คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 202

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ไปศาล ศาลถือว่าจงใจขาดนัด แม้จะมีเหตุทำเอกสารหาย
ชั้นขอให้พิจารณาใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 10 ฎีกาเพียงว่าสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมนำมาเป็นมูลบังคับคดีกับจำเลยไม่ได้โดยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเหตุขาดนัดแต่ประการใดเลย ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 10 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหรือหมายนัดสืบพยานโจทก์เป็นไปโดยชอบแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยอ้างเพียงว่าผู้รับไว้แทนทำหาย หรือมีอาชีพขับรถรับจ้างไม่ค่อยอยู่บ้านเท่านั้นพฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาหลายแห่งของจำเลย การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
แม้จำเลยมีสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงว่าขณะที่ถูกฟ้องจำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 5 จังหวัดอุบลราชธานี แต่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ว่าอยู่บ้านเลขที่ 389/4 จังหวัดนครราชสีมา และจำเลยอ้างว่าขณะนั้นอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 357 จังหวัดนครราชสีมา แต่เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่บ้านตามภูมิลำเนาในคำฟ้องคือ บ้านเลขที่ 96 จังหวัดอุบลราชธานี ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเต็มใจยอมรับหมายไว้แทนโดยไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่กล่าวในคำฟ้องและไม่ปรากฏว่าภริยาจำเลยรับหมายไว้แทนจำเลยโดยหลงผิด พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยในบ้านเดียวกับภริยา และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้นบ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย ถือได้ว่าได้ส่งหมายนั้นให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันสืบพยานจึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจจำเลยไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี และการไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลต้องไต่สวนเหตุผลที่ไม่มาศาลก่อน
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1โดยมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนเหตุสุดวิสัย ศาลไม่ต้องไต่สวนหากไม่ได้อ้างเหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ.นั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: แม้มีเหตุจำเป็น แต่จำเลยมีทางเลือกอื่น จึงถือจงใจขาดนัด
แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 1 จะขอเบิกเงินค่าจ้างจากนายจ้างเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการมาศาลไม่ได้ และนายจ้างได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ดูแลรับผิดชอบยางพาราด้วยก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็จะนำเอาเหตุดังกล่าวมาอ้างว่าจำเลยทั้งสองมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 อาจจะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยามาขอเลื่อนคดีได้ แต่จำเลยที่ 1ก็ไม่กระทำ หรือจำเลยที่ 2 เองก็มิได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: จำเลยต้องรับผิดชอบความผิดพลาดจากการแจ้งวันนัดสืบพยานที่ไม่ถูกต้องแก่ทนายความใหม่
ค. ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานและ ค. ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว แม้จำเลยไม่ได้มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดสืบพยานแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า หลังจากศาลทำการชี้สองสถานแล้วจำเลยได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความคนใหม่ จำเลยบอกกำหนดนัดสืบพยานแก่ ว.ผิดพลาดเป็นเหตุให้ว. มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัดนั้นเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง แม้จะไต่สวนได้ความตามคำร้องก็ถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ศาลจึงยกคำร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายทราบวันนัดแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลไม่ถือเป็นการขาดนัด และไม่สามารถขอพิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์จนหมดพยานแล้วเลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยทราบนัดแล้ว ถึงวันนัดฝ่ายจำเลยไม่มีผู้ใดมาศาลศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและหรือไม่มีพยานมาสืบ จึงพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี กรณีดังกล่าวถือว่าทนายจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลย แม้จะฟังว่าทนายจำเลยมิได้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบก็ตามแต่เมื่อทนายจำเลยทราบวันนัดตามกฎหมาย ก็ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดด้วยแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าคดีเสร็จสำนวนโดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว จำเลยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องขาดนัดพิจารณามาใช้เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นวันเริ่มสืบพยาน การไม่มาในวันนัดสืบพยานจำเลยภายหลังไม่ถือเป็นการขาดนัด
การขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 จะต้องเป็นกรณี ที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน อันได้แก่ วัน ที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานครั้งแรกจริง ๆ เมื่อได้มีการสืบพยานโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้วการที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัด สืบพยานจำเลยจึงมิใช่การขาดนัดพิจารณาอันจะถือได้ว่ามีเหตุ ที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี และสิทธิครอบครองที่ดิน การพิจารณาหลักฐานและเหตุผลความเชื่อถือของจำเลย
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้สองวันคือวันที่ 6 และ 20 กันยายน 2528 ดังนั้น ในสมุดนัดความของทนายจำเลยจึงควรจะมีการลงนัดความคดีนี้ไว้ด้วยทั้งสองวันตั้งแต่ในวันชี้สองสถานแล้ว และเมื่อถึงกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6 กันยายน 2528 เมื่อมีการเลื่อนการสืบพยานไปวันที่ 20 กันยายน 2528 และวันที่16 ตุลาคม 2528 หากทนายจำเลยเข้าใจว่ามีการยกเลิกการนัดสืบพยานในวันที่ 20 กันยายน 2528 ตามที่อ้างจริงก็น่าจะต้องมีหมายเหตุการยกเลิกไว้ในสมุดนัดความนี้แต่ปรากฏว่าในภาพถ่ายสมุดนัดความของทนายจำเลยไม่มีการลงนัดความคดีนี้ไว้ในวันดังกล่าวเลย คงลงนัดคดีของศาลอื่น ไว้เท่านั้น ที่ทนายจำเลยอ้างว่าที่ขาดนัดพิจารณาเพราะเข้าใจ ว่ายกเลิกวันนัดแล้วจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อ เหตุที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้างยังไม่เพียงพอฟังว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้หมายเรียก ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หลังจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและมีการสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรจะให้เรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและสิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องเนื่องจากจำเลยมีสิทธิครอบครอง
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้สองวันคือวันที่ 6 และ 20 กันยายน 2528 ดังนั้น ในสมุดนัดความของทนายจำเลยจึงควรจะมีการลงนัดความคดีนี้ไว้ด้วยทั้งสองวันตั้งแต่ในวันชี้สองสถานแล้ว และเมื่อถึงกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6 กันยายน 2528 เมื่อมีการเลื่อนการสืบพยานไปวันที่ 20 กันยายน 2528 และวันที่ 16 ตุลาคม 2528 หากทนายจำเลยเข้าใจว่ามีการยกเลิกการนัดสืบพยานในวันที่ 20 กันยายน 2528 ตามที่อ้างจริงก็น่าจะต้องมีหมายเหตุการยกเลิกไว้ในสมุดนัดความนี้ แต่ปรากฏว่าในภาพถ่ายสมุดนัดความของทนายจำเลยไม่มีการลงนัดความคดีนี้ไว้ในวันดังกล่าวเลย คงลงนัดคดีของศาลอื่นไว้เท่านั้น ที่ทนายจำเลยอ้างว่าที่ขาดนัดพิจารณาเพราะเข้าใจว่ายกเลิกวันนัดแล้วจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อ เหตุที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้างยังไม่เพียงพอฟังว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้หมายเรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หลังจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและมีการสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้วจึงไม่มีเหตุสมควรจะให้เรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม
of 19