พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการหักล้าง, การครอบครองปรปักษ์
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ได้จดทะเบียนแล้ว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้หลังเสียชีวิต และความรับผิดของบริษัทประกัน
คดีอาญาที่พนักงานอัยการและโจทก์ซึ่งเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
คดีฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินอันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องเพียงปีละ 100 บาท ไม่มีการต่อสู้กรรมสิทธิ์ อุทธรณ์และฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใด จึงเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การพิพากษาและการยกฟ้อง
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่าเด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงทั้งสามถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงทั้งสามตามป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้าง ส.เป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้าง ส. เป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงทั้งสามจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง.
แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้าง ส.เป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้าง ส. เป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงทั้งสามจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, ความสมบูรณ์ของฟ้อง, คำรับสารภาพ, และเหตุรอการลงโทษในคดีพนัน
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร แต่ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่า คดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนเป็นผู้สอบสวน จำเลยมิได้โต้แย้งว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนไม่มีอำนาจสอบสวน ดังนั้น ความผิดที่เกิดขึ้นจะฟ้องที่ศาลซึ่งท้องที่ที่สอบสวนอยู่ในเขตอำนาจก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 เมื่อสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงธนบุรี โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงธนบุรีได้
โจทก์ฟ้องด้วยวาจา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกโดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยกับพวกที่หลบหนีและ ด. กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วน ด. กับพวกเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เล่น และโพยของกลางเป็นของ ด. กับพวกจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หากจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งคดีนี้จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์โดยมิได้หลงข้อต่อสู้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิใช่เจ้ามือรับกินรับใช้ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
โจทก์ฟ้องด้วยวาจา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกโดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยกับพวกที่หลบหนีและ ด. กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วน ด. กับพวกเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เล่น และโพยของกลางเป็นของ ด. กับพวกจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หากจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งคดีนี้จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์โดยมิได้หลงข้อต่อสู้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิใช่เจ้ามือรับกินรับใช้ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3116/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องละเมิดหลังมีคำพิพากษาในคดีอาญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าบางประเด็นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองเพราะเห็นว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่จำต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำ จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่จำเลยที่ 2 คงแก้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 2 หาได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นแก้อุทธรณ์ด้วยไม่ ดังนั้น ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 9201/2542 นั้น จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง โดยมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1447/2543 นั้น ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรทรัพย์รวม 4 รายการ และมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ทั้ง 4 รายการแก่โจทก์ที่ 2 โดยคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 ในการรับเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไว้และโจทก์ที่ 2 ได้รับทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว 4 รายการ คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 20, 24, 25 และ 26 รวมเป็นเงิน 8,700 บาท ส่วนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 17 ได้รับคืนเฉพาะองค์พระส่วนทองคำที่ลอกไปยังไม่ได้คืน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวนอื่นๆ นอกจากทรัพย์ 4 รายการพร้อมองค์พระดังกล่าว ซึ่งศาลในคดีอาญาทั้งสองคดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้บางประเด็นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 9201/2542 นั้น จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง โดยมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1447/2543 นั้น ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรทรัพย์รวม 4 รายการ และมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ทั้ง 4 รายการแก่โจทก์ที่ 2 โดยคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 ในการรับเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไว้และโจทก์ที่ 2 ได้รับทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 แล้ว 4 รายการ คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 20, 24, 25 และ 26 รวมเป็นเงิน 8,700 บาท ส่วนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 17 ได้รับคืนเฉพาะองค์พระส่วนทองคำที่ลอกไปยังไม่ได้คืน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวนอื่นๆ นอกจากทรัพย์ 4 รายการพร้อมองค์พระดังกล่าว ซึ่งศาลในคดีอาญาทั้งสองคดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้บางประเด็นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องอ้างเหตุตามที่กล่าวอ้างในฟ้องเดิม การเปลี่ยนแปลงเหตุฟ้องในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ผู้ตาย และมิได้เป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง ผ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก จ. ซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งของ ป. ผู้ตายตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้แก้ไข ดังนั้น เหตุที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเป็นคนละเหตุกับที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นภริยาของ ป. และเป็นบุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิง ผ. โจทก์จึงเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของเด็กหญิง ผ. มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดโทษตามฟ้องและหลักการลงโทษกรรมเดียวเมื่อโจทก์มิได้ขอลงโทษทุกกรรม
ที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารมิใช่ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร นั้น เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม 5 กรรม ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องโดยไม่มีรายละเอียดให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรม ศาลจะลงโทษจำเลยในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่ได้ จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม กรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม 5 กรรม ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องโดยไม่มีรายละเอียดให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรม ศาลจะลงโทษจำเลยในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่ได้ จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม กรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่า ว. หัวหน้าหน่วยงานคดี กองนิติการ สังกัดกรมโจทก์ ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดนับตั้งแต่นั้นด้วย เพราะ ว. และอธิบดีกรมโจทก์ต่างก็ปฏิบัติราชการในหน้าที่ของโจทก์เช่นเดียวกัน เพียงแต่ปฏิบัติงานตามระเบียบการบังคับบัญชาที่แตกต่างกันตามหน้าที่เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 21 ธันวาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ในชั้นฎีกา จำเลยกลับฎีกาว่า คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งที่โจทก์ต่างแต่งตั้งได้สอบสวนหาตัวผู้กระทำละเมิดแล้วมีความเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 จึงถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 21 ธันวาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จำเลยจะอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาเดียวกันคือปัญหาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ แต่ข้อที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาแตกต่างไปจากข้อที่เคยยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาความผิดฐานแจ้งความเท็จและปลอมเอกสารราชการ โดยจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่มีความผิด และให้ยกคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว จึงเท่ากับยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดฐานนี้อีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15