พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ กรณีวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา91/21 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก) (ข) และ (ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลาไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้น เมื่อเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: ศาลยืนตามเดิมให้ปรับเฉพาะมาตรา 89(7) แม้จะมีความผิดตามมาตรา 89(4) ด้วย
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(4)อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)อีกด้วยไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากใบกำกับภาษีปลอม: เบี้ยปรับตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(4)อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)อีกด้วยไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลงโทษตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว และขอบเขตของคำสั่งกรมสรรพากร
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89(4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) อีกด้วยไม่
ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตรา จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว
ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตรา จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดเบี้ยปรับภาษีอากร: หลักเกณฑ์, เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี, และการตีความคำสั่งกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง
เบี้ยปรับที่ผู้เสียภาษีต้องรับผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 22 นั้นแม้ มาตรา 27 ทวิ วรรคสอง จะบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้บังคับก็ตาม ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ แต่ไม่มีผลผูกพันให้ศาลต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้นศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และศาลยังมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีมีเหตุอันควรอีกด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ส่งสมุดบันทึกบัญชีพร้อมหลักฐานการซื้อขายรถยนต์ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ กลับได้ความว่า เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานการซื้อขายจากบริษัท ต. ซึ่งเป็นผู้ขายรถยนต์จำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมาเองการที่โจทก์ยินยอมชำระภาษีตามที่ถูกประเมินก็เป็นเพราะจำนนต่อหลักฐานเท่านั้นอันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาลดเบี้ยปรับให้คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่า เมื่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับก็เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับลงอีกตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามมาตรา 22 มาตรา 26มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 10 กันยายน 2529หาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลให้โจทก์อีก
การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจะปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้วางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 แต่คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าเจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มได้เฉพาะกรณีผู้จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี ซึ่งต่างกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 ที่มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ระบุไว้ในข้อ 3 และจะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้มาใช้แก่กรณีการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ได้เพราะคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 เป็นคำสั่งที่ใช้แก่การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า แม้ในคำสั่งดังกล่าวจะอ้างมาตรา 89 วรรคสอง เหมือนกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 แต่ก็เป็นมาตรา 89 วรรคสอง ของภาษีการค้าที่มีการยกเลิกไปแล้ว มิใช่มาตรา 89วรรคสอง ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่ากรณีของโจทก์มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่เจ้าพนักงานประเมินนำหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 มาใช้พิจารณาลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์คงให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายเพราะเห็นว่าคำสั่งทั้งสองฉบับออกโดยอาศัยมาตรา 89 วรรคสอง เหมือนกันจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจะต้องพิจารณาลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์ตามอัตราและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534กล่าวคือ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเลขที่ 4262/5/100626 ถึง 100634 เจ้าพนักงานประเมินจะต้องพิจารณาลดให้คงเสียเพียงร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับตามข้อ 2 (3) (ก) ของคำสั่งดังกล่าวเพราะการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์เกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (10) ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเลขที่ 4262/5/100629 ถึง 100634 เจ้าพนักงานประเมินจะต้องพิจารณาลดให้คงเสียเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามข้อ 3 (2)ของคำสั่งดังกล่าว ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาลดเบี้ยปรับให้เสียร้อยละ50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าถูกต้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 89 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร ที่แก้ไขใหม่ และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534
การลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจะปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้วางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 แต่คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าเจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มได้เฉพาะกรณีผู้จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี ซึ่งต่างกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 ที่มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ระบุไว้ในข้อ 3 และจะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้มาใช้แก่กรณีการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ได้เพราะคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 เป็นคำสั่งที่ใช้แก่การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า แม้ในคำสั่งดังกล่าวจะอ้างมาตรา 89 วรรคสอง เหมือนกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 แต่ก็เป็นมาตรา 89 วรรคสอง ของภาษีการค้าที่มีการยกเลิกไปแล้ว มิใช่มาตรา 89วรรคสอง ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่ากรณีของโจทก์มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่เจ้าพนักงานประเมินนำหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.11/2529 มาใช้พิจารณาลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์คงให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายเพราะเห็นว่าคำสั่งทั้งสองฉบับออกโดยอาศัยมาตรา 89 วรรคสอง เหมือนกันจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจะต้องพิจารณาลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์ตามอัตราและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534กล่าวคือ การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเลขที่ 4262/5/100626 ถึง 100634 เจ้าพนักงานประเมินจะต้องพิจารณาลดให้คงเสียเพียงร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับตามข้อ 2 (3) (ก) ของคำสั่งดังกล่าวเพราะการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์เกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (10) ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเลขที่ 4262/5/100629 ถึง 100634 เจ้าพนักงานประเมินจะต้องพิจารณาลดให้คงเสียเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามข้อ 3 (2)ของคำสั่งดังกล่าว ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาลดเบี้ยปรับให้เสียร้อยละ50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าถูกต้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 89 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร ที่แก้ไขใหม่ และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534