พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากเอกสาร การค้ำประกัน และผลกระทบต่อความรับผิดในสัญญากู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชอบตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากโจทก์ แต่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินมอบให้โจทก์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ เพื่อให้ผ่อนผันการจับกุม ย. ตามหมายจับของศาล และเพื่อค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ หรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย หาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบไม่
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางขึ้นอ้างไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นนิติกรรมอำพรางการค้ำประกัน แต่การค้ำประกันตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็หมายถึงการค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ และก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งในเบื้องต้นแล้วว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นการนอกประเด็นหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางขึ้นอ้างไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นนิติกรรมอำพรางการค้ำประกัน แต่การค้ำประกันตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็หมายถึงการค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ และก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งในเบื้องต้นแล้วว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นการนอกประเด็นหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และสิทธิในการฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานจำเลย โดยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยและมีคำพิพากษาใหม่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กล่าวคือ จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เพราะหากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลย ก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยถูกยกเลิกเพิกถอน ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการรับวินิจฉัยโดยไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และถือไม่ได้ว่าฎีกาของโจทก์เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์มรดกที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับพิจารณา แม้จะไม่ได้ฟ้องมาพร้อมกัน
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของ ท. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 1 และ ส. ผู้วายชนม์ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินดังกล่าวร่วมกัน ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งปันที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 มิได้มีสิทธิทางแพ่งโต้แย้งกับโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งในส่วนนี้ การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินกรอบอุทธรณ์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องการกู้เงิน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการรับเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลย และจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้เนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ประการเดียวว่า เมื่อจำเลยรับแล้วว่าได้ทำสัญญากู้เงินจึงไม่มีสิทธินำสืบว่าได้รับจากโจทก์หรือสามีโจทก์เป็นค่ามัดจำที่ดิน เพราะเป็นการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง เป็นการวินิจฉัยครบถ้วนตามอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วพิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินกู้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหานี้แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่เมื่อเป็นเรื่องนอกประเด็นซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกขึ้นวินิจฉัยโดยไม่ชอบ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาว่าจำเลยมิได้กู้เงินโจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัย เพราะถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยใช้จอบยาวประมาณ 1 เมตรเศษ เป็นจอบขนาดใหญ่ตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะถึง 2 ถึง 3 ครั้งในขณะที่ผู้ตายนอนนิ่งอยู่ ซึ่งจำเลยมีโอกาสที่จะเลือกตีผู้ตายที่ใดก็ได้แต่จำเลยกลับเลือกตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญถึงขนาดกะโหลกศีรษะผู้ตายแตกและบางส่วนหลุดหายไป ทั้งบาดแผลลึกถึงสมองเนื้อสมองหายไปอันแสดงว่าจำเลยตีทำร้ายอย่างรุนแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลในการกระทำของจำเลยได้ว่าอาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ แม้มูลเหตุที่จำเลยไม่พอใจผู้ตายจะไม่ใช่สาเหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตายก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม้ฟืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่รับและพิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ริบไม้ฟืนของกลางไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม้ฟืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่รับและพิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ริบไม้ฟืนของกลางไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม ห้ามฎีกาในประเด็นที่รับสารภาพในชั้นศาล และการใช้ดุลพินิจลงโทษคดีพนัน
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และยอดเงินทุนหมุนเวียน 4,480,100 บาท เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นพนันและเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยรับสารภาพ-แก้โทษเล็กน้อย-ไม่อุทธรณ์พยานหลักฐาน-ฎีกาข้อเท็จจริง
เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ปัญหาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ เมื่อจำเลยฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและบทกำหนดโทษกับแก้โทษปรับที่ลงแก่จำเลย ก็เป็นเพียงปรับวรรคของบทความผิดและบทกำหนดโทษให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวนั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและบทกำหนดโทษกับแก้โทษปรับที่ลงแก่จำเลย ก็เป็นเพียงปรับวรรคของบทความผิดและบทกำหนดโทษให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวนั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะถึงที่สุดแล้ว และฎีกาไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาว่าค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นค่าภาษีอากรหรือค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องเป็นผู้ชำระตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ โจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยโต้เถียงกันมาแล้วและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษาว่าปัญหาดังกล่าวคู่ความมิได้โต้เถียงกันแล้วเนื่องจากโจทก์แถลงยอมรับว่าจะเป็นผู้ชำระเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวอีกเป็นการไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าคู่ความฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติ และเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าจำเลยทั้งสี่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทนและคู่ความยกเลิกวันนัดชำระหนี้เดิมเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีท้องถิ่น ต่อมาศาลชั้นต้นได้ไกล่เกลี่ยคู่ความและแก้ไขเหตุโต้แย้งดังกล่าว คู่ความจะต้องกำหนดวันนัดให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และกำหนดวันให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยทั้งสี่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่ปรากฏคู่ความหรือศาลชั้นต้นได้กำหนดวันชำระหนี้ขึ้นใหม่เพื่อให้คู่ความปฏิบัติแทนวันนัดเดิมตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหน้าที่ในการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังไม่ถึงกำหนดชำระ จึงยังไม่มีคู่ความฝ่ายใดตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเนื้อหาในฎีกาของจำเลยทั้งสี่ยกขึ้นกล่าวอ้างหาได้มีข้อความส่วนใดที่โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ แต่กลับฎีกากล่าวอ้างว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและภาษีธุรกิจเฉพาะก็เป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้ง ๆ ที่ปัญหาเช่นว่านั้นได้ถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของจำเลยทั้งสี่เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา เหตุจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ในศาลล่าง
จำเลยฎีกาว่าผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์มิใช่ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลย ถือว่าจำเลยไม่เคยทราบถึงการบอกเลิกสัญญา ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว