คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการแยกความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่าย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยมีและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135ฯ เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการโต้แย้งข้อเท็จจริงภายหลัง ย่อมมีผลผูกพันจำเลย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯและตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น โจทก์ไม่จำต้องแนบประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาพร้อมกับคำฟ้อง เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกระทรวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย และเมื่อศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การว่าทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้วขอให้การรับสารภาพ จึงถือว่าจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้วจำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้
จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามฟ้อง ทั้งยังแถลงรับว่าร้อยตำรวจโท ว. เป็นผู้ตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีนของกลางและของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯจริง ดังนั้น ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาว่าของกลางมิใช่เมทแอมเฟตามีนจึงขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้โต้แย้งมาก่อน จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์ จำเลยจะโต้เถียงเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ของกลางหรือโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องอีกหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15และแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดและลงโทษกรรมเดียวในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขพิพากษาศาลล่าง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขาย คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษหนักกว่าโทษในความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89 จึงต้องปรับบทความผิดจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นบทกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ ส่วนการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ใน ครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น แม้ของกลางจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวถือเป็นกฎหมายในส่วนที่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 67 แต่เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองมีไว้เพื่อขายและ เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้ในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว คงลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางทั้งสองจำนวนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษในประเภทเดียวกันไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันจึงเป็นการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพียงกรรมเดียว อันเป็นส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า และซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทที่มีโทษหนักที่สุดบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3, 90 แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิด 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลมิได้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงไม่อาจให้ริบ เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของกระทรวงสาธารณสุขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวครอบครองยาเสพติดหลายชนิด และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ระบุว่า เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันจึงเป็นความผิดต่อกฎหมายและมีโทษบทมาตราเดียวกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กระทงความผิดแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 9 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้จำหน่ายและจำหน่ายเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แม้เหตุการณ์ต่อเนื่อง
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ แม้จะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย และมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำนวนหนึ่ง และขายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นความผิดกรรมเดียว
คำนิยามในมาตรา 4 ของคำว่า "ขาย" ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่อาจนำมาใช้สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีคำนิยามของคำว่า "จำหน่าย" ไว้โดยเฉพาะแล้ว ในมาตรา 4 ให้หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ มิได้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายดังเช่น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ด้วย และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 เป็นความผิด ที่แยกเจตนาในการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้จะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิดกันก็ตาม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 17 เม็ด เป็นความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองดังกล่าวแก่สายลับไป 2 เม็ด ก็ย่อมมีความผิดฐานจำหน่ายอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปรับบทความผิดจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ เมื่อเมทแอมเฟตามีนถูกระบุเป็นยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเพื่อขายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกัน และถูกจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุ แห่งการกระทำต่างชนิดกัน แต่เมื่อเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เมื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 แล้ว แต่ไม่ถึง 20 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ไม่เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอีกต่อไป เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันกับมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบท ลงโทษมาตรา 67 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และการริบเมทแอมเฟตามีนก็ไม่อาจริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้เพราะ ไม่ได้ลงโทษตามาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข หากคำฟ้องระบุชัดเจนว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมี เมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 ตามกฎหมายจำนวน1,030 เม็ด น้ำหนัก 95.736 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้17.041 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายโดยขายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไป 2 เม็ด แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 160 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตรงตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่งย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และจำเลยได้ทราบว่าเมทแอมเฟตามีนนั้นเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โจทก์ยังบรรยายฟ้องต่อท้ายข้อความที่ว่า "ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1" ด้วยข้อความว่า "ตามกฎหมาย" อันเป็นการกล่าวย้ำ ข้อความที่กล่าวมาก่อน คำฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว โจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวรวมทั้งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้วด้วยไม่
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539 และประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศข้างต้นจึงมีผลบังคับเช่นกฎหมาย ทั้งจำเลยไม่อาจแก้ตัวได้ว่า จำเลยไม่ทราบประกาศนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติดไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและการซื้อขายยาเสพติดประเภท 1 จำเลยต้องทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 ตามกฎหมายจำนวน 1,030 เม็ด น้ำหนัก 95.736กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 17.041 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายโดยขายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไป 2 เม็ด แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา160 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตรงตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และจำเลยได้ทราบว่าเมทแอมเฟตามีนนั้นเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โจทก์ยังบรรยายฟ้องต่อท้ายข้อความที่ว่า "ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1" ด้วยข้อความว่า"ตามกฎหมาย" อันเป็นการกล่าวย้ำ ข้อความที่กล่าวมาก่อน คำฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)แล้ว โจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวรวมทั้งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้วด้วยไม่
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539 และประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไปประกาศข้างต้นจึงมีผลบังคับเช่นกฎหมาย ทั้งจำเลยไม่อาจแก้ตัวได้ว่า จำเลยไม่ทราบประกาศนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทของเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67ทั้งนี้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 3
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
of 4