พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์จะถึงที่สุด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ที่ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษามาแล้ว ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์ที่ สข.8/2554 จะถึงที่สุด จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง ซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องคดี, สิทธิเรียกร้อง, การค้ำประกัน, สัญญาจำนอง, และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
การออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นราชการประจำตามปกติที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่เฉพาะแต่โจทก์ยังมีธนาคารอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเช่นกัน ดังนั้น ปลัดกระทรวงการคลังย่อมใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์โดยตั้งเป็นสาขาในประเทศไทยได้ โดยไม่จำต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 6 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2514 ข้อ 1 การที่ปลัดกระทรวงการคลังออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 7 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักร หรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาของธนาคารต่างประเทศจะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย..." เห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช้บังคับแก่สาขาของธนาคารต่างประเทศ ดังนั้น ห. ผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งกระทำการแทนโจทก์มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงตามสัญญาจำนองที่ว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจะชำระส่วนที่ขาดจนครบ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะผิดไปจากบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ก็ตาม แต่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงตามบันทึกต่อสัญญาจำนองที่กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดหากบังคับจำนองแล้วไม่พอชำระหนี้ก็เป็นไปตามปกติประเพณีของสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างทราบดีอยู่แล้ว จะถือว่าโจทก์ได้เปรียบในการต่อรองในการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยทั้งสามต้องรับภาระหนักกว่าโจทก์มากตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 10 (1) (3) และ (4) หาได้ไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาค้ำประกันแม้จะไม่ได้ระบุจำนวนเงินไว้ แต่การค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 681 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหนี้ที่ค้ำประกันจะต้องมีจำนวนแน่นอน โดยหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งเกิดขึ้นได้จริงก็ค้ำประกันได้ หนังสือสัญญาค้ำประกันจึงมีผลบังคับได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์พร้อมกับคำพิพากษา จำเลยทั้งสามชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งจนพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติไป จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อตกลงตามสัญญาจำนองที่ว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองจะชำระส่วนที่ขาดจนครบ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะผิดไปจากบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ก็ตาม แต่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงตามบันทึกต่อสัญญาจำนองที่กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดหากบังคับจำนองแล้วไม่พอชำระหนี้ก็เป็นไปตามปกติประเพณีของสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างทราบดีอยู่แล้ว จะถือว่าโจทก์ได้เปรียบในการต่อรองในการปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยทั้งสามต้องรับภาระหนักกว่าโจทก์มากตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 10 (1) (3) และ (4) หาได้ไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาค้ำประกันแม้จะไม่ได้ระบุจำนวนเงินไว้ แต่การค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และ 681 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหนี้ที่ค้ำประกันจะต้องมีจำนวนแน่นอน โดยหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งเกิดขึ้นได้จริงก็ค้ำประกันได้ หนังสือสัญญาค้ำประกันจึงมีผลบังคับได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์พร้อมกับคำพิพากษา จำเลยทั้งสามชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งจนพ้นกำหนดอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติไป จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนร่วมกัน ความรับผิดของตัวแทนแต่ละคนต่อการไม่ชำระหนี้ และการลดค่าเสียหายจากเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนขายกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) กับโจทก์ต้องทำการด้วยตัวเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 808 ประกอบกับข้อสัญญาข้อ 8 กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วง ดังนั้นการตั้งตัวแทนช่วงให้ขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน แม้โจทก์ทราบเรื่องแล้วไม่ทักท้วง ก็เป็นเพียงการให้สัตยาบันต่อการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทนอันมีผลทำให้นิติกรรมการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ของตัวแทนช่วงซึ่งไม่ผูกพันโจทก์กลับเป็นผูกพันโจทก์โดยตรง และทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 แต่ในระหว่างตัวการตัวแทนด้วยกัน จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 812 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเบี้ยประกันภัยที่ขายเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุตัวแทนช่วงเป็นผู้ขายกรมธรรม์ พ.ร.บ.มาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเบี้ยประกันภัยที่ขายเพิ่มเติมจะทำให้โจทก์ได้รับเงินค่าประกันภัยจากการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ.ฉบับเดียวกันถึง 2 ครั้ง เพราะโจทก์มีหนังสือแจ้งตัวแทนช่วงของจำเลยที่ 1 ให้ส่งค่าเบี้ยประกันภัยที่ขายให้แก่โจทก์โดยตรง เป็นทำนองตัวแทนช่วงของจำเลยที่ 1 ชำระค่าเบี้ยประกันภัยส่วนนี้แล้วนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จัดส่งหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่ทำเรื่องขอเบิกจ่าย และยังมีตารางกรมธรรม์ประกันภัยค้างอยู่กับฝ่ายจำเลย 147,157 ชุด จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่เบิกมาอยู่ที่ตัวแทนช่วงทั้งหมด มิได้อยู่ที่จำเลยที่ 1 แม้แต่ฉบับเดียว ตามคำเบิกความของ น. พยานโจทก์ การเบิกตารางกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องตรวจสอบว่าไม่มีหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยค้างชำระ แต่ในรอบขายเดือน ก.ค. และเดือน ส.ค. 2551 จำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามเช็คธนาคารพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 2,155,704.18 บาท โจทก์คงไม่จัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 อย่างแน่นอน โดยฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่นำส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ รวม 147,157 ชุด
ส่วนจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในค่าเสียหายเพียงใดนั้น เห็นว่า ข้อตกลงตามสัญญา ข้อ 6.2 ที่ให้ตัวแทนต้องชำระค่าเสียหายกรณีหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยสูญหาย เสียหาย ชำรุดใช้การไม่ได้ หรือไม่สามารถส่งคือให้แก่โจทก์ได้เป็นเงินชุดละ 300 บาท เป็นค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาใช่ต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาดเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หรือตัวแทนช่วงหรือทีมขายของจำเลยที่ 1 ได้นำตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ไม่ส่งคืนไปขาย หรือมีลูกค้ารายใดเรียกร้องให้โจทก์รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ พ.ร.บ. ดังกล่าว และโจทก์ไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากยังไม่มีการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายตามศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดเป็นเงินชุดละ 50 บาท นั้น สูงเกินไป เห็นสมควรลดลงเป็นจำนวนพอสมควรกับแนวทางปฏิบัติของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่คิดค่ายกเลิกตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. และค่าปรับตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ชำรุด ชุดละ 20 บาท จำนวน 147,157 ชุด เป็นเงิน 2,943,140 บาท
สัญญาที่โจทก์ตกลงแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ระบุจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ติดต่อเบิกหน้ากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปขาย และนำส่งค่าเบี้ยประกันภัยพร้อมสำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายได้หรือส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังขาดไม่ได้ให้แก่โจทก์ หากผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่โจทก์ มีลักษณะเป็นสัญญาอันเดียว ตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียว ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 804 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะต่างคนต่างทำการนั้น ๆ แยกกันไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยรถให้โจทก์แยกต่างหากจากกัน ทั้งยังได้ความจากจำเลยที่ 2 ว่า ในการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. จำเลยที่ 2 มีตัวแทนช่วงหรือทีมงานรับกรมธรรม์ พ.ร.บ. ไปขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขายเอง แต่เมื่อตัวแทนหรือทีมงานขายได้จะส่งสำเนากรมธรรม์และค่าเบี้ยประกันภัยให้จำเลยที่ 2 รวบรวมส่งต่อให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ตามลำดับโดยจำเลยที่ 2 ได้รับค่าใช้จ่ายด้วย ตามพฤติการณ์ถือว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนร่วมกันผูกพันตนในอันที่จะขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ให้แก่โจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายจากการทำหน้าที่ตัวแทน จำเลยทั้งสองก็ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
โจทก์จัดส่งหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่ทำเรื่องขอเบิกจ่าย และยังมีตารางกรมธรรม์ประกันภัยค้างอยู่กับฝ่ายจำเลย 147,157 ชุด จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่เบิกมาอยู่ที่ตัวแทนช่วงทั้งหมด มิได้อยู่ที่จำเลยที่ 1 แม้แต่ฉบับเดียว ตามคำเบิกความของ น. พยานโจทก์ การเบิกตารางกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องตรวจสอบว่าไม่มีหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยค้างชำระ แต่ในรอบขายเดือน ก.ค. และเดือน ส.ค. 2551 จำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามเช็คธนาคารพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 2,155,704.18 บาท โจทก์คงไม่จัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 อย่างแน่นอน โดยฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่นำส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ รวม 147,157 ชุด
ส่วนจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในค่าเสียหายเพียงใดนั้น เห็นว่า ข้อตกลงตามสัญญา ข้อ 6.2 ที่ให้ตัวแทนต้องชำระค่าเสียหายกรณีหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยสูญหาย เสียหาย ชำรุดใช้การไม่ได้ หรือไม่สามารถส่งคือให้แก่โจทก์ได้เป็นเงินชุดละ 300 บาท เป็นค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาใช่ต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาดเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หรือตัวแทนช่วงหรือทีมขายของจำเลยที่ 1 ได้นำตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ไม่ส่งคืนไปขาย หรือมีลูกค้ารายใดเรียกร้องให้โจทก์รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ พ.ร.บ. ดังกล่าว และโจทก์ไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากยังไม่มีการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายตามศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดเป็นเงินชุดละ 50 บาท นั้น สูงเกินไป เห็นสมควรลดลงเป็นจำนวนพอสมควรกับแนวทางปฏิบัติของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่คิดค่ายกเลิกตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. และค่าปรับตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ชำรุด ชุดละ 20 บาท จำนวน 147,157 ชุด เป็นเงิน 2,943,140 บาท
สัญญาที่โจทก์ตกลงแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ระบุจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ติดต่อเบิกหน้ากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปขาย และนำส่งค่าเบี้ยประกันภัยพร้อมสำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายได้หรือส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังขาดไม่ได้ให้แก่โจทก์ หากผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่โจทก์ มีลักษณะเป็นสัญญาอันเดียว ตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียว ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 804 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะต่างคนต่างทำการนั้น ๆ แยกกันไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยรถให้โจทก์แยกต่างหากจากกัน ทั้งยังได้ความจากจำเลยที่ 2 ว่า ในการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. จำเลยที่ 2 มีตัวแทนช่วงหรือทีมงานรับกรมธรรม์ พ.ร.บ. ไปขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขายเอง แต่เมื่อตัวแทนหรือทีมงานขายได้จะส่งสำเนากรมธรรม์และค่าเบี้ยประกันภัยให้จำเลยที่ 2 รวบรวมส่งต่อให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ตามลำดับโดยจำเลยที่ 2 ได้รับค่าใช้จ่ายด้วย ตามพฤติการณ์ถือว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนร่วมกันผูกพันตนในอันที่จะขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ให้แก่โจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายจากการทำหน้าที่ตัวแทน จำเลยทั้งสองก็ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานอกเหนือจากอุทธรณ์: ประเด็นการชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัยและการถอนฟ้องกระทบสิทธิเรียกร้อง
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 แต่ต่อมากลับถอนฟ้องจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจะไปดำเนินคดีต่างหาก ถ้ารับฟังว่ามีการรับประกันภัยจริง เท่ากับสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 มีผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ต้องไปรับชดใช้จากจำเลยที่ 4 เอง การถอนฟ้องดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เหตุดังกล่าวจึงเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จนเป็นที่พอใจ ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก จึงเข้าเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดใด ๆ กับโจทก์มีผลให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยเช่นกัน ทั้งจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้อง นั้น ถือเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากอุทธรณ์เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษจำคุกเพื่อรับพระราชทานอภัยโทษ - ต้องพิจารณาทุกกระทงความผิด
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านทั้งสี่คำนวณวันต้องโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 ผิดพลาด กรณีเป็นเรื่องชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 นั้น จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายความว่า กรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ศาลวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดฐานร่วมกันขายเมทแอมเฟตามีน 50 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต 3 ปี ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ 2 ปี และฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ยังคงมีความผิดและต้องโทษจำคุกในความผิดทั้งสี่ฐานดังกล่าว มิใช่ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงอย่างเดียว
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 มาตรา 3 บัญญัติให้ความหมายคำว่า กำหนดโทษ ทำนองเดียวกันว่า "กำหนดโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือ กำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือกำหนดโทษดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น" โทษจำคุกที่จำเลยที่ 2 ได้รับเป็นโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด ดังนี้ ในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 เพียงใดจึงต้องพิจารณาตามกำหนดโทษจำคุกที่จำเลยที่ 2 ได้รับเป็นโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุดแต่ละกระทง
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 นั้น จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายความว่า กรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ศาลวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดฐานร่วมกันขายเมทแอมเฟตามีน 50 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต 3 ปี ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ 2 ปี และฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ยังคงมีความผิดและต้องโทษจำคุกในความผิดทั้งสี่ฐานดังกล่าว มิใช่ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงอย่างเดียว
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 มาตรา 3 บัญญัติให้ความหมายคำว่า กำหนดโทษ ทำนองเดียวกันว่า "กำหนดโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือ กำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือกำหนดโทษดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น" โทษจำคุกที่จำเลยที่ 2 ได้รับเป็นโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด ดังนี้ ในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 เพียงใดจึงต้องพิจารณาตามกำหนดโทษจำคุกที่จำเลยที่ 2 ได้รับเป็นโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุดแต่ละกระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งจากทุนทรัพย์ และขอบเขตค่าสินไหมทดแทนที่ศาลบังคับได้ตามกฎหมาย
สิทธิในการอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 24,725 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. อาญา มาตรา 40 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยอุทธรณ์ประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ย่อมต้องนำสืบให้ได้ตามคำฟ้อง คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันหรือไม่ เพียงใด ไม่มีประเด็นว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ และสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ และสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะนำข้อเท็จจริงนั้นไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องได้
จำเลยที่ 1 ถามค้านพยานโจทก์ได้ความว่าเดิมรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนชื่อทางทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้เห็นว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ถามค้านพยานโจทก์ได้ความว่าเดิมรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนชื่อทางทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้เห็นว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดอำนาจอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์และทุนทรัพย์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นของโจทก์ แต่เป็นของผู้อื่น คือ ม. และ ห. กับมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินมาจาก ม. และ ห. และยึดถือครอบครองเพื่อตนจนได้สิทธิครอบครองแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีของโจทก์ที่ฟ้องและมีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อโจทก์พอใจไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จากการที่จำเลยอยู่ในที่ดินโดยละเมิดเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องถือว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไปคำนวณถึงวันที่ 27 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นวันฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้ก็ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เช่นกัน อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่สิทธิที่จะฎีกาปัญหาดังกล่าวอีก เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษา
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ แต่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ตรงประเด็นที่พิพาทในคดีว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทสินสมรสส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 และฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรส จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรสและการโอนขายที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โจทก์จึงมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตรงประเด็นข้อพิพาทแล้ว และไม่ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 ในราคาเท่าใดก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ปัญหาว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องและจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงได้โดยไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้