คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 67 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินที่งอกริมตลิ่ง ผู้รับโอนที่ดินเดิมย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่งอกไปด้วย
คำฟ้องของโจทก์มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ทนายโจทก์จะไม่ระบุเลขที่ใบอนุญาตว่าความไว้ในคำฟ้องเนื่องจากความหลงลืม แต่ทนายโจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายความซึ่งระบุเลขใบอนุญาตว่าความของตนไว้ต่อศาลขณะยื่นคำฟ้องซึ่งจำเลยสามารถที่จะตรวจสอบความสามารถและอำนาจในการดำเนินคดีของทนายได้อยู่แล้ว และการที่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในสำเนาคำฟ้องในช่องผู้เขียนหรือพิมพ์ แตกต่างจากในคำฟ้องที่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงและพิมพ์ หาทำให้คำฟ้องของโจทก์กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่ โจทก์เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนจึงได้รับประโยชน์ตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยและเนื่องจากประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญกว่าทุกประเด็น จึงให้จำเลยนำสืบก่อนทุกประเด็นแล้วให้โจทก์สืบแก้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยจะมาเถียงในชั้นฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบไม่ได้
การที่จำเลยซื้อที่ดินซึ่งเกิดที่งอกริมตลิ่ง จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ส่วนที่เกิดที่งอกด้วยโดยผลของกฎหมาย ส่วนเจ้าของที่ดินเดิมพ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมจะได้ขอออกโฉนดในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกไว้และต่อมาได้รับโฉนดในภายหลังแล้วโอนขายให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9168/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อ และประเด็นฎีกาไม่เป็นสาระ/ต้องห้ามฎีกา คดีซื้อขายห้องชุด
ห้องชุดย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 466 ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่ามาตรา 466 ที่ศาลล่างทั้งสองยกขึ้นมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในคดีควรเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินซึ่งสามารถดำเนินการรังวัดสอบเขตได้โดยชัดเจน และสามารถคำนวณหาพื้นที่ได้อย่างสะดวก จะนำมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในการจะซื้อจะขายห้องชุดไม่ได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา จึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) แต่เมื่อฎีกาจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และฎีกาของจำเลยข้ออื่นต้องห้ามฎีกา คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อผู้ฎีกาให้ถูกต้องต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7967/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขได้ & สิทธิผ่านที่ดินที่ถูกล้อมรอบต้องพิจารณาช่วงเวลาแบ่งแยก
แม้คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และทนายความไม่ได้ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสองก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายโจทก์ที่ 1 ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเป็นทนายโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วย อนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าของที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดที่ 1003 ไปก่อนแล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามในเวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยที่ที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขก่อนรับคำฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้ยกฟ้อง
คดีแพ่ง คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 67 (5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์ (ไม่มีลายมือชื่อ) ศาลควรสั่งแก้ไขก่อนไม่รับฟ้อง ไม่ใช่ยกฟ้อง
คำฟ้องคดีแพ่งที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงและไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องมาเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วน แล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่มีลายมือชื่อ ศาลต้องสั่งแก้ไขก่อน หากไม่แก้ไขจึงเพิกถอนคำสั่งรับฟ้อง
คดีแพ่ง คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนดหากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่ง ทนายความ ในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสองมีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองและการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการ เช่นให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาลแต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่ โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือไม่สมบูรณ์ การแก้ไขคำฟ้อง และการดำเนินคดีแทนโจทก์
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 9 วรรคสอง มีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการเช่น ให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาล แต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 และ 67 (5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่บริบูรณ์จากลายมือชื่อที่ไม่ถูกต้อง ศาลต้องให้แก้ไขก่อนพิพากษา
ในคำฟ้องมีลายมือชื่อทนายความของโจทก์ที่ 2 ลงไว้ในช่องลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์เพียงผู้เดียว จึงเป็นกรณีคำฟ้องมิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ในส่วนของโจทก์ที่ 1 แต่ ส. ทนายความของโจทก์ที่ 1 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเสียให้บริบูรณ์แล้วพิพากษาใหม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ด้วยเหตุที่โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องโดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ที่ 1 ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นจัดการให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่บริบูรณ์จากลายมือชื่อโจทก์ ศาลควรให้แก้ไขก่อนพิพากษา
ในคำฟ้องมีลายมือชื่อทนายความของโจทก์ที่ 2 ลงไว้ในช่องลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์เพียงผู้เดียว จึงเป็นกรณีคำฟ้องมิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ในส่วนของโจทก์ที่ 1 แต่ ส.ทนายความของโจทก์ที่ 1 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเสียให้บริบูรณ์แล้วพิพากษาใหม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ด้วยเหตุที่โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องโดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ที่ 1 ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นจัดการให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วพิพากษาใหม่
of 4