พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผิดนัดและสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรก ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสอง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลาจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่า จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน96,525 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการบังคับค้ำประกัน กรณีผู้ขายผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรกระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรก ระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสองแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่าจำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 96,525 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนรัฐบาลมาเลเซียเพื่อการศึกษา: ความรับผิดสัญญาและการค้ำประกัน
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่1ได้รับโอนตรงจากประเทศมาเลเซียเป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบมิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่1ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรมทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง กรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุนความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่1ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่3จะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาค้ำประกันทุนรัฐบาลต่างประเทศ – ความเสียหายระหว่างปฏิบัติราชการ
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากประเทศมาเลเซีย เป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย การปรับรายวัน และค่าเสียหายจากความล่าช้า
สัญญาซื้อขายข้อ 10 ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขาย (จำเลยที่ 1) ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ (โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และวรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา โดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและ ข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อ (โจทก์) ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน และในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2530 และวันที่ 29 กันยายน 2530 ตามลำดับ ครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าว ภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีก พร้อมแจ้งการปรับไปด้วย มิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 11 วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่ 1 ยังคงเพิกเฉย โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ดังนี้ ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ 10 โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1ส่งมอบของตามสัญญา ต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 11 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาซื้อขายข้อ 11 ดังกล่าว
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้น เมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไร ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้น เมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไร ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลลดจำนวนเบี้ยปรับได้หากสูงเกินไป และค่าเสียหายพิเศษต้องมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยคาดการณ์ได้
สัญญาซื้อขายข้อ10ระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วผู้ขาย(จำเลยที่1)ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ(โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และวรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อ(โจทก์)ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ10ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนและในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่18สิงหาคม2530และวันที่29กันยายน2530ตามลำดับครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาจำเลยที่1ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลยโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าวภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่1รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีกพร้อมแจ้งการปรับไปด้วยมิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ11วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่1ยังคงเพิกเฉยโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ดังนี้ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่าเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาโจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ10โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่1ส่งมอบของตามสัญญาต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่1เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ11โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญาซื้อขายข้อ11ดังกล่าว จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้นเมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไรค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, ค่าปรับรายวัน, การบอกเลิกสัญญา, ความแตกต่างของข้อสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6รายการในราคา965,000บาทซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่30พฤศจิกายน2532โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ10โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วยครั้นครบกำหนดจำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม2532โจทก์ยินยอมและได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีกโจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่29ธันวาคม2532แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญาโจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลยจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่31มกราคม2533โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่18มกราคม2533ดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง2ครั้งโดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ10วรรคแรกและในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้นแม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลยโจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ10วรรคสามได้ ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ9นั้นหมายความว่าเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันและโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีกซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ9และข้อ10ดังกล่าวจึงมีผลต่างกันกล่าวคือการเลิกสัญญาตามข้อ9จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ9วรรคสองคือริบหลักประกันและหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมจำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นส่วนสัญญาข้อ10วรรคแรกนั้นโจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบหากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผิดสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา: ค่าปรับรายวัน vs. ชดใช้ราคาต่างกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6 รายการ ในราคา 965,000 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ 10 โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วย ครั้นครบกำหนด จำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม 2532 โจทก์ยินยอม และได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีก โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหาย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2532 แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่ 31 มกราคม 2533 โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2533 ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง 2 ครั้ง โดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้ โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน ข้อ 10 วรรคแรก และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลย โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ 10 วรรคสาม ได้
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีส่วนขาด แต่ไม่ถือเป็นผิดนัด
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาล จนถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป 40,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000 บาท แล้ว นับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรอ อีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันที แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ขาดจำนวนน้อย ก็ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาหากเจตนาดีและมีการชำระหนี้ครบถ้วนในภายหลัง
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวดๆตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาลจึงถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลาจำเลยจึงหาได้กำหนดเวลาจำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป40,000บาทซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000บาทแล้วนับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรออีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันทีแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อนจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ