พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7307/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และการโต้แย้งพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาคอนกรีตออกไปจากที่ดินของโจทก์กับเรียกค่าเสียหาย จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดี ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง กับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,000 บาท แก่โจทก์ ไม่มีคู่ความอุทธรณ์โต้แย้งว่า ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวสูงหรือต่ำเกินไป เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีในส่วนฟ้องขับไล่ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ถือได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้องที่ดินของโจทก์อาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาคำแถลงของ ส. เจ้าพนักงานผู้รังวัดที่ดินซึ่งแถลงต่อศาลชั้นต้นแล้ววินิจฉัยว่า ส. ได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยไปตามหลักวิชา ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เจ้าพนักงานผู้รังวัดได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยตามคำท้าทุกประการ จำเลยฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงตามคำท้าของโจทก์และจำเลย คำแถลงของ ส. ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่ารับฟังเป็นพยานคนกลาง เป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ฎีกาของจำเลยข้อที่เหลือเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยแล้ว ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาคำแถลงของ ส. เจ้าพนักงานผู้รังวัดที่ดินซึ่งแถลงต่อศาลชั้นต้นแล้ววินิจฉัยว่า ส. ได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยไปตามหลักวิชา ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เจ้าพนักงานผู้รังวัดได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยตามคำท้าทุกประการ จำเลยฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงตามคำท้าของโจทก์และจำเลย คำแถลงของ ส. ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่ารับฟังเป็นพยานคนกลาง เป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ฎีกาของจำเลยข้อที่เหลือเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยแล้ว ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุจิตบกพร่องหลังศาลชั้นต้นพิพากษา
การที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตลอดข้อหา และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยต่อมาจำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่สมควรต้องรับโทษเพราะเหตุจิตบกพร่องตาม ป.อ. มาตรา 65 ขึ้นกล่าวอ้าง จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายส่งผลถึงการมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยอยู่ระหว่างการคุมความประพฤติในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกและต้องคำพิพากษาให้จำคุก โดยจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุก 1 ปี รอการลงโทษ 2 ปี รายงานตัว 3 เดือนต่อครั้ง บำเพ็ญประโยชน์ 20 ชั่วโมง ซึ่งยังไม่ครบกำหนด และจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำผิดเงื่อนไขในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยกคดีดังกล่าวขึ้นพิจารณา โจทก์เพิ่งยกข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว เมื่อมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด และข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้องว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนี้การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว เมื่อมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด และข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้องว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนี้การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องบุริมสิทธิค่าใช้จ่ายส่วนกลางกับการบังคับคดีจำนอง การยกอายุความ และข้อจำกัดการฎีกา
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับจำนองแก่ห้องชุด ซึ่งเป็นทรัพย์สินจำนองตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดดังกล่าวค้างจ่ายแก่ผู้ร้อง ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือห้องชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของจำเลย และเมื่อปรากฏว่าผู้จัดการผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว บุริมสิทธิของผู้ร้องจึงอยู่ในลำดับก่อนจำนองตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) และ (2) และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า หนี้ของผู้ร้องที่นำมาขอรับชำระหนี้นั้นขาดอายุความแล้วเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจากทรัพย์สินจำนองก่อนโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในทรัพย์สินจำนองนั้น
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่า สิทธิเรียกร้องตามคำร้องขอของผู้ร้องเป็นหนี้ที่จะต้องชำระเป็นงวด ๆ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายเป็นเงินค้างจ่าย ไม่อาจใช้อายุความ 5 ปี นั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่า สิทธิเรียกร้องตามคำร้องขอของผู้ร้องเป็นหนี้ที่จะต้องชำระเป็นงวด ๆ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายเป็นเงินค้างจ่าย ไม่อาจใช้อายุความ 5 ปี นั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม, อายุความ, และการแก้ไขดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือรับสภาพความผิดจำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวในระหว่างดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของโจทก์ และจำเลยยินยอมชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยให้ครบถ้วนภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2554 หนังสือรับสภาพความผิดดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวตกลงยอมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้โดยไม่ชอบ มิใช่คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้ระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้ระงับไป
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ไป มูลหนี้จึงเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าเงินหายไปและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2553 จำเลยซึ่งเป็นเหรัญญิกของโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 หาใช่ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ และจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ดังที่วินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิด ฉะนั้น จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินจำนวนตามฟ้องโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยคัดลอกข้อความทั้งหมดมาจากอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีข้อแตกต่างกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนภายใน 15 วัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 มิใช่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตามที่โจทก์มีคำขอ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จึงไม่ถูกต้องและเกินคำขอซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ไป มูลหนี้จึงเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าเงินหายไปและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2553 จำเลยซึ่งเป็นเหรัญญิกของโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 หาใช่ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ และจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ดังที่วินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิด ฉะนั้น จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินจำนวนตามฟ้องโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยคัดลอกข้อความทั้งหมดมาจากอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีข้อแตกต่างกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนภายใน 15 วัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 มิใช่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตามที่โจทก์มีคำขอ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จึงไม่ถูกต้องและเกินคำขอซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ชำระราคาสินค้าที่ค้างชำระเป็นเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลย เนื่องจากทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์ยังไม่ชำระราคาสินค้าจำนวน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยส่งมอบแผ่นหลังคาเหล็กให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามสัญญา โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าไว้ได้ เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่อาจฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและการใช้สิทธิเรียกร้องที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ศาลฎีกายืนคำพิพากษายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาและเรียกร้องค่าเสียหายจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 หยุดชำระค่าเช่าซื้อเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ทั้งโจทก์มิได้ใช้สิทธิร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา การที่โจทก์มาฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธต่างๆ หลายประการ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมีเพียงว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกันตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิดในคดีอาญาตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างสัญญาเช่าซื้อแนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่โจทก์อยู่ในบังคับที่จะต้องบรรยายสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นให้ปรากฏในคำฟ้อง มิใช่อ้างเพียงเอกสารท้ายฟ้องซึ่งมีข้อตกลงต่างจากที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหาบรรยายฟ้องมา แล้วจะถือเอาว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องในเรื่องนั้น ๆ มาแล้วหาได้ไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิดอาญาเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้ฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์จะฎีกาในปัญหานี้ได้ เพราะเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว 15 งวด ครั้งสุดท้ายเป็นการชำระของงวดวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเป็นของกลาง ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่างวด การที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 16 ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ การที่โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และอาศัยเป็นเหตุในการเลิกสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ต่อมา ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่าเช่าซื้อเอง อันเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอริบรถยนต์ที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกริบ ถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ การฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว 15 งวด ครั้งสุดท้ายเป็นการชำระของงวดวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเป็นของกลาง ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่างวด การที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 16 ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ การที่โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และอาศัยเป็นเหตุในการเลิกสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ต่อมา ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่าเช่าซื้อเอง อันเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอริบรถยนต์ที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกริบ ถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ การฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย/จำนองเมื่อผู้ขาย/จำนองไม่มีสิทธิในที่ดิน และการไม่เกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก อ. และ อ. ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ถึงแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ อ. จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อันมีผลให้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ อ. ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การโอนทรัพย์ให้แก่กันย่อมกระทำได้ โดยการส่งมอบการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อ อ. ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดย อ. ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทอีกต่อไป อันถือเป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ อ. จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. และจำเลยที่ 1 จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 1 ก็หาได้สิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เนื่องจากเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก อ. จึงไม่มีสิทธิดีกว่า อ. ผู้โอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้
อ. ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองกับ บ. เพราะไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลตามกฎหมาย โดยไม่คำนึงว่า บ. รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนการจำนองจาก บ. ด้วยได้
การที่ อ. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ บ. หลังจากนั้น บ. ได้โอนการจำนองที่ดินพิพาทไปยังจำเลยที่ 2 ย่อมถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทอยู่ในตัว โดยจำเลยทั้งสองหาจำต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททราบเรื่องดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการจำนองที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 และการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. ไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในส่วนออกทับที่ดินพิพาท จึงพอถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั่นเอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปไม่ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอสละประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาในเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
อ. ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองกับ บ. เพราะไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลตามกฎหมาย โดยไม่คำนึงว่า บ. รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนการจำนองจาก บ. ด้วยได้
การที่ อ. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ บ. หลังจากนั้น บ. ได้โอนการจำนองที่ดินพิพาทไปยังจำเลยที่ 2 ย่อมถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทอยู่ในตัว โดยจำเลยทั้งสองหาจำต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททราบเรื่องดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการจำนองที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 และการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับ บ. ไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในส่วนออกทับที่ดินพิพาท จึงพอถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรมจำนองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั่นเอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปไม่ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอสละประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาในเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมเอกสารโดยไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 161
การที่จำเลยกระทำการปลอมเอกสารใบรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษของที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ด้วยการกรอกข้อความให้ปรากฏว่าเป็นการรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษว่าได้ส่งไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ แล้วอันเป็นเท็จ นั้น ตามใบรับฝากไปรษณีย์ในประเทศ รวม 7 ฉบับ ด้านบนมีข้อความระบุว่า ผู้ฝากส่งเป็นผู้กรอกข้อความ เมื่อผู้ฝากส่งกรอกข้อความแล้วได้นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เพื่อนำซองเอกสารนั้นชั่งน้ำหนักและดำเนินการต่อโดยกรอกข้อความในส่วนด้านล่างที่มีข้อความระบุว่า เจ้าหน้าที่เป็นผู้กรอกข้อความซึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานไปรษณีย์ผู้มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารของที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ดังนั้น การที่จำเลยกระทำการปลอมเอกสารดังกล่าว โดยจำเลยมีหน้าที่ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. เพียงเป็นผู้ปลดและผู้นำส่งประกาศประกวดราคาจ้างเหมาของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารใบรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษดังกล่าว การที่จำเลยปลอมเอกสารดังกล่าว จึงไม่ถือว่ากระทำโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. ให้เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปลดและนำส่งเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้เสียหายซึ่งกำหนด ให้มีหน้าที่นำเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างดังกล่าว เผยแพร่ไปยังสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมเจ็ดแห่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 31 ดังนั้น ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยมีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นการนอกฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. ให้เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปลดและนำส่งเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้เสียหายซึ่งกำหนด ให้มีหน้าที่นำเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างดังกล่าว เผยแพร่ไปยังสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมเจ็ดแห่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 31 ดังนั้น ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยมีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นการนอกฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4646/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถเสียหาย: ศาลฎีกาแก้ค่าเสียหายเป็น 40,000 บาท พิจารณาประโยชน์ที่โจทก์ควรได้รับ
คู่สัญญาอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าเมื่อเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาไม่จำต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมได้ ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง ที่กำหนดว่า ในกรณีที่รถสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิมได้...ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลง โดยหากไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใดเพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็น และมีเหตุอันสมควร ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความรับผิดของผู้เช่าซื้อจึงหาได้ระงับไปพร้อมกับสัญญาด้วยไม่
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า แม้สัญญาระบุให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อเจ้าของแม้ในเหตุสุดวิสัย ต้องเป็นเหตุสุดวิสัยอันเนื่องมาจากการใช้รถมิใช่เหตุสุดวิสัยที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาตินั้น โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเนื่องจากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ไม่ได้อ้างว่าสัญญาเลิกกันโดยเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองเนื่องจากรถที่เช่าซื้อเสียหายจากภัยธรณีพิบัติ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 ไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่รถสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย จนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิมได้ ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลง โดยหากไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุอันสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ระบุจำกัดสิทธิดังเช่นสัญญาข้อ 5 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเฉพาะเป็นเหตุสุดวิสัยอันเนื่องมาจากรถหรือการใช้รถไม่ ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นเบี้ยปรับจึงควรกำหนดเบี้ยปรับตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งกำหนดไว้เท่ากับอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์ บวก 10 ต่อปี นั้น จำเลยที่ 2 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายรถที่เช่าซื้อแก่บุคคลภายนอกโดยยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อ เกิดเหตุธรณีพิบัติเป็นเหตุให้รถได้รับความเสียหาย ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 เพราะสัญญากำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดจากผู้เช่าซื้อหรือไม่ เป็นข้อสัญญาที่ทำให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระเกินกว่าปกติทำให้ผู้ให้เช่าซื้อได้เปรียบผู้เช่าซื้อนั้น ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการค้าหรือวิชาชีพในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น" สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 มิได้กำหนดบังคับให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์โดยเด็ดขาดทุกกรณี หากแต่ได้แบ่งความรับผิดในแต่ละกรณีไว้ต่างหากจากกัน จึงมิใช่การเอาเปรียบหรือทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเกินกว่าที่คาดหมายตามปกติ ทั้งข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 ข้อ 4 (4) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และเป็นประกาศฉบับที่ใช้ในขณะทำสัญญาเช่าซื้อคดีนี้ ประกาศดังกล่าวเป็นประกาศที่ออกมาเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม สัญญาข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่า หากรถที่เช่าซื้อเสียหายหรือถูกทำลายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิม โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดลง ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดชอบค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของจ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุอันสมควร ดังนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าซื้อจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า แม้สัญญาระบุให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อเจ้าของแม้ในเหตุสุดวิสัย ต้องเป็นเหตุสุดวิสัยอันเนื่องมาจากการใช้รถมิใช่เหตุสุดวิสัยที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาตินั้น โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเนื่องจากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ไม่ได้อ้างว่าสัญญาเลิกกันโดยเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองเนื่องจากรถที่เช่าซื้อเสียหายจากภัยธรณีพิบัติ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 ไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่รถสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย จนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิมได้ ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลง โดยหากไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุอันสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ระบุจำกัดสิทธิดังเช่นสัญญาข้อ 5 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเฉพาะเป็นเหตุสุดวิสัยอันเนื่องมาจากรถหรือการใช้รถไม่ ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นเบี้ยปรับจึงควรกำหนดเบี้ยปรับตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งกำหนดไว้เท่ากับอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์ บวก 10 ต่อปี นั้น จำเลยที่ 2 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายรถที่เช่าซื้อแก่บุคคลภายนอกโดยยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อ เกิดเหตุธรณีพิบัติเป็นเหตุให้รถได้รับความเสียหาย ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 เพราะสัญญากำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดจากผู้เช่าซื้อหรือไม่ เป็นข้อสัญญาที่ทำให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระเกินกว่าปกติทำให้ผู้ให้เช่าซื้อได้เปรียบผู้เช่าซื้อนั้น ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการค้าหรือวิชาชีพในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น" สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 มิได้กำหนดบังคับให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์โดยเด็ดขาดทุกกรณี หากแต่ได้แบ่งความรับผิดในแต่ละกรณีไว้ต่างหากจากกัน จึงมิใช่การเอาเปรียบหรือทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเกินกว่าที่คาดหมายตามปกติ ทั้งข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 ข้อ 4 (4) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และเป็นประกาศฉบับที่ใช้ในขณะทำสัญญาเช่าซื้อคดีนี้ ประกาศดังกล่าวเป็นประกาศที่ออกมาเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม สัญญาข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่า หากรถที่เช่าซื้อเสียหายหรือถูกทำลายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิม โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดลง ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดชอบค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของจ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุอันสมควร ดังนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าซื้อจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น