คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14887/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องมีการโอนสิทธิจากคู่ความเดิมหรือผู้มีสิทธิ
ในการพิจารณาว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนสินทรัพย์ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้หรือไม่นั้น แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 มิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิม
เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยตรง ส่วนบริษัท ร. ผู้โอน มิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14417/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องเป็นการรับโอนจากคู่ความเดิมหรือเจ้าหนี้เดิม
แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ศ.2550 มาตรา 5 มิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้องโดยตรง แต่อ้างว่าได้รับโอนมาจากบริษัท ร. ผู้โอน ซึ่งมิใช่คู่ความอยู่เดิม หรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14417/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องเป็นการรับโอนจากคู่ความเดิมหรือผู้มีสิทธิโดยตรง
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ศ.2550 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ในการพิจารณาว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนสินทรัพย์ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้หรือไม่ แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่มีการฟ้องร้องหรือที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้องโดยตรง แต่อ้างว่าได้รับโอนมาจากบริษัท ร. ผู้โอน ซึ่งมิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13708/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ และสิทธิในการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเป็นการโอนจากคู่ความเดิม
พ.รก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่มีการฟ้องร้องหรือที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้อง ส่วนบริษัท ร. จำกัด ผู้โอน มิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องเป็นของสถาบันการเงินและสามารถโอนได้ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2545 แต่ก่อนศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาด ระหว่างพิจารณาคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง บริษัทเงินทุน บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยกับพวกตามมูลหนี้ในคดีแพ่งให้แก่ธนาคาร ท. และศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาตให้ธนาคาร ท. เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนแล้ว บริษัทเงินทุน บ. จึงมิใช่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากแต่เป็นธนาคาร ท. สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง จึงมิใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการแทนได้ ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวอันเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ส่วนที่โจทก์เคยตั้งเรื่องนำยึดทรัพย์ของจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนนั้นเป็นความรอบคอบของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลยให้ตามที่โจทก์ขอ หาใช่การรับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี-การขยายเวลาวางเงินซื้อทรัพย์-คำสั่งกรมบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตตามคำสั่งศาลเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิม โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ย่อมมีอำนาจดำเนินการใดๆ ในชั้นบังคับคดี รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองใหม่ได้
คดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดระหว่างที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ การที่ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่มอีกร้อยละ 5.5 และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลืออีกครั้งระหว่างการไต่สวนคำร้องขอของโจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไปจนกว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจะถึงที่สุด อันเป็นไปตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน ข้อ 14 ที่ระบุว่า ในกรณีที่มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อทรัพย์ประสงค์จะได้รับเงินคืนและผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้คืนเงินให้ผู้ซื้อ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อโดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย หากศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยคำสั่งนี้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อ 85 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมบังคับคดีขยายกำหนดเวลาชำระเงินได้ตามที่เห็นสมควร หากทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงมากหรือมีเหตุผลพิเศษประการอื่น คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดีในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อเจ้าหนี้เดิมยื่นคำขอรับชำระหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีต่อจำเลยทั้งสามมาจากโจทก์โดยชอบ และศาลมีคำพิพากษาบังคับคดีตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องว่า โจทก์ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องได้รับโอนมาในคดีนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามในคดีล้มละลายที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาดแล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะรับโอนหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากโจทก์จึงชอบที่จะไปว่ากล่าวตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายล้มละลาย ไม่มีกรณีที่ผู้ร้องจะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยทั้งสามในคดีนี้แทนโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้และการเลิกบริษัททำให้ผู้ชำระบัญชีหมดอำนาจบังคับคดี
เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ได้ทำสัญญาการโอนกิจการกับผู้คัดค้านโดยตกลงโอนสินทรัพย์ทุกชนิด หนี้สินและภาระผูกพันทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 7 ค้างชำระบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แก่ผู้คัดค้านแล้ว สิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวย่อมตกเป็นของผู้คัดค้าน ทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครแล้ว ดังนั้น ผู้ชำระบัญชีบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบริษัทบริหารสินทรัพย์ในการสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้พ้นกำหนดเวลาบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีนี้มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้พิเศษนอกเหนือไปจากบททั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้นที่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อคดีอยู่ระหว่างการขายเช่นนี้ แสดงว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น ย่อมเป็นสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมายที่จะร้องขอเข้าสวมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีสืบต่อจากโจทก์ได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม เพราะตราบใดที่สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ยังไม่หมดสิ้น ผู้ร้องก็ชอบที่จะเข้าสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ได้ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ทั้งมิใช่เรื่องการร้องสอดดังที่อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดและการสวมสิทธิเจ้าหนี้: เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาประเมินและสิทธิเจ้าหนี้ใหม่
ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีส่วนได้เสียในการบังคับคดี การที่ทนายความผู้ร้องนำสำเนาคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์พร้อมหมายนัดไปส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี โดย ณ. เจ้าพนักงานบังคับคดีได้สั่งในหมายนัดว่า ทราบ รวม และรอฟังคำสั่งศาล แสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้วว่าผู้ร้องได้ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ แม้จะไม่เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาด แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับในวันขายทอดตลาด มีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวและเสนอซื้อในราคา 1,620,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมินของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ประเมินไว้ในราคา 3,240,000 บาท และต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีควรที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 เพื่อรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ก่อนจึงดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับขายทอดตลาดในวันรุ่งขึ้นโดยไม่รอฟังคำสั่งศาล เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีและต้องคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ให้ต้องเสียหายโดยต้องไม่ขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาที่ต่ำเกินสมควร จนลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับภาระหนักขึ้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดในราคา 1,620,000 บาท โดยมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว แม้จะไม่ปรากฏว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองในราคาที่ต่ำเกินสมควรโดยไม่ให้โอกาสผู้ร้องซึ่งเล็งเห็นได้ว่าจะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้ามารักษาประโยชน์ของตน และเห็นได้ว่าต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 และ ป.วิ.พ. มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
of 4