พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172-3173/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ประเด็นความรับผิดนายจ้าง/ตัวแทน - การแก้ไขคำพิพากษา
คดีในสำนวนที่สองศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 49,150 บาท ฎีกาของโจทก์ในสำนวนที่สองจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีในสำนวนแรกเมื่อวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียวแล้ว จึงทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สองที่ว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยมีส่วนประมาทหนึ่งในสามส่วน และจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทสองในสามส่วน ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 โดยหาได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วยไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และนาง บ. เป็นตัวแทนในการนำรถไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ยังคงฎีกาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในเนื้อหาดังเช่นที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2
แม้การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่คดีนี้ประเด็นในชั้นฎีกามีเพียงว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เท่านั้น จึงไม่จำต้องรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คดีในสำนวนแรกเมื่อวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียวแล้ว จึงทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สองที่ว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยมีส่วนประมาทหนึ่งในสามส่วน และจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทสองในสามส่วน ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 โดยหาได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วยไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และนาง บ. เป็นตัวแทนในการนำรถไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ยังคงฎีกาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในเนื้อหาดังเช่นที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2
แม้การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่คดีนี้ประเด็นในชั้นฎีกามีเพียงว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เท่านั้น จึงไม่จำต้องรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐละเมิด: ฟ้องหน่วยงานได้ แต่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่ขนส่ง กระทำการโดยทุจริต โดยร่วมกับคนร้ายเพื่อจะนำรถยนต์นั้นไปหลอกขายให้แก่ผู้อื่นหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ตรวจสอบหลักฐานให้ละเอียดว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือเอกสารปลอม และรับจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวทั้งสองคราว เห็นได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้นไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หากเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์กรณีต้องด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ โจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ได้เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ คงฟ้องได้แต่จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 สังกัดอยู่นั้น ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใดและที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ คงฟ้องได้แต่จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 สังกัดอยู่นั้น ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใดและที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: รูปแบบไม่สำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การมอบอำนาจจริงและไม่มีเหตุสงสัย
การร้องทุกข์ในคดีอาญา กฎหมายมิได้กำหนดแบบการร้องทุกข์ไว้ จึงอาจร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ สาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้นายวิโรจน์ร้องทุกข์จริงหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลมิได้สงสัยและจำเลยไม่ได้ให้การหรือนำสืบต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง ถือว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15549/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบ: การฎีกาโดยคัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่โต้แย้งเหตุผลศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาที่คัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่บรรทัดแรกจนถึงบรรทัดสุดท้ายทุกตัว ต่างแต่ลักษณะตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบและมีเหตุผลประกอบข้อโต้แย้งอย่างไร ทั้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีขึ้นก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษา จึงไม่อาจโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ล่วงหน้าได้อยู่ในตัว ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13894/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐสั่งจ่ายเงินขาดบัญชี และการทุจริตยักยอกเงินของหน่วยงาน
ฎีกาโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระเงิน 4,912,961.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มิได้ดำเนินการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายในคดีดังกล่าว เพราะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ไปก่อนแล้วนั้น ไม่ใช่การโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มีผลผูกพันโจทก์ร่วมว่า จำเลยร่วมกันทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปจำนวน 4,496,323.83 บาท ว่ามีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้ว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12473/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังการซื้อขายในระยะเวลาห้ามโอน และการสละเจตนาครอบครอง
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิบในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงว่า ป. ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ และ ป. กับโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ขึ้นกล่าวแก้เป็นประเด็น ปัญหาทั้งสองข้อดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสิบในส่วนนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น (เฉพาะจำเลยที่ 1) และในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสิบจึงยกขึ้นกล่าวแก้เป็นประเด็นในคำแก้ฎีกาในชั้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่ ป. โดยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ป. โดยมิได้กลับเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินอีก แสดงว่าจำเลยที่ 1 สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง แล้ว แม้ ป. จะได้ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน ป. ไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิโดยบทบัญญัติแห่ง ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ แต่เมื่อ ป. และโจทก์ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังครอบครองที่ดินอยู่ จึงถือได้ว่า ป. และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปแบ่งแยกโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 9 ไม่อาจนำที่ดินพิพาทบางส่วนไปจดทะเบียนจำนอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลล่างทั้งสองที่วินิจฉัยว่า ป. และโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 (ประเด็นนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมาย จึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่ ป. โดยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ป. โดยมิได้กลับเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินอีก แสดงว่าจำเลยที่ 1 สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง แล้ว แม้ ป. จะได้ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน ป. ไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิโดยบทบัญญัติแห่ง ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ แต่เมื่อ ป. และโจทก์ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังครอบครองที่ดินอยู่ จึงถือได้ว่า ป. และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปแบ่งแยกโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 9 ไม่อาจนำที่ดินพิพาทบางส่วนไปจดทะเบียนจำนอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลล่างทั้งสองที่วินิจฉัยว่า ป. และโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 (ประเด็นนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมาย จึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนและการไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่ควรยกขึ้นต่อสู้ในคดีเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันทั้งในคดีของศาลแพ่งและศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และอยู่ในชั้นบังคับคดี คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ทั้งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยทั้งสองคดีได้ ประกอบกับตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้หาใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ กรณีจึงไม่ได้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ เป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายกำหนดให้กระทำได้โดยชอบ จึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ และหากโจทก์เห็นว่ามูลหนี้ที่จำเลยนำมาฟ้องมีข้อบกพร่องประการใดหรือไม่มีมูลหนี้อยู่จริง หรือโจทก์มีข้ออ้างข้อเถียงประการใดที่จะทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อจำเลยแล้ว โจทก์ก็สามารถยกขึ้นต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่จำต้องมาฟ้องเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ หรือโจทก์มีความจำเป็นประการใดที่จำต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้นซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11963/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือน: การพิจารณาความสำเร็จของความผิดและข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 217, 83 จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับแก้อุทธรณ์ของโจทก์และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยตาม ป.อ. มาตรา 218 (1), 83 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้ ขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นฎีกาในข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายและครอบครัวย้ายจากบ้านที่เกิดเหตุ ไม่มีใครพักอาศัยอยู่ แต่ผู้เสียหายยังคงไปๆ มาๆ ที่บ้านที่เกิดเหตุ และมีเตียงนอน อุปกรณ์เครื่องนอน โทรทัศน์สีและกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าสำหรับใช้ประโยชน์ในการมาพักอาศัยเป็นครั้งคราวอยู่ด้วย จึงรับฟังได้ว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย
การกระทำที่จะเป็นความผิดสำเร็จฐานวางเพลิงเผาทรัพย์นั้นไม่หมายความเพียงว่า เอาเพลิงไปวางเท่านั้น หากต้องเป็นการเผาทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์นั้นติดไฟขึ้นด้วย จากสภาพในที่เกิดเหตุ ทรัพย์สินที่ถูกเผาไหม้เสียหายมีเพียงเตียงนอนและเบาะนอน ส่วนฝาบ้านชั้นล่างมีเพียงรอยเกรียม ดำ ยังไม่ไหม้ไฟ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จ คงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย ตาม ป.อ. มาตรา 218 (1) ประกอบมาตรา 80, 83 เท่านั้น
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายและครอบครัวย้ายจากบ้านที่เกิดเหตุ ไม่มีใครพักอาศัยอยู่ แต่ผู้เสียหายยังคงไปๆ มาๆ ที่บ้านที่เกิดเหตุ และมีเตียงนอน อุปกรณ์เครื่องนอน โทรทัศน์สีและกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าสำหรับใช้ประโยชน์ในการมาพักอาศัยเป็นครั้งคราวอยู่ด้วย จึงรับฟังได้ว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย
การกระทำที่จะเป็นความผิดสำเร็จฐานวางเพลิงเผาทรัพย์นั้นไม่หมายความเพียงว่า เอาเพลิงไปวางเท่านั้น หากต้องเป็นการเผาทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์นั้นติดไฟขึ้นด้วย จากสภาพในที่เกิดเหตุ ทรัพย์สินที่ถูกเผาไหม้เสียหายมีเพียงเตียงนอนและเบาะนอน ส่วนฝาบ้านชั้นล่างมีเพียงรอยเกรียม ดำ ยังไม่ไหม้ไฟ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จ คงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย ตาม ป.อ. มาตรา 218 (1) ประกอบมาตรา 80, 83 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11735/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าครบถ้วน ไม่นับแยกแต่ละครั้ง
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า เงินค่าซื้อขายส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อจำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไว้ครบถ้วนแล้ว แสดงว่ามูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายนี้ถึงกำหนดชำระต่อเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้จำเลย 2 ครั้ง อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 จะนับอายุความแยกเป็นแต่ละครั้งที่มีการส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไม่ได้ จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 นับถึงวันฟ้องวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ค่าสินค้าที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยในครั้งแรกจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10565/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ และการแยกกรรมความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรวบรวมขายเมล็ดพันธุ์พืชชนิดข้าวเปลือกเจ้าซึ่งเสื่อมคุณภาพ ให้แก่ผู้ใด เมื่อใด สถานที่ใด จำนวนและราคาเท่าไร ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องก็สามารถเข้าใจข้อหาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ติดฉลากวันสิ้นอายุการใช้ทำพันธุ์เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่ผ่านการทดสอบความงอก และจำเลยไม่ได้เตรียมเมล็ดพันธุ์พืชไว้จำหน่ายหรือได้จำหน่ายให้แก่ผู้ใด เป็นฎีกาในทำนองปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ฎีกาดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 4 ซึ่งไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ
ความผิดฐานเป็นผู้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าโดยไม่ระบุเดือนและปีที่รวบรวม เดือนและปีที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 มาตรา 22 (2) และความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพตามมาตรา 36 มีเจตนากระทำความผิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นคนละกรรมกัน แม้จำเลยยังไม่ได้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวม ก็ไม่ทำให้เป็นความผิดกรรมเดียวกัน
จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ติดฉลากวันสิ้นอายุการใช้ทำพันธุ์เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่ผ่านการทดสอบความงอก และจำเลยไม่ได้เตรียมเมล็ดพันธุ์พืชไว้จำหน่ายหรือได้จำหน่ายให้แก่ผู้ใด เป็นฎีกาในทำนองปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ฎีกาดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 4 ซึ่งไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ
ความผิดฐานเป็นผู้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าโดยไม่ระบุเดือนและปีที่รวบรวม เดือนและปีที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 มาตรา 22 (2) และความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพตามมาตรา 36 มีเจตนากระทำความผิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นคนละกรรมกัน แม้จำเลยยังไม่ได้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวม ก็ไม่ทำให้เป็นความผิดกรรมเดียวกัน