คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการล้มละลาย: ทรัพย์สินระหว่างสมรสและสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษา
พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้วก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ดังนั้น ตามสัญญาโอนสินทรัพย์ระหว่างธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินกับโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมีสิทธิที่จะเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท. เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะใช้สิทธิเพื่อบังคับคดีในคดีแพ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมอ้างมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการค้าอันเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองทำด้วยกันระหว่างสมรส แม้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงลำพังก็ตาม แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสของจำเลยทั้งสองจึงเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสองที่ยังไม่มีการแบ่งแยกและต้องนำมาชำระหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489, 1490 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท: ศาลแก้ไขจำนวนเงินชำระตามสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
มูลหนี้ตามฟ้องเป็นเรื่องเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท ไม่ใช่การจัดการงานแทนและทดรองจ่ายเงินแทน เมื่อไม่มีบมบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด แม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก์ ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ฉะนั้น กรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดสัญญามีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุกในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ระบุให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าตกอยู่แก่ธนาคารโจทก์ ก็เพื่อให้โจทก์มีสิทธิอยู่ในฐานเจ้าหนี้มีประกันเหนือสินค้านั้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หาได้เป็นการตกลงโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนการชำระหนี้ไม่ จำเลยที่ จึงยังต้องผูกพันชำระหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท
บริษัท ส. ผู้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมีเอกสารแนบท้ายคำร้องแสดงฐานะของผู้ร้อง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องหนังสือโอนกรรมสิทธิ์เรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง แม้เอกสารแนบท้ายจะเป็นเพียงภาพถ่ายก็เป็นเพียงภาพถ่ายจากต้นฉบับ และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านี้ จำเลยทั้งสองเพียงแต่โต้แย้งว่า ไม่เคยได้รับแจ้งหรือให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเท่านั้น ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ก็เป็นไปตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตรวจสอบเอกสารท้ายคำร้อง คำแถลงคัดค้านของจำเลยทั้งสองและบทบัญญัติในพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมิได้ไต่สวนพยานหลักฐานอื่นอีก จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทบริหารสินทรัพย์: การโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ เป็นการกระทำโดยสุจริต
ผู้ร้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แตกต่างจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นของผู้ร้องเกือบทั้งหมด แต่ผู้ร้องก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ ซึ่งการจัดตั้งหรือการจดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์ล้วนแต่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องแล้วทั้งสิ้น การโอนหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพจึงเป็นไปโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เสียภายใต้ พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน
การโอนสิทธิเรียกร้องอันเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในรายของจำเลยที่ถูกโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ผู้รับโอน เมื่อผู้รับโอนได้มอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าว การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีที่ฟ้องบังคับสิทธิแล้ว ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นบทยกเว้นหลักการและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับในกรณีปกติธรรมดาทั่วไป การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในรายของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลอันเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และการโอนสิทธิเรียกร้องในรายของจำเลย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนก็ได้มอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกเช่นกันผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 7
of 4