คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจัดหาประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการละเมิดจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมที่ครอบครองมาก่อนใช้ ป.ที่ดิน โดยมิได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยชอบแม้ว่าเดิมที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตาม ป.ที่ดิน มาตรา 10 และมาตรา 11 จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกสร้างอาคารและปลูกต้นไม้และพืชผลต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมโดยสุจริตตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1336 เรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนอาคารและเก็บเกี่ยวพืชผลขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉยนั้น ก็มีผลเพียงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เพื่อที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ชนะคดีแล้วจะได้ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลตามขั้นตอนของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา, 296 เบญจ 296 ฉ และมาตรา 296 สัตต แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 หามีสิทธิที่จะใช้อำนาจโดยพลการเข้าดำเนินการรื้อถอนเพื่อขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยตนเองไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไถปรับหน้าดินทำให้พืชผลโจทก์เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินทับที่ดินเดิมของผู้อื่นถือเป็นโมฆะ ผู้รับโอนไม่สุจริตไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ การที่ ก. ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5283 โดยรวมที่ดินพิพาทด้วย โดยที่โจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยแต่อย่างใด การออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทของโจทก์ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยผู้รับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อการออกโฉนดเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการออกโดยไม่ชอบ ทำให้ที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทของโจทก์ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายในโฉนดที่ดินจำเลยอีกต่อไป ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนเสียได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง หากไม่มีหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด จะขอออกไม่ได้
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำหนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลที่ดิน พ.ศ. 2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนด ผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิ
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง ป.ที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ร.บ.ให้ใช้ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง เป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์