พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ - การปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ไม่ถือเป็นการละเมิด
เดิมที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลได้กำหนดไว้ให้เป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลยะระโดด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลพ.ศ. 2482 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาตั้งแต่ปี 2482 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้หวงห้ามไว้ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล พ.ศ. 2517 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ไม่ต้องการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดังเกาะราวีและเกาะอื่นๆในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน แสดงว่าการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวก็เพื่อจะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้เป็นการถาวรซึ่งมีผลทำให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเพียงแต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติและอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้ามาปลูกสร้างอาคารที่ทำการศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต แม้โจทก์จะมีชื่อใน น.ส.3 ซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ ทั้งคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือกรมป่าไม้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน หรือการออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ สุจริตโดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานผู้ดูแล
เดิมที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลได้กำหนดไว้ให้เป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลยะระโดด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลพ.ศ. 2482 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาตั้งแต่ปี 2482 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้หวงห้ามไว้ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล พ.ศ. 2517 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ไม่ต้องการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดังเกาะราวีและเกาะอื่นๆในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน แสดงว่าการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวก็เพื่อจะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้เป็นการถาวรซึ่งมีผลทำให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเพียงแต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติและอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้ามาปลูกสร้างอาคารที่ทำการศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต แม้โจทก์จะมีชื่อใน น.ส.3 ซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ ทั้งคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือกรมป่าไม้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน หรือการออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย