พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงใหม่, ลดโทษมาตรา 75, และรอการลงโทษสำหรับเยาวชน
ฎีกาของจำเลยที่ปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานรับของโจรซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยและไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยโดยไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยโดยไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องยาเสพติด: ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ และการลดโทษตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่คนละตลอดชีวิต จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา นอกจากวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นลงโทษจำเลยทั้งสี่กระทงละ 25 ปี รวม 2 กระทง จำคุกคนละ 50 ปี ก็มิใช่การพิพากษายืน คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสี่มีสิทธิฎีกาได้ แต่ก็ต้องฎีกาในปัญหาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้ และปัญหาเรื่องขอให้ลงโทษสถานเบาซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และจำเลยที่ 4 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับสารภาพถือว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาเรื่องการป้องกันตัวต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ก่อน
โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายและมีเจตนาฆ่าผู้ตาย โดยจำเลยใช้มีดพร้าเป็นอาวุธฟันศีรษะอย่างแรง 1 ที จนกระโหลกศีรษะแยกออกเป็นสองซีก ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที เมื่อจับกุมได้จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยใช้มีดพร้าฟันผู้ตายเป็นการป้องกันตัวเพราะผู้ตายจะใช้มีดพร้าฟันจำเลยก่อน จำเลยแย่ง มีดพร้าได้จึงฟันผู้ตาย ส่วนจำเลยนำสืบว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปช่วยนาย ก. ก่อสร้างบ้าน ไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยมิได้นำสืบต่อสู้คดีว่าจำเลยใช้มีดพร้าของกลางฟันผู้ตายเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์อ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยาน หลักฐานก็เพื่อสนับสนุนข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยใช้มีดพร้าฟันผู้ตายตามที่โจทก์นำสืบเท่านั้น เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายจะทำร้ายจำเลยก่อนหรือผู้ตายข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรง ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ จำเลยฎีกาว่า การที่จำเลยใช้มีดพร้าฟันผู้ตายเป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ครบถ้วนของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยจำเลยครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จาก ก. ผู้กู้ ตามทางนำสืบของจำเลยผู้ค้ำประกัน แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่น โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาท และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์รับว่าได้รับเงินจาก ก. แต่ปฏิเสธว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามคำปฏิเสธของโจทก์ โจทก์ไม่นำสืบพยานเช่นว่านั้น จำต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ก. ชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาทแล้ว ดังนี้ เป็นการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในประเด็นข้อพิพาทเดิมขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นการตั้งประเด็นใหม่หรือยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นใหม่แต่อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคดีอาญา แม้เจ้าของทรัพย์สินไม่ตรงตามฟ้อง แต่มีผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์แล้ว ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นเจ้าของทรัพย์
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยยักยอกเงินของร้าน ท. ซึ่งเป็นของ ส. จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้จะปรากฏต่อมาว่าร้าน ท. ไม่ใช่เป็นของ ส. แต่เป็นของ ต. แต่ ต. ได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยแล้ว ฉะนั้นประเด็นที่ว่าร้าน ท. เป็นของ ต. หรือ ส. จึงเป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความ แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ แต่ตัวการให้สัตยาบันแล้ว ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ก็เป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบและจำเลยถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนเพื่อกิจกรรมนั้นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด และแม้การมอบอำนาจจะมิได้ทำเป็นหนังสือแต่ทนายโจทก์ก็ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีนี้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของทนายโจทก์เป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 โดยชอบแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนเพื่อกิจกรรมนั้นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด และแม้การมอบอำนาจจะมิได้ทำเป็นหนังสือแต่ทนายโจทก์ก็ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีนี้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของทนายโจทก์เป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งไม่รับสมัครเลือกตั้งและการหมดอายุความของคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลนครระยองที่ไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครระยอง และพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ปรากฏว่าในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การเลือกตั้งได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้นไม่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะชอบหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ก็ไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้คดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์
ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย มีเนื้อที่ 20 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,250 บาท คิดเป็นทุนทรัพย์พิพาท 25,000 บาท ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยตามคำฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับสารภาพในชั้นฎีกา และการลดโทษรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายโดยการบุกรุกดังกล่าวจำเลยได้ใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายภายหลังจากการกระทำความผิดฐานบุกรุกสำเร็จแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างอีกด้วย ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์รายงานสืบเสาะและพิจารณาในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกามีอำนาจบวกโทษคดีที่รอการลงโทษตามกฎหมาย
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบ จำเลยไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา