คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17116/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญา: ความผิดฐานเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ความผิดฐานออกไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ออกตามช่องทางและความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เข้าตามช่องทางตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 11 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคสอง บัญญัติให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยในความผิดดังกล่าวกระทงละ 800 บาท นั้น เป็นความผิดที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งรวมความผิดทั้งสองฐานนี้ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 และขอให้ยกฟ้องในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวโดยโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานดังกล่าว จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14526/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงใหม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14225/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองโฉนดที่ดินไม่ใช่การครอบครองทรัพย์มรดก สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกขาดอายุความ
โฉนดที่ดินเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มิใช่ตัวที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก ดังนั้นการที่ ก. ครอบครองโฉนดที่ดินจึงไม่ใช่เป็นการครอบครองทรัพย์มรดก ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่จะอ้างว่า ก. ครอบครองทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกแม้ว่าจะพ้นสิบปีนับแต่ ล. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ ล. กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่จัดการมรดกถูกต้องหรือไม่ เพราะแม้จำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
ที่โจทก์ทั้งสี่อ้างในฎีกาอีกว่าอายุความสิบปีสะดุดหยุดลงเพราะจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฆ. แล้ว โจทก์ทั้งสี่ก็มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างให้ชัดแจ้งว่าข้อฎีกาดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมายใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13624/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์ และเหตุผลที่ไม่รอการลงโทษจำคุกจากพฤติการณ์ร้ายแรง
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกเท่านั้น ไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการทำบัญชีการเงิน การรับเงิน จ่ายเงิน การเบิกถอนเงิน การเก็บรักษาเงินของสถานีอนามัยบ้านดอนนา ได้ครอบครองเงินจำนวน 433,420 บาท ของผู้เสียหาย และมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินจำนวนดังกล่าวให้ครบถ้วน การเบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวจะต้องมีหลักฐานหนังสืออนุมัติก่อหนี้ผูกพันและหนังสืออนุมัติให้จ่ายเงินจากผู้มีอำนาจ แต่จำเลยไม่มีหลักฐานหนังสืออนุมัติก่อหนี้และหนังสืออนุมัติให้จ่ายเงินจากผู้มีอำนาจที่ใช้ประกอบกับใบคำขอถอนเงินเพื่อเบิกเงิน แต่จำเลยกลับใช้ใบเบิกถอนเงินจำนวน 433,420 บาท จากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย แล้วเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นโดยทุจริต เห็นได้ว่าโจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงองค์ประกอบความผิดที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำ จัดการหรือรักษาเงินของผู้เสียหาย แล้วเบียดบังเงินของผู้เสียหายไปโดยเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12675/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและการพรากผู้เยาว์ แม้มีการสมรสภายหลัง ความผิดยังคงอยู่ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภริยา มิใช่เพื่อการอนาจารนั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างและนำสืบในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง ว. อายุ 14 ปี 8 เดือน อายุยังไม่เกิน 15 ปี ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายจับตัวผู้เสียหายบังคับถอดเสื้อและกางเกงออก แล้วจับตัวนอนลงที่เตียง และใช้มืออุดปากผู้เสียหายไว้ไม่ให้ขัดขืน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วขึ้นคร่อมนอนทับตัวและกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ แม้ฟ้องมิได้ระบุว่าผู้เสียหายมิใช่ภริยาจำเลย แต่ได้บรรยายตัวบุคคลที่ถูกกระทำชำเราว่าเป็นเด็กหญิง และเมื่อพิจารณาประกอบข้อหาพรากผู้เยาว์ที่ระบุว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปจาก ส. ผู้ปกครองและผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว ฟ้องแสดงอยู่ในตัวว่าผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์และอยู่ในความปกครองของ ส. ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ที่ยังไม่สมรสและมิใช่ภริยาของจำเลย จึงเป็นฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่งเดิม และเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม) ได้
ส่วนที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า จำเลยกับผู้เสียหายสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องทุกข์ นั้น ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการและโจทก์ร่วมก็ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมแม้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9002-9003/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – การยกข้อเท็จจริงใหม่ & การรวมโทษที่ไม่ชอบ – ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อความสงบเรียบร้อย
ฎีกาของจำเลยว่า จำเลยซื้อรถยนต์ของกลางพร้อมกับรับมอบเอกสารชุดโอนลอยของกลางจากพนักงานขายรถยนต์โดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกลักมาและเอกสารชุดโอนลอยเป็นเอกสารปลอม เป็นฎีกาในทำนองปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพและในชั้นอุทธรณ์จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นมาอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยไม่ชอบอย่างไร แต่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นฎีกา และไม่ได้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสองสำนวน ซึ่งคำขอท้ายฟ้องแต่ละสำนวนไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษต่อกันไม่ได้ แม้ศาลจะรวมพิจารณาและพิพากษาทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้รวมโทษทุกกระทงความผิดทั้งสองสำนวน จึงมีผลเท่ากับนับโทษจำเลยแต่ละสำนวนต่อกันจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8904/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด และการฟ้องร้องที่ไม่ชัดเจนในประเด็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วด้วยเหตุผลว่า ป. โจทก์ร่วมคนเดิมป่วยและถึงแก่ความตายหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นการสั่งรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8021/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องโต้แย้งเหตุผลศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่แค่คัดลอกคำศาลชั้นต้น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง วางหลักในการยื่นฎีกาประการหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างนั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา คดีนี้โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับฟังได้ว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย และโจทก์คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในปัญหาดังกล่าว โดยคัดลอกคำตัดสินของศาลชั้นต้นทุกถ้อยคำในส่วนที่ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยจนจบคำวินิจฉัยในปัญหานี้ ซึ่งในปัญหาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้หลายประการที่ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ซึ่งต่างไปจากเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ ฎีกาของโจทก์จึงต้องโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่รับฟังข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลมานั้น ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงอย่างไรและด้วยเหตุผลใด มิใช่อ้างแต่เพียงว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องและศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงถูกต้องชอบด้วยเหตุผลแล้วเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ไม่ใช่ของเจ้าหนี้: ฎีกานอกประเด็นและไม่เป็นสาระต่อคดี
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดโดยอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของต้นยางพาราที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ การที่ผู้ร้องฎีกาว่า ต้นยางพาราพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องถูกห้ามยึดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ประกอบ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 25 จึงเป็นฎีกานอกคำร้องและนอกประเด็น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อเบิกถอนเงิน ความรับผิดของธนาคาร และดอกเบี้ย
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง จึงมีผลให้ในการฎีกา โจทก์ต้องกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมดเช่นเดียวกับในชั้นอุทธรณ์ ข้อความที่โจทก์บรรยายมาในฎีกา ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว จึงเป็นฎีกาที่ชัดแจ้ง
of 70