พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันนัด ศาลพิจารณาให้พิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2523เวลา 9.00 น. เสมียนทนายจำเลยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงชื่อทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ และในวันนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 น. ปรากฏว่าทนายจำเลย มาศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันเพื่อว่าความในคดีเรื่องอื่นหากทนายจำเลยซึ่งรู้ตระหนักถึงความสำคัญของผลคดีที่ขาดนัดพิจารณาทราบว่าศาลชั้นต้นนัดสืบพยานในคดีนี้เวลา9.00 น. แล้ว จะต้องปลีกเวลาไปแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบถึงการติดว่าความในคดีอื่น หรือมิฉะนั้นก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีนี้ จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าทนายจำเลยทราบเวลานัดสืบพยานโจทก์คลาดเคลื่อนจากเวลา 9.00น. เป็นเวลา 13.30 น. จริงถือว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง
การที่จำเลยไม่มาศาลแรงงานในวันสืบพยาน ไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197วรรคสองซึ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเนื่องจากมาทำงานสายหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่านาฬิกาของจำเลยเร็วไปก็ดี จำเลยยอมให้มาสายได้ก็ดี หานอกประเด็นไม่ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์นำสืบต่างไปจากเอกสารที่ลงไว้ว่าโจทก์มาทำงานสาย จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับฟัง เป็นปัญหาว่าควรเชื่อฟังพยานหลักฐานโจทก์หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา54
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวเพราะโจทก์มาทำงานสายและจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่า โจทก์มาทำงานสายซึ่งจำเลยมีหนังสือเตือนแล้วหรือไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างที่ไม่บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าชดเชย เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท หาใช่ประเด็นข้อพิพาทไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ โดยนำเอาผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทมากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย แต่ไม่ครบถ้วน ก็ไม่ทำให้ประเด็นข้อพิพาทเปลี่ยนแปลงไป
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเนื่องจากมาทำงานสายหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่านาฬิกาของจำเลยเร็วไปก็ดี จำเลยยอมให้มาสายได้ก็ดี หานอกประเด็นไม่ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์นำสืบต่างไปจากเอกสารที่ลงไว้ว่าโจทก์มาทำงานสาย จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับฟัง เป็นปัญหาว่าควรเชื่อฟังพยานหลักฐานโจทก์หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา54
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวเพราะโจทก์มาทำงานสายและจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่า โจทก์มาทำงานสายซึ่งจำเลยมีหนังสือเตือนแล้วหรือไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างที่ไม่บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าชดเชย เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท หาใช่ประเด็นข้อพิพาทไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ โดยนำเอาผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทมากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย แต่ไม่ครบถ้วน ก็ไม่ทำให้ประเด็นข้อพิพาทเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความผิดพลาดในการจดวันนัด และการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดที่ไม่ชัดเจน
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกโจทก์ขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 11 ธันวาคม 2522 ถึงวันนัดโจทก์ขอเลื่อนอีก ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 มกราคม 2523 แต่ทนายจำเลยจดวันนัดลงในสมุดนัดความของตนผิดโดยจดเป็นวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2523 ซึ่งเป็นผลทำให้ทนายจำเลยเข้าใจวันนัดสืบพยานโจทก์ผิดไปจึงมิได้มาศาลในวันที่ 25มกราคม 2523 ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาใหม่ได้
ในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย ได้มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่า ศาลได้พิจารณาให้โจทก์ชนะคดีโดยเพียงแต่ฟังพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งนำพยานเข้าสืบเพียงปากเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่จะให้โจทก์ชนะคดีได้ เนื่องจากจำเลยมีพยานทั้งบุคคลและเอกสารต่างๆ ที่จะนำสืบแสดงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาตามฟ้องโจทก์ ดังนี้ถือได้ว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 แล้ว
ในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย ได้มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่า ศาลได้พิจารณาให้โจทก์ชนะคดีโดยเพียงแต่ฟังพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งนำพยานเข้าสืบเพียงปากเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่จะให้โจทก์ชนะคดีได้ เนื่องจากจำเลยมีพยานทั้งบุคคลและเอกสารต่างๆ ที่จะนำสืบแสดงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาตามฟ้องโจทก์ ดังนี้ถือได้ว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการพิจารณาคดีต่อไป ไม่ถือเป็นการขาดนัดตามกฎหมาย
ในวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ไป แล้วนัดสืบพยานจำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยขอเลื่อนการพิจารณาแต่ศาลไม่อนุญาต ทั้งศาลก็มิได้สั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาไปฝ่ายเดียวถือไม่ได้ว่าเป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการพิจารณาคดีโดยไม่ถือว่าเป็นการขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและให้สืบพยานโจทก์ไป แล้วนัดสืบพยานจำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยขอเลื่อนการพิจารณาแต่ศาลไม่อนุญาต ทั้งศาลก็มิได้สั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาไปฝ่ายเดียวถือไม่ได้ว่าเป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดพิจารณาคดีและการขาดนัดพิจารณา: จำเลยไม่จงใจขาดนัดหากไม่ทราบวันนัดใหม่
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 5 ตุลาคม 2520 ในวันที่4 ตุลาคม 2520 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ขอให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14 พฤศจิกายน 2520ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไปว่าความศาลอื่นตามที่อ้าง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 5 ตุลาคม 2520 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์อนุญาตให้เลื่อนคดีกำหนดวันนัดใหม่ ให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14พฤศจิกายน 2520 เวลา 8.30 น. อันเป็นวันที่ทนายจำเลยขอให้นัดไว้ แต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันนัดใหม่นั้นแล้ว แม้ทนายจำเลยจะไม่ได้ติดตามสอบถามเพราะหลงลืม และต่อมาจำเลยและทนายจำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก็ยังไม่พอจะถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลคัดค้านคำพิพากษา ไม่ใช่แค่โอกาสชนะคดีหากไม่ขาดนัด
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวถึงรายละเอียดที่จำเลยทั้งสองได้ขาดนัดพิจารณา และหากจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดก็มีทางชนะคดีโจทก์ได้ เพราะมีโอกาสซักค้านและสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ ไม่ได้กล่าวถึงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่มีข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เหตุผลหรือหลักฐานที่แสดงในคำร้องว่าคำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้องประการใด และหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาที่ชัดเจน ไม่ใช่เพียงโอกาสชนะคดีหากไม่ขาดนัด
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวถึงรายละเอียดที่จำเลยทั้งสองได้ขาดนัดพิจารณาและหากจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดก็มีทางชนะคดีโจทก์ได้เพราะมีโอกาสซักค้านและสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ ไม่ได้กล่าวถึงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่มีข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เหตุผลหรือหลักฐานที่แสดงในคำร้องว่าคำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้องประการใด และหากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-คำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลไม่รับฟ้องเพิกถอนคำพิพากษาเดิมหากไม่ใช้กระบวนการตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์กับจำเลยที่ 4 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินซึ่ง ท.ภิริยาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์และจำเลยที่ 4 โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 4 ยอมรับว่าเป็นจริงตามฟ้อง ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาดังกล่าว คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 หากโจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาคดีดังกล่าวก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ,208,และ 209 คือขอให้มีการพิจารณาใหม่การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนย่อมเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ในส่วนที่เกี่ยวกันเช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องซึ่งศาลไม่พึงรับไว้พิจารณา
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสียแล้ว คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.โอนใส่ชื่อตนเองกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับมรดกแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวโอนกลับคืนให้จำเลยที่ 4 ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ จึงให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนต่างๆเสีย ให้โจทก์กับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิตามเดิมนั้นย่อมไม่เป็นคำฟ้องอันพึงรับไว้พิจารณาเช่นกัน
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสียแล้ว คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.โอนใส่ชื่อตนเองกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับมรดกแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวโอนกลับคืนให้จำเลยที่ 4 ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ จึงให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนต่างๆเสีย ให้โจทก์กับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิตามเดิมนั้นย่อมไม่เป็นคำฟ้องอันพึงรับไว้พิจารณาเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเพิกถอนคำพิพากษาเดิมต้องใช้กระบวนการตามกฎหมาย การฟ้องใหม่จึงไม่รับพิจารณา
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์กับจำเลยที่ 4 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินซึ่ง ท.ภริยาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์และจำเลยที่ 4 โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 4 ยอมรับว่าเป็นจริงตามฟ้อง ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาดังกล่าว คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 หากโจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาคดีดังกล่าวก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207,208 และ 209คือขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเช่นนี้ย่อมเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องซึ่งศาลไม่พึงรับไว้พิจารณา
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสียแล้ว คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. โอนใส่ชื่อตนเองกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับมรดกแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวโอนกลับคืนให้จำเลยที่ 4 ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ จึงให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนต่างๆ เสีย ให้โจทก์กับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามเดิม นั้นย่อมไม่เป็นคำฟ้องอันพึงรับไว้พิจารณาเช่นกัน
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสียแล้ว คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. โอนใส่ชื่อตนเองกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับมรดกแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวโอนกลับคืนให้จำเลยที่ 4 ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ จึงให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนต่างๆ เสีย ให้โจทก์กับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามเดิม นั้นย่อมไม่เป็นคำฟ้องอันพึงรับไว้พิจารณาเช่นกัน