คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 67 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์และการแก้ไข / สัญญาจ้างก่อสร้างผิดสัญญา
โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง คงมีแต่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา67 (5) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาไปโดยมิได้สั่งให้คืนหรือแก้ไขข้อ-บกพร่องดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์ย่อมแสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้จริง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนิน-กระบวนพิจารณาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปถือว่าได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยทั้งสามรับจ้างโจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลย-ทั้งสามรับเป็นผู้ดำเนินการเขียนแบบแปลน และยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเทศบาลด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางเทศบาลเป็นเหตุให้เทศบาลระงับการก่อสร้าง จำเลยทั้งสามจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา391 วรรคแรก แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางเทศบาลได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่สาธารณะ ซึ่งการก่อสร้างที่รุกล้ำดังกล่าวเป็นผลจากคำสั่งของโจทก์เอง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิด ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนอาคารพิพาทและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์แก้ไขได้, สัญญาจ้างก่อสร้าง, ฝ่ายผิดสัญญา, การก่อสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง คงมีแต่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาไปโดยมิได้สั่งให้คืนหรือแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์ย่อมแสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้จริง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไป ถือว่าได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ จำเลยทั้งสามรับจ้างโจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลยทั้งสามรับเป็นผู้ดำเนินการเขียนแบบแปลน และยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเทศบาลด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางเทศบาลเป็นเหตุให้เทศบาลระงับการก่อสร้าง จำเลยทั้งสามจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคแรก แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางเทศบาลได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่สาธารณะ ซึ่งการก่อสร้างที่รุกล้ำดังกล่าวเป็นผลจากคำสั่งของโจทก์เอง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิด ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนอาคารพิพาทและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขได้ ศาลพิจารณาได้หากโจทก์แสดงเจตนาฟ้องจริง
คำฟ้องที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ คงมีแต่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงเป็นที่ชัดแจ้งว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้จริง การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปถือว่าได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์ ต้องเป็นการแต่งตั้งโดยชัดเจนตามกฎหมาย มิฉะนั้นคำร้องไม่สมบูรณ์
การที่ ฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ฉ.เป็นทนายความแต่ระบุชื่อน.เป็นทนายความเช่นนี้ฉ.จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ถือเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้แก้ไขฟ้องไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
พ. ลงชื่อเป็นโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจาก ม. ซึ่งเป็นโจทก์ให้ดำเนินคดีแทน และมิได้ตั้งพ. ให้เป็นทนายความแต่อย่างใด ม. เป็นผู้ตั้งตนเองเป็นทนายความและว่าความในการสืบพยานจำเลย ส่วน พ. ว่าความในการสืบพยานโจทก์ 2 ปากเท่านั้น ต่อมา พ. ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์อีก โดยมิได้รับมอบอำนาจหรือตั้งแต่งให้เป็นทนายความอีกเช่นเดียวกัน จึงเป็นการฟ้องคดีแทนม. โดยปราศจากอำนาจฟ้อง ฟ้องดังกล่าวเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67(5)กรณีมิใช่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวด้วยการเขียนคำคู่ความอันจะสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ตั้งแต่ง พ.เป็นทนายความให้ถูกต้องและให้พ. ลงชื่อในฟ้องจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ถือเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้แก้ไขเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
พ. ลงชื่อเป็นโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจาก ม. ซึ่งเป็นโจทก์ให้ดำเนินคดีแทน และมิได้ตั้งพ. ให้เป็นทนายความแต่อย่างใด ม. เป็นผู้ตั้งตนเองเป็นทนายความและว่าความในการสืบพยานจำเลย ส่วน พ. ว่าความในการสืบพยานโจทก์ 2 ปากเท่านั้น ต่อมา พ. ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์อีก โดยมิได้รับมอบอำนาจหรือตั้งแต่งให้เป็นทนายความอีกเช่นเดียวกัน จึงเป็นการฟ้องคดีแทนม. โดยปราศจากอำนาจฟ้อง
ฟ้องดังกล่าวเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67(5)กรณีมิใช่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวด้วยการเขียนคำคู่ความอันจะสั่งให้แก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ตั้งแต่ง พ. เป็นทนายความให้ถูกต้อง และให้ พ. ลงชื่อในฟ้องจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ไม่สมบูรณ์ต้องแก้ไขก่อนพิจารณา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อกลับไปแก้ไขฟ้อง
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ มิฉะนั้นเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ หากไม่มีถือเป็นฟ้องไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และศาลอุทธรณ์ก็ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนนั้น ศาลฎีกาควรยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เสีย แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในฟ้องอุทธรณ์เสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2508)
of 4