คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมส่งเสริมการพาณิชยนาวี: ผู้ส่งของต้องชำระหากใช้เรือต่างชาติ พร้อมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชย*นาวีพ.ศ.2521เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย*นาวีโจทก์เป็นพิเศษที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลแต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ชำระจึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะได้รับชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55 กฎกระทรวงคมนาคมฉบับที่3(พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯข้อ1กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการองค์การของรัฐหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจสั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทยทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นจะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเองหรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่งดังนั้นเมื่อเส้นทางเดินเรือจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินเรือที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนของได้ตามประกาศกระทรวงคมนาคมแม้บริษัทไทยเดินเรือทะเลจะเป็นผู้จัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทก็ตามแต่เมื่อเรือซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทยจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมาตรา22 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมาตรา22วรรคสามให้ถือว่าภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ผู้ส่งของส่งของโดยเรืออื่นและเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วมิได้เสียให้ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระและกฎกระทรวงคมนาคมฉบับที่3(พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯลงวันที่7มิถุนายน2527ข้อ4กำหนดให้ผู้ซึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมพิเศษนำเงินมาชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เรือซึ่งขนของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อพ้นกำหนดชำระแล้วหากยังไม่ชำระให้คิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นจำเลยในฐานะผู้ส่งของและคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบจึงมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของและมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เรือเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนพ้นกำหนดชำระแล้วจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(3)ซึ่งมีอายุความ2ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสารเรียกเอาค่าโดยสารค่าระวางค่าเช่าค่าธรรมเนียมรวมทั้งที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีนี้และที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กำหนดให้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความสิบปีส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาหนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้นั้นแม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตามแต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมส่งเสริมการพาณิชยนาวี: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, และภาระการชำระดอกเบี้ย
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 23 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นพิเศษที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล แต่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษตาม ป.วิ.พ.แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะได้รับชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
จำเลยทำสัญญาขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบแล้วจำเลยสั่งซื้อกระดาษมวนบุหรี่จากบริษัท จ.ที่ประเทศญี่ปุ่นและใช้เรือขนส่งกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นมาส่งมอบให้โรงงานยาสูบที่ประเทศไทย จำเลยจึงเป็นเจ้าของกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวซึ่งนำกระดาษมวนบุหรี่มาจากต่างประเทศโดยทางทะเล อันเป็นผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4
จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบและเป็นผู้ส่งของตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4 ใช้เรือ ว.ซึ่งมิใช่เรือไทยในการบรรทุกนำกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบโดยเสียค่าระวางการรับขนเป็นเงิน 698,745.24 บาทจำเลยจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนของคือกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 22 เป็นเงิน 1,397,490.48 บาท
กฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ข้อ 1 กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น จะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเอง หรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่ง ดังนั้น แม้บริษัท ท.เป็นผู้รับจัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาท แต่เมื่อปรากฏว่า เรือ ว.ซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทย จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา22 วรรคสาม และกฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2527 ข้อ 4จำเลยในฐานะผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวีพ.ศ.2521 และคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของคือกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทโดยเรือ ว.และมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่เรือว.เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวจนพ้นกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 1,397,490.48บาท นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินต้นแล้วเสร็จ
สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (3) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22 นี้
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30