คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหลังแก้กฎหมาย: การเลือกเสียภาษีและดอกเบี้ย
ประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 9 ตามสัญญาจ้างหรือไม่ ส่วนประเด็นในคดีก่อนนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มจากสัญญาจ้างฉบับเดียวกันกับสัญญาจ้างในคดีนี้ก็ตาม แต่ก็เป็น การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8 ประเด็นในคดีดังกล่าวจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8 ตามสัญญาจ้าง นั้นหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นในคดีนี้กับประเด็นในคดีก่อนจึง แตกต่างกัน คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีอาญาภาษีอากรมาตรา 17 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้ยกเลิกภาษีการค้า และมาตรา 8 ประกอบด้วยมาตรา 2(2) ได้บัญญัติให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป แต่สินค้า ที่ได้ขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 มาตรา 24 ได้บัญญัติให้ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ยังคงเสียภาษีการค้าต่อไป ในทางกลับกันหากการขายมิได้เสร็จเด็ดขาด หรือการให้บริการมิได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต่อไป แต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แต่เนื่องจากในระยะแรกที่นำ ภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้านั้น หน่วยราชการซึ่งเป็น ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไม่ได้ตั้งงบประมาณเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ จึงทำให้หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไม่อาจชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเรียกเก็บได้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249)พ.ศ. 2535 ขึ้นใช้บังคับโดยมาตรา 3 บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเก่าหรือ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายใหม่ก็ได้ โดยไม่จำต้องได้รับ ความยินยอมจากกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ผู้ประกอบการได้ทำสัญญาไว้ก่อน แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ไม่ได้กำหนดระยะเวลาและวิธีการเลือกเสียภาษีไว้ ฉะนั้น กรณีใดจึงจะถือว่าผู้ประกอบการเลือกเสียภาษีการค้าหรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ไปยังจำเลยว่าโจทก์ ได้ขอเลือกปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยโจทก์ ขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับงวดงานตามสัญญาจ้างที่โจทก์ ได้รับชำระตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จึงถือได้ว่า โจทก์เลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมี สิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างงวดที่ 9 จากจำเลย ตามหนังสือแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าในการชำระค่าจ้างสำหรับ งานงวดที่เหลือขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์ ได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยสำหรับงานงวดที่ 9 จำนวน4,468,086.90 บาท เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 โจทก์จึง มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่ ได้รับชำระค่าจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา 82/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 78/1(2) เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่ได้รับชำระนับแต่วันที่ได้รับค่าจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้า, การประเมินรายรับซับโบรกเกอร์, และเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 38(7) ระบุว่าอธิบดีอาจมอบอำนาจให้รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนได้ โดยการมอบอำนาจตามมาตรานี้ให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบว่า การมอบอำนาจระหว่างอธิบดีและรองอธิบดี ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ จึงรับฟังไม่ได้ว่าได้มีการ มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนโดยชอบ และการที่ มาตรา 32 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ระบุให้รองอธิบดีช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้นั้น การที่จะช่วยปฏิบัติราชการได้จะต้องได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากอธิบดีตามมาตรา 38 ดังกล่าวเสียก่อนจึงจะช่วยปฏิบัติราชการตามมาตรา 32 ได้ การที่จำเลยทั้งสี่ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจระหว่าง อธิบดีกรมสรรพากรและ ป.รองอธิบดีกรมสรรพากรย่อมทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า ป.รองอธิบดีกรมสรรพากรได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ ดังนั้นการออกหมายเรียกตรวจสอบจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคล ของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลภาษีอากรมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า นั้นประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19เจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบได้ภายใน ระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ(1) คือห้าปีนับแต่วันสุดท้าย แห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่น แบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2533ที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ ถ้าโจทก์เสียไม่ถูกต้องย่อมถือได้ว่าเป็นภาษีการค้าที่ค้างอยู่ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินได้ตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 21(2) การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลูกค้าจะซื้อผ่านโจทก์ และจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อหรือขายอัตราร้อยละ 0.5 ให้โจทก์การที่โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมให้โจทก์อัตราร้อยละ 0.5 ค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 0.5ดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่โจทก์รับจากลูกค้า การที่โจทก์นำไปจ่ายให้แก่โบรกเกอร์เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นซับโบรกเกอร์ปฏิบัติต่อโบรกเกอร์ตามความผูกพันระหว่างกัน โจทก์จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาลดยอดรายรับที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าโจทก์ในอัตราร้อยละ 0.5ให้ต่ำลงไม่ได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเป็นอย่างดีโดยงดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งสิ้นเว้นแต่เบี้ยปรับตามการประเมินภาษีการค้าจากค่าธรรมเนียมรับและดอกเบี้ยรับส่วนลดรับซึ่งโจทก์กระทำผิดพลาดโดยการเข้าใจข้อกฎหมายผิด จึงลด ให้ร้อยละ 50 นั้น ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยชอบ ด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนเงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติให้งดหรือลดได้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจตรวจสอบภาษีอากรต้องทำเป็นหนังสือ และการประเมินภาษีการค้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38(7) ระบุว่าอธิบดีอาจมอบอำนาจให้รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนได้ โดยการมอบอำนาจตามมาตรานี้ให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบว่า การมอบอำนาจระหว่างอธิบดีและรองอธิบดีดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ จึงรับฟังไม่ได้ว่าได้มีการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนโดยชอบ และการที่มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ระบุให้รองอธิบดีช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้นั้น การที่จะช่วยปฏิบัติราชการได้จะต้องได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากอธิบดีตามมาตรา 38 ดังกล่าวเสียก่อนจึงจะช่วยปฏิบัติราชการตามมาตรา 32 ได้
การที่จำเลยทั้งสี่ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจระหว่างอธิบดีกรมสรรพากรและ ป.รองอธิบดีกรมสรรพากร ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า ป.รองอธิบดีกรมสรรพากรได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ขยายเวลา การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ ดังนั้น การออกหมายเรียกตรวจสอบจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลภาษีอากรมีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้านั้นป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (1) คือห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
ภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2533ที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ ถ้าโจทก์เสียไม่ถูกต้องย่อมถือได้ว่าเป็นภาษีการค้าที่ค้างอยู่ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินได้ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 21 (2)
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลูกค้าจะซื้อผ่านโจทก์ และจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อหรือขายอัตราร้อยละ 0.5 ให้โจทก์การที่โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมให้โจทก์อัตราร้อยละ 0.5 ค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 0.5 ดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่โจทก์รับจากลูกค้า การที่โจทก์นำไปจ่ายให้แก่โบรกเกอร์เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นซับโบรกเกอร์ปฏิบัติต่อโบรกเกอร์ตามความผูกพันระหว่างกัน โจทก์จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาลดยอดรายรับที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าโจทก์ในอัตราร้อยละ 0.5ให้ต่ำลงไม่ได้
ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเป็นอย่างดีโดยงดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งสิ้น เว้นแต่เบี้ยปรับตามการประเมินภาษีการค้าจากค่าธรรมเนียมรับและดอกเบี้ยรับส่วนลดรับซึ่งโจทก์กระทำผิดพลาดโดยการเข้าใจข้อกฎหมายผิด จึงลดให้ร้อยละ 50 นั้น ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยชอบด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนเงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ป.รัษฎากรมิได้บัญญัติให้งดหรือลดได้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องภาษีมูลค่าเพิ่มหลังสัญญาซื้อขายก่อนบังคับใช้กฎหมาย, อายุความ 10 ปี, ราคาวัสดุไม่รวมภาษี
กรณีที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่การขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นยังมิได้เสร็จเด็ดขาดหรือสิ้นสุดลงก่อนวันดังกล่าวผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต่อไป แต่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราดังกล่าวจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายวัสดุก่อสร้างก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535แต่การซื้อขายมิได้เสร็จเด็ดขาดก่อนวันดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากจำเลยได้ คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกราคาค่าสินค้าวัสดุก่อสร้างตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่อาจนำอายุความกำหนด 2 ปี มาใช้บังคับกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่เรียกเก็บจากจำเลยเพื่อนำไปชำระแก่กรมสรรพากรและโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยไปแล้วซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5798/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การคำนวณจากค่าจ้างรวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่น การหักลดหย่อนและการคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำนวนภาษีต่าง ๆ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่างานที่มีการชำระภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ คำฟ้องโจทก์ ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้ยกเลิกภาษีการค้าและมาตรา 8 ประกอบด้วยมาตรา 2(2) บัญญัติให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไปแต่ในกรณีที่สินค้าได้ขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 มาตรา 24 บัญญัติให้ผู้ขายหรือให้บริการยังคงเสียภาษีการค้าต่อไป ดังนั้น กรณีที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่คู่สัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และการขายมิได้เสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการมิได้สิ้นสุดลงก่อนวันดังกล่าว ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต่อไปแต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมาตรา 82/4แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราดังกล่าวจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แม้ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30)ฯ มาตรา 22 จะบัญญัติว่า "เพื่อเป็นการ บรรเทาภาระภาษีให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งประกอบกิจการให้บริการตามสัญญาที่มีข้อกำหนดให้ชำระค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ โดยได้ทำสัญญาไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฯ มีผลใช้บังคับ ถ้ากรณีเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิขอยกเว้นการเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ว่าจ้างตามมาตรา 82/4 วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติฯ นี้ และขอเสียภาษีการค้าตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติฯ นี้ต่อไป"บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้สิทธิผู้ประกอบการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเก่าหรือเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายใหม่ก็ได้ หากกรณีเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดการที่โจทก์เลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายใหม่จึงเป็นการใช้สิทธิตามปกติ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย)อัตราร้อยละ 7 จากจำเลย ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมไว้กับราคาค่าจ้างจำนวนเงินภาษีที่ปรากฏในใบระบุราคาก่อสร้างก็มิได้ระบุชัดเจนว่าเป็นภาษีประเภทใดและไม่อาจฟังว่าภาษีดังกล่าวเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะในขณะทำสัญญาจ้างและใบสรุปราคานั้นเป็นเวลาก่อนมีการใช้กฎหมายเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ทราบว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่มีอัตราภาษีมากน้อยเพียงใดจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมไว้กับค่าจ้าง ทั้งค่าภาษีตามใบสรุปราคาหากหมายถึงภาษีที่จะมีการบังคับใช้ภายหลังการทำสัญญาก็น่าจะระบุให้ชัดแจ้งไว้ในสัญญาจ้างว่าโจทก์จะเป็นผู้รับผิดชอบชำระภาษีอากรทุกประเภทรวมทั้งภาษีที่จะมีการนำมาใช้บังคับภายหลังด้วย แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความเช่นว่านั้นในสัญญา กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่ามีสัญญาให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบค่าจ้างแล้วด้วย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเป็นผู้มีหน้าที่ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นในการคิดราคาค่าบริการผู้ให้บริการย่อมกำหนดราคาค่าบริการโดยคำนวณรวมภาษีดังกล่าวไว้โดยเฉพาะใบสรุปราคาค่าก่อสร้าง รวมทั้งหนังสือแจ้งการเรียกเก็บเงินค่างวดงานและเอกสารรายละเอียดของมูลค่างานก็ระบุว่า ค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีรวมอยู่ด้วยจึงฟังได้ว่าค่าจ้างตามสัญญาได้รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วย แต่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการรวมทั้งภาษีสรรพสามิตถ้าหากมีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้จำเลยจะไม่ยื่นคำแถลงเรื่องการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายหลังสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้จำเลยแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 ศาลชั้นต้นมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจาก สารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 13 แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจการที่จำเลยมายื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ใหม่เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเกินกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่จะยื่นได้เพียงวันเดียว แสดงว่าจำเลยประสงค์จะให้ดำเนินคดีต่อไป ทั้งศาลภาษีอากรกลางก็ยัง มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางสั่งว่าการกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการทิ้งอุทธรณ์จึงชอบแล้ว