พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสิ่งแวดล้อม, การฟ้องหน่วยงานที่ไม่ให้ข้อมูล, และการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยทั้งสามศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่1และที่3คงรับฟ้องสำหรับจำเลยที่3โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่2คดีถึงที่สุดไปแล้วแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดไว้พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ก็ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กระทบสิทธิโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าแต่อย่างใดโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้า แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2534มาตรา35วรรคหนึ่งจะบัญญัติว่า"สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครองขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าฟ้องยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มาตรา43ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดก็ยอมรับว่าพื้นที่ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิใช่เป็นที่สาธารณะการที่โจทก์ทั้งเจ็ดมีความประสงค์จะให้ทางราชการกำหนดพื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องการให้มีการปลูกอาคารใดๆลงบนพื้นที่รวมทั้งต้องการให้กำหนดมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่ดังกล่าวนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยละเมิดสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับให้ได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพื้นที่ใดจะกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะพิจารณาเห็นสมควรโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติสิ่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และพื้นที่ตามฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา43และมาตรา45แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่10กันยายน2535หรือบังคับนายกรัฐมนตรีจำเลยที่1เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเพิกถอนมติหรือขอให้ศาลบังคับจำเลยที่1หยุดหรือระงับการก่อสร้างอาคารมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2534มาตรา58สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพพลานามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีสิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติของพื้นที่ตามฟ้องสิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือนร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ตามฟ้องและสิทธิที่จะปลอดจากเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเกิดจากปัญหาการจราจรติดขัดปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูงล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้วไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรีจำเลยที่1มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยตำแหน่งระเบียบราชการจะต้องมีหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวและเสนอความเห็นตามลำดับขั้นตอนสำนักงานนโบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจำเลยที่2มีหน้าที่โดยตรงที่จะเสนอเรื่องราวต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้วเมื่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้เสนอคำร้องเรียนของโจทก์ที่1ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและจำเลยที่1เพื่อพิจารณาจำเลยที่1จึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใดศาลจึงไม่อาจรับฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่1ตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับจำเลยที่1ให้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดให้พื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับคดีระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่2นั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำขอท้ายฟ้องข้อ2ตอนต้นและข้อ5ไว้พิจารณาแล้วศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ต่อไปในระหว่างพิจารณาโจทก์ที่1ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่2โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่2อีกต่อไปทั้งยังได้ระบุไว้ท้ายคำร้องขอถอนฟ้องด้วยว่าการถอนฟ้องนี้เป็นการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่2ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่1และที่3ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ดังนั้นคดีของโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2จึงถึงที่สุดก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ4ไว้พิจารณาทั้งตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดตอนท้ายที่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับและยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1และที่3รวมทั้งยกคำขอบังคับท้ายฟ้องข้อ1ข้อ2ตอนต้นข้อ3และข้อ4เสียและมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดรวมทั้งคำขอบังคับท้ายฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปและบังคับให้จำเลยที่1และที่3ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยเห็นได้ชัดแจ้งว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้มีคำขอหรือมีความประสงค์ที่จะให้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ4ไว้พิจารณาจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246เมื่อคดีของจำเลยที่2ถึงที่สุดไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้วและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวแก่จำเลยที่2ไม่ชอบจึงมีผลทำให้จำเลยที่2ไม่มีสิทธิฎีกา สิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการรับทราบข้อมูลและข่าวสารจะมีเพียงใดจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535หรือตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าสิทธิดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดอย่างไรและจะส่งข้อมูลข่าวสารอย่างไรเพื่อร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มาตรา6ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ"(1)ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม"ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2534มาตรา48ทวิที่บัญญัติว่า"บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานรัฐในเมื่อการนั้นมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"ดังนี้เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอทราบข้อมูลและข่าวสารตามคำขอท้ายฟ้องข้อ4จากกรมสรรพากรจำเลยที่3แต่จำเลยที่3ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิโจทก์ทั้งเจ็ดแล้วโจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3