คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 381

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: การคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี มิใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้คำพิพากษา
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ15ต่อปีเพราะมิได้นำสืบไว้โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา240และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมายจ.4เป็นเบี้ยปรับหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมายจ.9ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปีได้และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวการคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อลูกหนี้ผิดนัดอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา: การพิจารณาว่าเป็นดอกผลหรือเบี้ยปรับ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเพราะมิได้นำสืบไว้ โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 240 และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.4 เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้เป็นคิดดอกเบี้ย 19% ต่อปี
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เพราะมิได้นำสืบไว้ โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.4 เป็นเบี้ยปรับหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9656/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - ผิดสัญญาชำระหนี้ - เบี้ยปรับ - การลดเบี้ยปรับ
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ1กำหนดว่าจำเลยจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่27ธันวาคม2533และข้อ5กำหนดว่าจำเลยจะต้องดำเนินการจัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาททั้งหมดด้วยเมื่อปรากฎว่าในวันนัดโอนโจทก์มีเงินค่าที่ดินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยเหตุที่ไม่มีการโอนที่ดินพิพาททั้งๆที่โจทก์และจำเลยได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดโอนเนื่องจากจำเลยยังมิได้จัดการให้ช. รื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาทจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้วเพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้นแม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียวอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(3)อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่าถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใดเมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัยโจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน500,000บาทคืนจากจำเลยไม่ได้ ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดว่าถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันทีและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน1,000,000บาทนั้นค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาและเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรกล่าวคือไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้วโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วยแต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้1,000,000บาทนั้นสูงเกินส่วนที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ100,000บาทเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใดถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้องโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 1 กำหนดว่า จำเลยจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2533 และข้อ 5 กำหนดว่า จำเลยจะต้องดำเนินการจัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาททั้งหมดด้วย เมื่อปรากฏว่าในวันนัดโอนโจทก์มีเงินค่าที่ดินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลย เหตุที่ไม่มีการโอนที่ดินพิพาททั้ง ๆ ที่โจทก์และจำเลยได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดโอนเนื่องจากจำเลยยังมิได้จัดการให้ ช.รื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้ว เพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้น แม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียว อันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378 (3) อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่า ถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน 500,000 บาท คืนจากจำเลยไม่ได้
ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขาย กำหนดว่า ถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันที และยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร กล่าวคือ ไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ 1,000,000 บาท นั้น สูงเกินส่วน ที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ 100,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใด ถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้จากการผิดสัญญาตัวแทน, เบี้ยปรับ, และอายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินแทนได้ทันที เป็นข้อกำหนดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดมิใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 ก็ไม่ได้กำหนดเวลาว่าเจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยพลัน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันยังชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้และสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมาตรา 213 และมาตรา 685 สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยระบุว่า ในกรณีตัวแทนผิดนัดสัญญาขายเงินเชื่อไม่ส่งเงินค้างชำระภายใน ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 สัญญาตั้งตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ส่งเงินค่าปุ๋ยของโจทก์ที่จำเลยจำหน่ายได้ให้โจทก์ภายในกำหนดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีของเงินที่จะต้องส่งให้โจทก์ ดังนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งหรือค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(1) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบค่าเสียหายจากงานที่ทำเสร็จแล้วในสัญญาจ้างเหมา และการลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
สัญญาว่าจ้างข้อ21มีความมุ่งหมายว่าหากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและจำเลยที่1ยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ทั้งโจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานที่ค้างต่อไปได้หากค่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่สูงกว่าค่าจ้างเดิมจำเลยที่1ยอมให้นำค่าจ้างเดิมที่ยังค้างจ่ายเป็นหลักประกันการชำระหนี้ไปหักออกจากค่าจ้างรายใหม่ถ้ายังไม่พอชำระค่าจ้างรายใหม่ที่สูงกว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ยังขาดจนครบถ้วนแต่ถ้าหักแล้วมีเงินเหลืออยู่โจทก์จะคืนให้จำเลยที่1ทั้งหมดข้อตกลงนี้จึงมีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา382เมื่อจำเลยที่3ผิดสัญญาไม่วางท่อให้ถูกต้องสมควรโจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา381วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา383วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบผลงานเป็นเบี้ยปรับสัญญาจ้าง และการชดใช้ค่าจ้างส่วนต่าง
สัญญาว่าจ้าง ข้อ 21 มีความมุ่งหมายว่า หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา บรรดางานที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทน และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ทั้งโจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานที่ค้างต่อไปได้ หากค่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่สูงกว่าค่าจ้างเดิมจำเลยที่ 1 ยอมให้นำค่าจ้างเดิมที่ยังค้างจ่ายซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้ไปหักออกจากค่าจ้างรายใหม่ ถ้ายังไม่พอชำระค่าจ้างรายใหม่ที่สูงกว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ยังขาดจนครบถ้วน แต่ถ้าหักแล้วมีเงินเหลืออยู่โจทก์จะคืนให้จำเลยที่ 1 ทั้งหมด ข้อตกลงนี้จึงมีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่วางท่อให้ถูกต้องสมควร โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา 381 วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา383 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาลาศึกษาต่อ-เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดค่าเสียหายตามสมควร
ตามสัญญาลาไปศึกษาต่อมีข้อตกลงว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการต่อไปหากลาออกก่อนกำหนดยอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าหมายความว่าไม่ว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการต่อไปเมื่อจำเลยลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการจึงเป็นการผิดสัญญาแม้โจทก์จะอนุมัติให้จำเลยลาออกจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างลาไปศึกษาต่อถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมรับให้ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าจำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์คือกลับมาปฎิบัติงานให้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ได้ชำระหนี้ข้อนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยสงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้ การกำหนดเบี้ยปรับเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกบัญญัติให้ศาลมีอำนาจลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควรหากเห็นว่าเกินส่วนโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่แต่ทางทรัพย์สินเท่านั้นและเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การผิดสัญญา, การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยสุจริต, และสิทธิในการปรับตามสัญญา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ข้อ 49 ได้กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้ว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา โดยจะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาการให้งดทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการละเอียดที่ผิดไปจากข้อกำหนดในสัญญาจ้าง นอกจากนี้ตามสัญญาจ้าง ข้อ 17 ก็ไม่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 กระทำเช่นนี้ได้เช่นกันเพราะกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนกิจการจ้าง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา แต่เป็นการกระทำที่มิให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าทำสัญญาจ้างกับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้าง จึงไม่มีอำนาจที่จะตกลงให้โจทก์งดเว้นทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องได้ แต่การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้รายงานจำเลยที่ 2ขออนุญาตตามลำดับชั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการก็ได้รายงานกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 1 เพื่อขออนุญาตจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่โจทก์ติดเหล็กดัดช่องแสงไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะอนุญาต จึงเป็นการกระทำที่เสี่ยงภัยของโจทก์เอง นับเป็นความผิดของโจทก์ เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้าง กำหนดให้ทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคา แต่โจทก์ยังไม่ได้ทา โจทก์จึงปฏิบัติผิดสัญญาในข้อนี้
ส่วนการใช้เหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร ซึ่งไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่116 - 2517 นั้น แม้โจทก์รับว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 เพราะขณะทำการก่อสร้าง เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวขาดตลาด แต่เหล็กที่โจทก์นำมาใช้ก็มีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะให้ฟังว่าโจทก์ไม่ผิดสัญญาจ้างในข้อนี้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เคยมีหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองว่า โครงเหล็กหลังคาถูกต้องตามแบบและเรียบร้อย และไม่ได้ทักท้วงตั้งแต่ตอนแรกว่าเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)เลขที่ 116 - 2517 เพราะตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างเหล็กโครงสร้างหลังคามีเหล็กหลายขนาด และโจทก์ได้นำหลักฐานสำเนาใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเลขที่ 116 - 2517 ตามเอกสารหมาย ปจ.9 มาแสดงต่อจำเลยที่ 3 แล้วจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อาจสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่ารวมทั้งเหล็กค้ำยันโครงหลังคาด้วยจึงได้ทำหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองให้โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบโดยละเอียดแล้วพบว่าเอกสารหมาย ปจ.9 ที่โจทก์นำมาแสดงนั้นไม่มีรายการของเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร รวมอยู่ด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงได้โต้แย้งข้อนี้ภายหลัง กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างหมาย จ.4 กำหนดให้เหล็กที่ค้ำยันโครงหลังคาต้องเป็นเหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 แต่โจทก์ใช้เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวทำเหล็กค้ำยันโครงหลังคา แม้เหล็กดังกล่าวจะมีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกัน โจทก์ก็ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างข้อนี้
โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
สัญญาจ้างข้อ 19 ระบุว่า "ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ
(1) ปรับผู้รับจ้างเป็นรายวัน วันละ 765 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์
2. ...
3. ...
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย" เห็นว่าตามข้อสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันเฉพาะกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้บอกเลิกสัญญา จนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ แต่ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อนวันบอกเลิกสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาต่อมาจึงไม่อาจใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันตามสัญญาจ้างข้อ 19 (1) ได้ คงได้แต่ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจ้างเท่านั้น
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ไม่รับมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 และจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา เช่นนี้ โจทก์ก็ไม่อาจคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันส่งมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้าง
of 28