พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9925/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุข้อฎีกาใหม่ ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ แม้เป็นเรื่องการส่งมอบเงินผ่านบริษัทจัดหางาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ 230,000 บาท และได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นคนจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 โดยตรงไม่ได้ผ่านบริษัทจัดหางาน ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับเงินกู้ 230,000 บาท จากโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำนวน 230,000 บาท และจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินดังกล่าวไปมอบให้บริษัทจัดหางานทันที จำเลยที่ 1 จึงได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ เป็นกรณีที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์โดยตลอดว่า โจทก์มอบเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน 230,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้ยืมเงิน ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับเงินกู้ 230,000 บาท จากโจทก์ ดังนี้ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศให้แก่จำเลยทั้งสามไปก่อน และถือว่ามีการส่งมอบเงินที่โจทก์ให้จำเลยทั้งสามยืมแล้ว หาใช่ว่าจำเลยทั้งสามต้องรับเงินจากโจทก์โดยตรงไม่ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงยุติว่า โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศให้แก่จำเลยทั้งสามผ่านบริษัทจัดหางานไปก่อนหรือไม่ เพียงใด ที่โจทก์ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330-9333/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ชอบตามขั้นตอน ก่อให้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาเสีย
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องโดยขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มว่า จำเลยทั้งสามต่อเติมผนังคอนกรีตด้านหลังตึกแถวของจำเลยทั้งสามรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริตหรือไม่ด้วย หากศาลไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจึงขอคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า คำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชัดแจ้งว่าจะต่อสู้ไปในทางใด จึงไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ ถือเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดของศาลชั้นต้นนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้จำเลยทั้งสามจะถือเอาคำร้องของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วไม่ได้เพราะเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในปัญหาเรื่องนี้ให้จำเลยทั้งสาม โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวมิให้อุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยทั้งสามถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินฝาก – ผู้ฝากตามสัญญาเป็นผู้มีสิทธิเบิกถอน แม้มีการนำเงินเข้าบัญชีให้ผู้อื่น
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ท. ในนามของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากเงินต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ท. ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินฝากที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และ 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ว่าสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น จึงต้องย้อนสำนวน
ตามคำให้การของจำเลยเป็นการต่อสู้ว่า สัญญากู้ยืมปลอมทั้งฉบับ มิใช่ปลอมแค่เพียงบางส่วน ดังนั้น คำให้การที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 120,000 บาท เป็นเพียงเหตุผลประกอบการปฏิเสธเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่ถึงแก่ความตาย: ผู้จัดการแทนไม่ใช่ผู้เสียหายจริง จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อ
นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. เป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตายและโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปด้วยความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหายเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์นั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยและผู้ร้องที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8510/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นที่ยกขึ้นไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ว่า ฟ้องเคลือบคลุมและคดีขาดอายุความ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยไม่ฎีกาประเด็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่อาจยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1910/2542 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ จำเลยทั้งสองได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จำเลยทั้งสองกลับมิได้อุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ เท่ากับจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์โต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ การที่จำเลยทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงใหม่หลังรับสารภาพขัด พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง/อาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 6 ซอง น้ำหนักสุทธิ 6.859 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6.655 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อันต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา โดยไม่ปรากฏว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฎีกาของจำเลยที่ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางไม่สามารถนับได้เป็นจำนวนหน่วยการใช้และโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องฟังเป็นคุณว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ และเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนทำให้ไม่เกิดสินสมรส และผลต่อการบังคับคดี
ป.พ.พ. มาตรา 1497 บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้" เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่า การสมรสระหว่างตนเองกับ ช.เป็นการสมรสซ้อน ผลคือทำให้การสมรสเป็นโมฆะตามบทกฎหมายดังกล่าว การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคแรก ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยร่วมที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ไม่ใช่สินสมรส
โจทก์ยื่นคำคัดค้านแต่เพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสที่ตกทอดเป็นมรดกของ ช. ไม่ได้คัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินที่ ช.ซื้อหรือร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 ซื้อหามา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ซื้อหามาด้วยเงินของตนเอง แล้วใส่ชื่อของบุตรสาวไว้ ต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยร่วมที่ 1 เป็นข้อที่โจทก์ไม่ได้คัดค้านและไม่ได้นำสืบต่อสู้ไว้ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาในคดี จำเลยร่วมที่ 1 ยื่นคำให้การว่า การสมรสระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. เป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อน โจทก์จึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากคำให้การของจำเลยร่วมที่ 1 แล้ว แต่ยังยินยอมที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมที่ 1 โดยในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า "ในส่วนของจำเลยร่วมทั้งสามขอรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของช." ดังนั้น หาก ช. ไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่จำเลยร่วมทั้งสาม โจทก์ก็จะเรียกร้องให้จำเลยร่วมทั้งสามรับผิดไม่ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสมรสซ้อนอยู่แล้วจึงไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ยื่นคำคัดค้านแต่เพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสที่ตกทอดเป็นมรดกของ ช. ไม่ได้คัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินที่ ช.ซื้อหรือร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 ซื้อหามา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ซื้อหามาด้วยเงินของตนเอง แล้วใส่ชื่อของบุตรสาวไว้ ต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยร่วมที่ 1 เป็นข้อที่โจทก์ไม่ได้คัดค้านและไม่ได้นำสืบต่อสู้ไว้ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาในคดี จำเลยร่วมที่ 1 ยื่นคำให้การว่า การสมรสระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. เป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อน โจทก์จึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากคำให้การของจำเลยร่วมที่ 1 แล้ว แต่ยังยินยอมที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมที่ 1 โดยในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า "ในส่วนของจำเลยร่วมทั้งสามขอรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของช." ดังนั้น หาก ช. ไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่จำเลยร่วมทั้งสาม โจทก์ก็จะเรียกร้องให้จำเลยร่วมทั้งสามรับผิดไม่ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสมรสซ้อนอยู่แล้วจึงไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7135/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและขอบเขตความผิดฐานบุกรุกทำไม้ในเขตป่าสงวน การลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้ว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพของจำเลยว่ามีเจตนากระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมา จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยและมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มตรา 15
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน