาด โดยมิได้อ้างเหตุต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้น
ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเรื่องค่าใช้จ่ายในการชี้ขาดที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นหนี้เงินและโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว หามิใช่เป็นหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมศาล
เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนี้โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยเพื่อขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันผู้ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีแม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ตาม ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ขอบเขตความรับผิด, อายุความ, และการปฏิเสธการบังคับ
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 35 ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 34 ได้ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือถ้าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนี้ เมื่อต้องใช้หลักกฎหมายดังกล่าวปรับแก่คดี แต่จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้ให้เหตุผลในการชี้ขาด โดยมิได้อ้างเหตุต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้น
ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเรื่องค่าใช้จ่ายในการชี้ขาดที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นหนี้เงินและโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว หามิใช่เป็นหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมศาล
เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนี้โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยเพื่อขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันผู้ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีแม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ตาม ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ – สัญญาซื้อขายฝ้าย – วันผิดสัญญา – ความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501(ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตามมาตรา 34แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ่ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ่ายดังกล่าวในวันที่ 28ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141 ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎข้อ 141ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2535โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรก แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่ คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้